ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นาซ่า ส่งยานอวกาศขึ้นทำภารกิจสกัดดาวเคราะห์น้อย


The Falcon 9 rocket and DART spacecraft readied for launch are seen at the SpaceX hanger, Vandenberg Space Force Base in California, Nov. 22, 2021.
The Falcon 9 rocket and DART spacecraft readied for launch are seen at the SpaceX hanger, Vandenberg Space Force Base in California, Nov. 22, 2021.

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซ่า เดินหน้าส่งยานอวกาศสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ขึ้นสู่ห้วงอวกาศเพื่อปฏิบัติภารกิจต่อต้านภัยคุกคามโลกครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่เน้นการสกัดดาวเคราะห์น้อยไม่ให้พุ่งชนโลก

ยานอวกาศที่ถูกส่งขึ้นปฏิบัติภารกิจที่มีชื่อเรียกว่า DART ในช่วงค่ำของวันอังคาร ตามเวลาในสหรัฐฯ มีจุดประสงค์ที่จะทดสอบความสามารถของ นาซ่า ในการเปลี่ยนทิศทางโคจรของดาวเคราะห์น้อยด้วยแรงเสียดทานจลน์ จากการใช้ยานอวกาศที่ไม่มีนักบินพุ่งเข้าชนด้วยความเร็วสูง เพื่อดันดาวเคราะห์น้อยนั้นๆ ให้พ้นห่างออกจากเส้นทางที่จะเป็นอันตรายต่อโลก

เป้าหมายของยานอวกาศ DART คือ เศษเล็กๆ ชิ้นหนึ่งของดาวเคราะห์น้อย ‘ชิกชูลุบ’ ซึ่งพุ่งเข้าชนโลกเมื่อราว 66 ล้านปีก่อน และส่งผลให้สัตว์ทั้งหลายเสียชีวิตเกือบหมดโลก แม้ว่า เศษดาวเคราะห์นี้จะไม่ได้อยู่ในเส้นทางที่จะพุ่งเข้าหาโลกในอนาคตก็ตาม

Artist illustration of DART approaching its target at the Didymos binary asteroid system
Artist illustration of DART approaching its target at the Didymos binary asteroid system

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ในทางทฤษฎีนั้น ดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กๆ นั้น เกิดขึ้นบ่อยกว่าที่หลายคนทราบ และเป็นภัยใหญ่หลวงต่อโลกในอนาคตอันใกล้ด้วย

ทั้งนี้ นาซ่า ว่าจ้างบริษัท สเปซเอ็กซ์ ของ อิลอน มัสก์ ในการส่งยานอวกาศ DART ขึ้นกระสวยอวกาศ ฟัลคอน 9 (Falcon 9) จากฐานทัพอากาศแวนเดนเบิร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งหากมีเหตุต้องเลื่อนแผนการปล่อยยานในครั้งนี้ นาซ่ายังมีช่วงเวลาอีก 84 วันจากนี้เพื่อกำหนดวันปล่อยอีกครั้ง

รายงานข่าวระบุว่า ยานอวกาศที่ทำภารกิจนี้จะเดินทางเป็นเวลา 10 เดือนไปยังจุดหมายซึ่งอยู่ห่างจากโลก 11 ล้านกิโลเมตร โดยมีเป้าหมายคือดาวเคราะห์น้อย มูนเล็ต (moonlet) ซึ่งมีขนาดเท่ากับสนามอเมริกันฟุตบอลและโคจรรอบดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่กว่าราว 5 เท่าอยู่

นักวิทยาศาสตร์เลือกทดลองภารกิจกับดาวเคราะห์น้อยดวงนี้เนื่องจากระยะทางที่อยู่ไม่ไกลเกินไปจากโลก และโครงสร้างของระบบดาวเคราะห์น้อยนี้ที่เอื้อต่อการสังเกตการณ์ผลการทดลอง

XS
SM
MD
LG