ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิกฤตโควิด หนุน ‘ร้านอาหารป๊อบอัพ’ ผุดขึ้นมากมาย: คำในข่าว


Servers package food at a table at a pop up restaurant set up in Times Square for 'Taste of Times Square Week' during the coronavirus disease (COVID-19) pandemic in the Manhattan borough of New York City, New York, U.S., October 23, 2020. REUTERS/Carlo Al
Servers package food at a table at a pop up restaurant set up in Times Square for 'Taste of Times Square Week' during the coronavirus disease (COVID-19) pandemic in the Manhattan borough of New York City, New York, U.S., October 23, 2020. REUTERS/Carlo Al

การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้ทำให้ธุรกิจมากมายล้มหายตายจากไป แต่ในวิกฤตนี้กลับสร้างโอกาสให้บรรดาร้านอาหารป๊อบอัพ ขนทัพมาสร้างกิจการชั่วคราวกันคึกคัก และเป็นทางเลือกของผู้บริโภคในยุคนี้ได้มากขึ้น ติดตามประเด็นนี้พร้อมคำศัพท์ที่น่าสนใจ กับคุณนีธิกาญจน์ กำลังวรรณ ช่วงคำในข่าววันนี้

Newsy Vocab
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:53 0:00


พาดหัวข่าวของเอพี ระบุว่า Pop-up restaurants may stick around as COVID sees resurgence หมายความว่า ร้านอาหารป๊อบอัพอาจยังคงอยู่เมื่อโควิดกลับมาระบาดอีกครั้ง

ข่าวนี้เล่าถึงเทรนด์ร้านอาหารป๊อบอัพ หรือ ร้านอาหารเฉพาะกิจ ที่หลายกิจการปรับปรุงการดำเนินธุรกิจในยุคโควิด ให้เป็นร้านอาหารแบบจัดส่งตามบ้านหรือสั่งกลับบ้าน ช่วงการระบาดของโควิดกลายพันธุ์เดลตาที่ทำให้การทานอาหารนอกบ้านเป็นไปได้ยาก

รูปแบบของร้านอาหารป๊อบอัพมีความหลากหลาย ตั้งแต่การจัดตั้งบาร์หรือร้านเล็กๆ เพื่อให้เชฟหรือเจ้าของร้านอาหารมาเปิดกิจการชั่วคราวเพียง 1 คืน หรือแม้กระทั่งการใช้พื้นที่ร้านอาหารที่ถูกสั่งปิดไปช่วงโควิด มาเป็นครัวทำอาหารสำหรับจัดส่งหรือสั่งกลับบ้าน

เทรนด์ร้านอาหารแบบนี้มีต้นทุนที่ต่ำกว่าร้านอาหารปกติเพราะมีต้นทุนจ้างพนักงานที่ลดลง ซึ่งช่วยต่อลมหายใจให้ผู้ประกอบการร้านอาหารในช่วงโควิดได้ และบางครั้งร้านอาหารชั่วคราวเหล่านี้กลับเติบโตแข็งแกร่งจนกลายเป็นธุรกิจใหม่ที่ดำเนินต่อไปได้อย่างถาวรด้วย

สถิติล่าสุดในสหรัฐฯ ระบุว่า ร้านอาหารเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และจนถึงปัจจุบันการจ้างงานในธุรกิจร้านอาหารในสหรัฐฯ ปรับลดลงไปราว 1 ล้านตำแหน่ง เมื่อเทียบกับระดับการจ้างงานราว 12.3 ล้านตำแหน่งช่วงก่อนโควิดระบาด ส่วนยอดขายของร้านอาหารในปี 2020 อยู่ที่ 659 ล้านดอลลาร์ ลดลง 240 ล้านดอลลาร์จากระดับที่ตั้งเป้าหมายไว้ ตามข้อมูลของสมาพันธ์ร้านอาหารแห่งชาติสหรัฐฯ

คำในข่าวสัปดาห์นี้ เสนอคำว่า pop-up จากพาดหัวข่าวนี้ เป็นคำคุณศัพท์ เเปลว่า ที่จัดขึ้นมา หรือ สร้างขึ้นมา อย่างรวดเร็ว

ถ้าไปขยายคำว่า shop หรือ store จะได้คำว่า pop-up shop หรือ pop-up store ซึ่งหมายถึง ร้านที่จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะกิจ

และในกรณีของข่าวนี้ คำว่า pop-up ไปขยายคำว่า restaurant จึงให้ความหมายว่า ร้านอาหารเฉพาะกิจ นั่นเอง

มาดูคำว่า pop ที่ทำหน้าที่เป็นกริยา มีหลากหลายความหมาย

ความหมายแรก คือ เเตก ระเบิด หรือ บีบให้เเตก

ไปดูการใช้คำว่า pop ที่แปลว่า แตก หรือ บีบให้แตก ในประโยคกัน ตัวอย่างเช่น

Wiley can go on for hours in front of the mirror, trying to pop his zits.

หมายความว่า ไวลีย์สามารถใช้เวลาเป็นชั่วโมงอยู่หน้ากระจก เพื่อพยายามบีบสิวของเขา

อีกความหมายหนึ่งของคำว่า pop ที่เป็นกริยา แปลว่า แวะ

Honey, can we pop in this store to check out some new makeups?

หมายความว่า ที่รักจ๋า เราแวะเข้าร้านนี้ไปดูเครื่องสำอางใหม่หน่อยได้ไหมจ๊ะ?

ขยับมาดูคำว่า pop ที่เป็นคำนาม แปลได้ว่า เสียงระเบิด หรือ เสียงแตก อีกทั้งยังแปลได้ว่า น้ำอัดลม ได้ด้วย

ไปดูการใช้คำว่า pop ที่หมายถึง น้ำอัดลม ในประโยคกัน ตัวอย่างเช่น

Don't forget to buy a few bottles of pop before the party.

หมายความว่า อย่าลืมซื้อน้ำอัดลมสัก 2-3 ขวด ก่อนงานปาร์ตี้นะ

บางครั้งคำว่า Pop ที่เป็นคำนาม เป็นคำเรียก ‘พ่อ’ ของบางคนด้วย นั่นเป็นที่มาของคำว่า mom-and-pop shop ซึ่งเเปลว่า ร้านค้า หรือ ธุรกิจขนาดเล็กที่เป็นธุรกิจครอบครัว นั่นเอง

ไปดูการใช้ในประโยคกัน ตัวอย่างเช่น

Mom-and-pop shops are disappearing in the wake of megastores' expansion.

ร้านค้าขนาดเล็กของครอบครัว กำลังหายไป เมื่อเกิดการขยายกิจการของร้านค้าขนาดใหญ่

ส่วนเพลง pop อย่าง K-pop หรือ ศิลปะแบบ pop arts มีความหมายเฉพาะ ที่เป็นตัวจำเเนกกลุ่มผลงานดังกล่าว โดยมากจะมีลักษณะที่สามารถดึงดูดความสนใจคนในวงกว้าง จนบางครั้งถูกมองว่าเป็นผลงานที่ออกมาเพื่อขายคนหมู่มาก มากกว่าเป็นศิลปะชั้นสูง

ซึ่งคำคมส่งท้ายคำในข่าววันนี้ จาก เลดี้ กาก้า (Lady Gaga) ต้องการเปลี่ยนทัศนคติเช่นนั้น ซึ่งเธอได้กล่าวไว้ว่า

Pop music will never be low brow. หมายความว่า เพลงป๊อบจะไม่ใช่เพลงตลาดๆ อีกต่อไป

XS
SM
MD
LG