ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยพบว่า เด็กที่มองโลกในแง่ดี มีโอกาสที่จะเป็นโรคเศร้าซึมน้อยกว่าเด็กที่มองโลกในแง่ร้ายเกือบครึ่งหนึ่ง


kids
kids

งานวิจัยใหม่ที่เพิ่งเผยแพร่ออกมา พบว่า เด็กที่มองโลกในแง่ดี มีความเสี่ยงที่จะแสดงอาการโรคเศร้าซึม น้อยกว่าเด็กที่มองโลกในแง่ร้ายเกือบครึ่งหนึ่ง แต่สำหรับพฤติกรรมเกี่ยวกับการเสพยาเสพติด หรือการต่อต้านสังคมนั้น มีความเกี่ยวโยงค่อนข้างน้อย

เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่า การมองโลกในแง่ดีมีบทบาทช่วยในเรื่องสุขภาพอนามัยของผู้ใหญ่ งานศึกษาก่อนหน้านี้ เชื่อมโยงการมองโลกในแง่ดีกับการลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเศร้าซึม โรคหัวใจและการเสียชีวิต แม้จะนำปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่สำคัญ เช่น อายุ การสูบบุหรี่และคอเลสเตอรัล มาร่วมการพิจารณาด้วยก็ตาม

แต่งานวิจัยใหม่ที่เพิ่งเผยแพร่ออกมาทางออนไลน์เมื่อวันที่ 10 มกราคม และจะตีพิมพ์ในวารสาร Pediatrics ฉบับเดือนกุมภาพันธ์นี้ พบว่า เด็กที่มองโลกในแง่ดี มีความเสี่ยงที่จะแสดงอาการโรคเศร้าซึม น้อยกว่าเด็กที่มองโลกในแง่ร้ายเกือบครึ่งหนึ่ง แต่สำหรับพฤติกรรมเกี่ยวกับการเสพยาเสพติด หรือการต่อต้านสังคมนั้น มีความเกี่ยวโยงค่อนข้างน้อย

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเตือนว่า ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่า การมองโลกในแง่ดี มีผลโดยตรงต่อการทำให้เด็กมีความรู้สึกเศร้าซึมน้อยลง

งานวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ผลของการติดตามดูเด็กชาวออสเตรเลียมากกว่าห้าพันคน ตั้งแต่อายุ 12 ขวบจนถึง 14 ขวบ

และในขณะที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะอยากกระตุ้นให้ลูกพยายามคิดถึงเรื่องต่างๆในเชิงบวก นักวิจัย นายแพทย์ George Patton ที่ศูนย์สุขภาพเด็กในนครเมลเบิร์น ออสเตรเลีย บอกว่า วิธีที่ดีกว่า คือการช่วยให้ลูก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยรุ่น พัฒนาวิธีแก้ปัญหาชีวิตประจำวันที่ได้ผลขึ้นมา เช่น เมื่อลูกมีปัญหา คุณพ่อหรือคุณแม่ ลงนั่งพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น ให้มุมมองใหม่ๆเกี่ยวกับปัญหา เช่น การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และจากจุดนั้น คุณพ่อและคุณแม่อาจกระตุ้นหนุนให้ลูกเริ่มมองโลกในแง่ที่ดีกว่าที่เป็นอยู่เดิมได้

XS
SM
MD
LG