ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยอินเดียค้นพบกบต้นไม้ที่เคยเชื่อว่าสาบสูญไปนานแล้ว


A Dendrobates leucomelas frog is pictured at a terrarium in Caracas November 30, 2015.
A Dendrobates leucomelas frog is pictured at a terrarium in Caracas November 30, 2015.

กบชนิดนี้มีพฤติกรรมที่ค่อนข้างแปลกกว่าปกติ รวมทั้งตัวลูกกบที่กินไข่ของแม่กบเป็นอาหาร

please wait

No media source currently available

0:00 0:05:14 0:00
Direct link

นักวิทยาศาสตร์เคยพบเห็นกบพันธุ์นี้ครั้งสุดท้ายเมื่อปี ค.ศ. 1870 กบพันธุ์นี้มีชื่อว่า Frankixalus jerdonii เป็นกบต้นไม้ อาศัยในป่าที่เชิงเขาของหุบเขาหิมาลัยในรัฐเบงกอลของอินเดีย

กบพันธุ์นี้มีขนาดเท่าลูกกอล์ฟ ถูกค้นพบอีกครั้งโดยทีมเดินป่าที่นำโดยคุณ Sathyabhama Das Biju นักชีววิทยาชาวอินเดียในปีค.ศ. 2007

คุณ Biju นักชีววิทยาชาวอินเดียบอกว่า ทีมเดินป่าได้ยินเสียงร้องไพเราะเหมือนเสียงเพลงออเคสตร้า ดังมาจากยอดต้นไม้ในป่าจุดดังกล่าว เสียงร้องเพราะมาก จนทีมเดินป่าต้องหยุดและเสาะหาต้นตอของเสียงร้อง

คุณ Biju ใช้การวิเคราะห์ทางดีเอ็นเอช่วยในการศึกษานี้ เขาสรุปว่าการสืบทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษที่ลึกลับซับซ้อนของกบพันธุ์นี้ หมายความว่า กบชนิดใหม่ที่พบนี้เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ใกล้เคียงหรือกลายมาจากสายพันธุ์ดั้งเดิม

คุณ Biju กล่าวว่าระหว่างการออกสำรวจภาคสนาม ทีมนักวิจัยเห็นกบชนิดนี้มีพฤติกรรมที่ค่อนข้างแปลกกว่าปกติ รวมทั้งตัวลูกกบที่กินไข่ของแม่กบเป็นอาหาร

การศึกษาพบว่าลูกกบมีไข่กบอยู่ในลำใส้ราว 3-19 ฟองและไม่มีฟัน ทำให้แตกต่างจากกบต้นไม้สายพันธุ์อื่นๆ มากขึ้นไปอีก

คุณ Ines Van Bocxlaer ผู้ร่วมร่างรายงานเกี่ยวกับกบพันธุ์ใหม่กล่าวกับ National Geographic ว่า ดีเอ็นเอของกบพันธุ์นี้ นิสัยการกินที่แปลกประหลาด และลักษณะทางกายภาพของมัน แสดงให้เห็นว่ากบพันธุ์นี้แตกต่างอย่างมากด้านการวิวัฒนาการของกบต้นไม้

XS
SM
MD
LG