ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นาโต้เผยท่าทีป้องปรามพร้อมรับการรุกจากรัสเซีย แต่ยังมีคำถามเกี่ยวกับเอกภาพของอียู


NATO Secretary General Jens Stoltenberg, center, participates in a media conference with Finland's Foreign Minister Pekka Haavisto, left, and Sweden's Foreign Minister Ann Linde, right, at NATO headquarters in Brussels, Monday, Jan. 24, 2022. (AP Photo/Olivier Matthys)
NATO Secretary General Jens Stoltenberg, center, participates in a media conference with Finland's Foreign Minister Pekka Haavisto, left, and Sweden's Foreign Minister Ann Linde, right, at NATO headquarters in Brussels, Monday, Jan. 24, 2022. (AP Photo/Olivier Matthys)
Nato Russia
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:24 0:00

เมื่อวันจันทร์ องค์การนาโต้เปิดเผยแผนการจัดวางกำลังทหารและส่งเรือรบเพื่อเตรียมรับมือกับโอกาสที่รัสเซียอาจส่งทหารเข้าบุกยูเครน โดยถึงแม้แผนดังกล่าวจะได้มีการประกาศโดยสมาชิกของนาโต้บางประเทศไปก่อนหน้านี้แล้วก็ตาม แต่ท่าทีซึ่งมาจากองค์การนาโต้โดยตรงก็มีจุดประสงค์เพื่อแสดงความมุ่งมั่นร่วมกัน

อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังคงมีคำถามเกี่ยวกับเอกภาพของสหภาพยุโรปในการรับมือกับรัสเซียอยู่

โดยเมื่อวันจันทร์ องค์การนาโต้ประกาศว่าได้มีการวางกำลังในทางยับยั้งป้องกันในภูมิภาคทะเลบอลติค โดยเดนมาร์กได้ส่งเรือฟรีเกตหนึ่งลำและส่งเครื่องบินรบ F-16 หลายลำไปยังลิธัวเนีย ส่วนสเปนก็ส่งเครื่องบินรบสี่ลำไปยังบุลเกเรียและส่งเรือรบอีกสามลำไปยังทะเลดำเพื่อเสริมกำลังทางเรือขององค์การนาโต้ และฝรั่งเศสก็พร้อมจะส่งทหารไปยังโรมาเนีย ในขณะที่เนเธอร์แลนด์ก็มีแผนจะส่งเครื่องบินขับไล่ F-35 สองลำไปที่บุลเกเรียตั้งแต่เดือนเมษายนนี้เป็นต้นไป

นายญาน สโตลเตนเบิร์ก เลขาธิการองค์การนาโต้กล่าวด้วยว่า ทางองค์การจะดำเนินมาตรการทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อปกป้องและคุ้มครองพันธมิตรทุกประเทศ และว่าเราพร้อมเสมอที่จะรับมือกับสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงใดๆ ที่เลวร้ายลงและจะเสริมสร้างขีดความสามารถในการป้องกันตนเองร่วมกันด้วย

แต่นายดมิทริ เพรสคอฟ โฆษกของทำเนียบเครมลินได้กล่าวโจมตีองค์การนาโต้และสหรัฐฯ ว่า อยู่เบื้องหลังความตึงเครียดที่กำลังเพิ่มขึ้นในยุโรปขณะนี้ และว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้มาจากรัสเซียแต่มาจากสิ่งที่นาโต้และสหรัฐฯ กำลังทำอยู่

คำประกาศเรื่องการวางกำลังในทางป้องปรามขององค์การนาโต้นี้มีขึ้นขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศของสมาชิกกลุ่มสหภาพยุโรปหรืออียูพยายามแสดงจุดยืนซึ่งเป็นเอกภาพในการสนับสนุนยูเครนและพยายามลดความกังวลเกี่ยวกับท่าทีที่แตกต่างกันของบรรดาประเทศสมาชิกในเรื่องวิธีที่ดีที่สุดที่จะเผชิญหน้ากับการคุกคามของรัสเซีย โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของสมาชิกสหภาพยุโรปได้ออกคำแถลงว่าอียูได้เพิ่มการตระเตรียมเกี่ยวกับมาตรการลงโทษที่จะนำมาใช้กับรัสเซีย

ทั้งยังเตือนว่าการคุกคามทางทหารใดๆ จากรัสเซียที่มีต่อยูเครนจะทำให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงตามมาและรัสเซียก็มีราคาค่างวดที่จะต้องแบกรับอย่างหนักด้วย นอกจากนั้นสหภาพยุโรปยังประกาศจะเพิ่มความช่วยเหลือทางการเงินต่อยูเครนโดยให้สัญญาว่าจะผลักดันมาตรการความช่วยเหลือในรูปเงินกู้และเงินให้เปล่ามูลค่า 1,400 ล้านดอลลาร์แก่ยูเครนโดยเร็วที่สุดด้วย

ขณะนี้กลุ่มประเทศตะวันตกกำลังจับตามองด้วยความไม่แน่ใจจากการเคลื่อนกำลังทหารและการซ้อมรบของรัสเซียในเบลารุส และระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของสมาชิกอียู นายไซมอน คอฟวีนี รัฐมนตรีต่างประเทศของไอร์แลนด์กล่าวว่า การที่รัสเซียมีแผนจะซ้อมรบในทะเลที่ห่างจากชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ของไอร์แลนด์ออกไปราว 240 กิโลเมตร ซึ่งถึงแม้จะเป็นน่านน้ำระหว่างประเทศแต่ก็อยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไอร์แลนด์นั้นเป็นเรื่องที่ไอร์แลนด์ไม่พึงประสงค์

ขณะเดียวกันประเทศสมาชิกขององค์การนาโต้ที่เคยใกล้ชิดกับรัสเซีย คือ เอสโตเนีย แลตเวีย และลิธัวเนียก็ประกาศว่าตนมีแผนจะส่งจรวดต่อต้านรถถังและจรวดต่อต้านอากาศยานที่ทำในสหรัฐฯ ไปให้ยูเครนด้วย

แต่ถึงแม้องค์การนาโต้จะแสดงทีท่าเรื่องความพร้อมที่จะรับมือกับการคุกคามทางทหารจากรัสเซียนั้น ก็ยังคงมีคำถามเกี่ยวกับท่าทีที่เป็นเอกภาพของสหภาพยุโรปอยู่ เพราะผลประโยชน์ทั้งด้านการเมือง ทางธุรกิจ และด้านพลังงานซึ่งสมาชิก 27 ประเทศของอียูมีอยู่กับรัสเซียนั้นทำให้สมาชิกของอียูมีท่าทีต่อมอสโคว์แตกต่างกันไป

ตัวอย่างเช่น ราว 40% ของการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้ในกลุ่มประเทศอียูมาจากรัสเซียโดยผ่านทางท่อส่งก๊าซในยูเครน และหลายประเทศในกลุ่มอียูก็เกรงว่าอาจจะถูกตัดขาดจากแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ว่านี้ในช่วงฤดูหนาวในขณะที่ราคาพลังงานดังกล่าวกำลังสูงขึ้นด้วย นอกจากนั้นอีกตัวอย่างในขณะนี้ก็คือสองประเทศผู้ทรงอำนาจในอียูได้แสดงทีท่าอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับรัสเซีย โดยประธานาธิบดีแอมมานูเอล มาครองของฝรั่งเศสได้เรียกร้องอีกครั้งให้มีการประชุมระดับสุดยอดระหว่างผู้นำของอียูกับประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียถึงแม้ว่าข้อเสนอดังกล่าวจะถูกบอกปัดไปแล้วก็ตาม

และทางด้านเยอรมนี เมื่อวันเสาร์พลเรือโทเคย์-อาชิม ชอนบาร์ค ผู้บัญชาการทหารเรือของเยอรมนีได้ประกาศลาออกหลังจากถูกตำหนิจากคำกล่าวของเขาที่ว่ายูเครนจะไม่สามารถได้คาบสมุทรไครเมียกลับคืนจากรัสเซีย รวมทั้งจากความเห็นที่ว่าประธานาธิบดีปูตินสมควรได้รับการยอมรับด้วย

ถึงกระนั้นก็ตามบรรดานักการทูตและเจ้าหน้าที่ระดับสูงได้เปิดเผยว่ากำลังมีการยกร่างมาตรการลงโทษอย่างรุนแรงโดยคณะกรรมาธิการยุโรปอยู่ และถึงแม้จะยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดว่าพฤติกรรมใดของรัสเซียที่จะกระตุ้นให้มีการใช้มาตรการลงโทษที่ว่านี้ก็ตามแต่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องก็กล่าวว่าจะมีการนำมาตรการนี้มาใช้ภายในไม่กี่วันหากมีการโจมตีทางทหารจากรัสเซียเกิดขึ้น

ที่มา: AP

XS
SM
MD
LG