ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ยานอวกาศของนาซาเยือนดาวเคราะห์น้อยโบราณ


This illustration provided by NASA shows the OSIRIS-REx spacecraft at the asteroid Bennu. (Conceptual Image Lab/Goddard Space Flight Center/NASA via AP)
This illustration provided by NASA shows the OSIRIS-REx spacecraft at the asteroid Bennu. (Conceptual Image Lab/Goddard Space Flight Center/NASA via AP)

เมื่อวันจันทร์ที่ 3 พ.ย. ยานอวกาศของนาซาได้ไปถึงดาวเคราะห์น้อย “เบนนู” ซึ่งนับว่าเป็นแขกที่ไปเยือนครั้งแรกในรอบหลายพันล้านปี

ยานสำรวจ Osiris-Rex โคจรห่างจากหินอวกาศที่มีรูปทรงเหมือนเพชรเป็นระยะทาง 19 กิโลเมตร (12 ไมล์) และจะเข้าใกล้มากกว่านี้และเข้าไปในวงโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยเบนนู ในวันที่ 31 ธันวาคม ยังไม่เคยมียานอวกาศลำไหนที่ไปโคจรรอบวัตถุในจักรวาลที่มีขนาดเล็กนี้เลย

เป็นครั้งแรกที่สหรัฐพยายามรวบรวมตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยเพื่อนำกลับสู่โลก ซึ่งมีเพียงญึ่ปุ่นประเทศเดียวเท่านั้นที่เคยประสบความสำเร็จในภารกิจนี้

บรรดาผู้ควบคุมการบินต่างปรบมือแสดงความยินดีเมื่อได้รับการยืนยันว่ายานสำรวจ Osiris-Rex ไปถึงดาวเคราะห์น้อยเบนนูแล้ว

ดาวเคราะห์น้อยเบนนูอยู่ห่างออกไปจากโลกประมาณ 122 ล้านกิโลเมตร (76 ล้านไมล์) ต้องใช้เวลาเจ็ดนาทีในการสื่อสารจากยานอวกาศไปยังหน่วยควบคุมการบินของบริษัท Lockheed Martin ที่เมือง Littleton รัฐโคโลราโด ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทที่สร้างยานอวกาศนี้ขึ้น

ดาวเคราะห์น้อยเบนนูมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1,600 ฟุต (500 เมตร) ยานอวกาศ ซึ่งมีขนาดเท่ากับรถยนต์อเนกประสงค์ (SUV) นี้จะตามติดดาวเคราะห์น้อยเป็นเวลาหนึ่งปีก่อนที่จะตักเอาก้อนหินเล็กๆ เป็นตัวอย่างเพื่อนำกลับไปสู่โลกในปี พ.ศ. 2566

นักวิทยาศาสตร์มีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาสสารจากดาวเคราะห์น้อยที่มีคาร์บอนสูงเช่นเบนนู ซึ่งอาจถือเป็นหลักฐานย้อนหลังไปถึงจุดกำเนิดของระบบสุริยะจักรวาลเมื่อสี่พันห้าร้อยล้านปีก่อน หรือเรียกว่าเป็นแคปซูลเวลาทางด้านดาราศาสตร์นั่นเอง

ยานสำรวจ Osiris-Rex มีจุดมุ่งหมายในการเก็บตัวอย่างฝุ่นและก้อนหินเล็กอย่างน้อย 60 กรัมหรือ 2 ออนซ์ ยานอวกาศนี้จะไม่ลงจอด แต่จะใช้แขนกลที่มีความยาว 10 ฟุต (3 เมตร) เพื่อเก็บตัวอย่างบนพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยเบนนูในปีพ. ศ. 2563 และนำภาชนะเก็บตัวอย่างจะออกเดินทางมุ่งหน้ากลับสู่โลกในปี พ.ศ. 2564

NASA เคยนำอนุภาคของฝุ่นผงดาวหางและลมสุริยะกลับมายังโลก แต่ยังไม่เคยนำตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยกลับมา ญี่ปุ่นได้พยายามนำอนุภาคที่มีขนาดเล็กมาก จากภารกิจดาวเคราะห์น้อยครั้งแรกที่มีชื่อว่า “ฮายาบูซ่า” กลับมายังโลกเมื่อปี พ.ศ. 2553

“เบนนู” ถือเป็นดาวเคราะห์น้อยที่อาจเป็นอันตราย คืออาจพุ่งใส่โลกได้ในอนาคต และที่เลวร้ายที่สุดดาวเคราะห์น้อยเบนนูอาจสร้างหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่บนพื้นโลกในช่วงระยะเวลา 150 ปีนับจากนี้ได้

นักวิทยาศาสตร์เชื่อมั่นว่า ยิ่งพวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยมากขึ้นเท่าไหร่ โลกของเราที่มีอุปกรณ์ครบครัน ก็จะหลีกเลี่ยงความหายนะต่างๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น

ชื่อของทั้งยานอวกาศและดาวเคราะห์น้อยมาจากเทพนิยายอียิปต์ โอซิริสคือเทพแห่งชีวิตหลังความตาย ส่วนเบนนูเป็นตัวแทนของนกกระสาและการสร้างสรรค์

XS
SM
MD
LG