องค์การสำรวจอวกาศแห่งสหรัฐหรือนาซ่าต้องพึ่งข้อมูลจากการสำรวจดาวอังคารของยานสำรวจ Curiosity Rover ที่ไร้นักอวกาศในการวางแผนโครงการส่งมนุษย์ขึ้นไปสำรวจดาวอังคารในอนาคต ยานสำรวจ Curiosity Rover มีเครื่องวัดระดับรังสีในอวกาศที่คอยตรวจวัดระดับรังสีต่างๆที่เป็นอันตรายที่นักอวกาศจะได้รับหากเดินทางไปสำรวจดาวอังคารซึ่งเป็นการเดินทางที่ยาวนาน
นาซ่าวางแผนจะส่งมนุษย์ขึ้นไปสำรวจดาวอังคารในราวกลางปีพุทธศักราช 2573 และการส่งมนุษย์ไปดาวอังคารเป็นงานที่ท้าทายทั้งด้านเทคนิคและด้านสุขภาพ
นาซ่าตีพิมพ์ข้อมูลใหม่ๆที่ได้จากยานสำรวจดาวอังคารในวารสาร journal of science โดยชี้ว่าในการเดินทางไปดาวอังคาร มนุษย์อวกาศจะได้รับปริมาณรังสีต่างๆเข้าสู่ร่างกายมากกว่าที่นาซ่ากำหนดและอาจส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้
ทีมนักวิทยาศาสตร์ของนาซ่าชี้ว่ามีวิธีเดียวที่จะช่วยลดปริมาณรังสีที่มนุษย์อวกาศจะได้รับในการเดินทางไปดาวอังคารคือต้องพัฒนาเทคโนโลยีการขับเคลื่อนของยานอวกาศเสียใหม่เพื่อลดระยะเวลาการเดินทางไปดาวอังคารให้สั้นลง เป็นการลดระยะเวลาที่มนุษย์อวกาศจะถูกต้องกับรังสีต่างๆในขณะเดินทางออกไปไกลนอกโลก
นายคริส มอร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายระบบสำรวจชั้นสูงแห่งนาซ่ากล่าวว่าทีมวิศวกรนาซ่ากำลังมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีระบบสำรวจชั้นสูงเพื่อตัดทอนระยะเวลาการเดินทางขาไปจากโลกไปยังดาวอังคารลงจาก 250 วันเป็น 180 วัน
นายมอร์กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเพื่อลดระยะเวลาเดินทางลงและลดปริมาณรังสีที่นักอวกาศจะได้รับลงด้วย นาซ่าจะต้องพัฒนาระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานความร้อนนิวเคลียร์ ทางนาซ่ากำลังทำงานร่วมกับกระทรวงพลังงานแห่งสหรัฐเพื่อหาดูว่าองค์ประกอบของชนิดเชื้อเพลิงต่างๆที่จะนำไปใช้กับยานอวกาศ คุณมอร์แห่งองค์การนาซ่าชี้ว่านี่เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงที่อาจต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะพร้อมใช้งาน
องค์การนาซ่าชี้ว่าในระหว่างการเดินทางออกไปไกลนอกโลก มนุษย์อวกาศจะได้รับรังสีสองชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายคือรังสีพลังงานสูงที่มาจากนอกระบบจักรวาลและอนุภาคพลังงานจากดวงอาทิตย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแผ่รังสีรบกวนจากดวงอาทิตย์และปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ปล่อยมวลสาร
ด้านนายเอ็ดดี้ ซีมอนส์ เจ้าหน้าที่นาซ่าที่ศูนย์อวกาศจอห์นสันซึ่งเชี่ยวชาญด้านสุขภาพกับการรับรังสีขณะอยู่ในยานอวกาศกล่าวว่าจำเป็นต้องพัฒนาผนังยานอวกาศที่มีประสิทธิภาพในการลดผลกระทบจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ในขณะที่ต้องมีความหนาพอที่จะลดผลกระทบจากพลังงานระดับสูงที่เกิดจากรังสีพลังงานสูง ผนังยานต้องหนาหลายเมตรซึ่งหนาเกินไปสำหรับยานอวกาศในการเดินทางออกจากโลกได้สำเร็จ
นายซีมอนส์กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่ายานอวกาศจะต้องเดินทางไปถึงดาวอังคารอย่างรวดเร็วกว่าเดิมเพื่อลดระยะเวลาที่นักอวกาศจะได้รับรังสีต่างๆ แต่จำเป็นต้องพัฒนาเกราะแก่นักอวกาศ เป็นเกราะเฉพาะจุดภายในตัวยานเพื่อลดผลกระทบจากรังสีต่างๆ
อุปกรณ์ตรวจวัดระดับรังสีอันตรายนอกโลกที่ติดอยู่บนยานสำรวจดาวอังคาร curiosity rover ยังเดินหน้าวัดปริมาณรังสีต่างๆอยู่ในขณะนี้หลังจากลงจอดบนดาวอังคารเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว
ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ขององค์การนาซ่ากำลังใช้ข้อมูลที่ได้จากยานสำรวจดาวอังคารในการหาทางพัฒนาวิธีลดระยะเวลาการเดินทางนอกอวกาศและระยะเวลาที่มนุษย์อวกาศจะได้รับรังสีอันตรายในอวกาศลง
การได้รับรังสีอันตรายในการเดินทางไปยังดาวอังคารและการประจำการบนสถานีอวกาศนอกโลกนานหกเดือนเป็นเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจอวกาศวิตกกังวลกันมานาน
คุณเเกรี่ ไซลิน เจ้าหน้าที่ประจำสถาบัน Southwest Research Institute ในรัฐ Texas และทีมงานได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากยานสำรวจดาวอังคารในช่วงการเดินทางไปดาวอังคารนาน 253 วันหรือกินระยะทาง 560 ล้านกิโลเมตร
เขากล่าวว่าอุปกรณ์ตรวจวัดบนยานอวกาศสำรวจดาวอังคารมีเกราะคลุมอย่างดี มีประสิทธิภาพเหมือนกันชุดเกราะนักอวกาศ ได้บันทึกระดับการรับรังสีบนยาน ซึ่งจะเป็นปริมาณรังสีที่มนุษย์อวกาศจะได้รับหากเดินทางไปสำรวจดาวอังคารหรือไปสำรวจนอกโลก
คุณไซลินกล่าวว่าหากเปรียบเทียบปริมาณรังสีที่นักอวกาศจะได้รับในการเดินทางไปยังดาวอังคารจะเท่ากับการรับรังสีจากการเอกซ์เรย์แบบ CT scan เป็นประจำทุกห้าถึงหกวัน
คุณไซลินและทีมงานจะยังเดินหน้าวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากยานสำรวจดาวอังคารที่กำลังทำงานอย่างขมักเขม้นอยู่บนดาวอังคารในขณะนี้ เพื่อนำข้อมูลไปประมวลความเสี่ยงทางสุขภาพของนักอวกาศหากพวกเขาจะเดินทางไปสำรวจดาวอังคารในอนาคต
นาซ่าวางแผนจะส่งมนุษย์ขึ้นไปสำรวจดาวอังคารในราวกลางปีพุทธศักราช 2573 และการส่งมนุษย์ไปดาวอังคารเป็นงานที่ท้าทายทั้งด้านเทคนิคและด้านสุขภาพ
นาซ่าตีพิมพ์ข้อมูลใหม่ๆที่ได้จากยานสำรวจดาวอังคารในวารสาร journal of science โดยชี้ว่าในการเดินทางไปดาวอังคาร มนุษย์อวกาศจะได้รับปริมาณรังสีต่างๆเข้าสู่ร่างกายมากกว่าที่นาซ่ากำหนดและอาจส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้
ทีมนักวิทยาศาสตร์ของนาซ่าชี้ว่ามีวิธีเดียวที่จะช่วยลดปริมาณรังสีที่มนุษย์อวกาศจะได้รับในการเดินทางไปดาวอังคารคือต้องพัฒนาเทคโนโลยีการขับเคลื่อนของยานอวกาศเสียใหม่เพื่อลดระยะเวลาการเดินทางไปดาวอังคารให้สั้นลง เป็นการลดระยะเวลาที่มนุษย์อวกาศจะถูกต้องกับรังสีต่างๆในขณะเดินทางออกไปไกลนอกโลก
นายคริส มอร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายระบบสำรวจชั้นสูงแห่งนาซ่ากล่าวว่าทีมวิศวกรนาซ่ากำลังมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีระบบสำรวจชั้นสูงเพื่อตัดทอนระยะเวลาการเดินทางขาไปจากโลกไปยังดาวอังคารลงจาก 250 วันเป็น 180 วัน
นายมอร์กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเพื่อลดระยะเวลาเดินทางลงและลดปริมาณรังสีที่นักอวกาศจะได้รับลงด้วย นาซ่าจะต้องพัฒนาระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานความร้อนนิวเคลียร์ ทางนาซ่ากำลังทำงานร่วมกับกระทรวงพลังงานแห่งสหรัฐเพื่อหาดูว่าองค์ประกอบของชนิดเชื้อเพลิงต่างๆที่จะนำไปใช้กับยานอวกาศ คุณมอร์แห่งองค์การนาซ่าชี้ว่านี่เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงที่อาจต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะพร้อมใช้งาน
องค์การนาซ่าชี้ว่าในระหว่างการเดินทางออกไปไกลนอกโลก มนุษย์อวกาศจะได้รับรังสีสองชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายคือรังสีพลังงานสูงที่มาจากนอกระบบจักรวาลและอนุภาคพลังงานจากดวงอาทิตย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแผ่รังสีรบกวนจากดวงอาทิตย์และปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ปล่อยมวลสาร
ด้านนายเอ็ดดี้ ซีมอนส์ เจ้าหน้าที่นาซ่าที่ศูนย์อวกาศจอห์นสันซึ่งเชี่ยวชาญด้านสุขภาพกับการรับรังสีขณะอยู่ในยานอวกาศกล่าวว่าจำเป็นต้องพัฒนาผนังยานอวกาศที่มีประสิทธิภาพในการลดผลกระทบจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ในขณะที่ต้องมีความหนาพอที่จะลดผลกระทบจากพลังงานระดับสูงที่เกิดจากรังสีพลังงานสูง ผนังยานต้องหนาหลายเมตรซึ่งหนาเกินไปสำหรับยานอวกาศในการเดินทางออกจากโลกได้สำเร็จ
นายซีมอนส์กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่ายานอวกาศจะต้องเดินทางไปถึงดาวอังคารอย่างรวดเร็วกว่าเดิมเพื่อลดระยะเวลาที่นักอวกาศจะได้รับรังสีต่างๆ แต่จำเป็นต้องพัฒนาเกราะแก่นักอวกาศ เป็นเกราะเฉพาะจุดภายในตัวยานเพื่อลดผลกระทบจากรังสีต่างๆ
อุปกรณ์ตรวจวัดระดับรังสีอันตรายนอกโลกที่ติดอยู่บนยานสำรวจดาวอังคาร curiosity rover ยังเดินหน้าวัดปริมาณรังสีต่างๆอยู่ในขณะนี้หลังจากลงจอดบนดาวอังคารเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว
ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ขององค์การนาซ่ากำลังใช้ข้อมูลที่ได้จากยานสำรวจดาวอังคารในการหาทางพัฒนาวิธีลดระยะเวลาการเดินทางนอกอวกาศและระยะเวลาที่มนุษย์อวกาศจะได้รับรังสีอันตรายในอวกาศลง
การได้รับรังสีอันตรายในการเดินทางไปยังดาวอังคารและการประจำการบนสถานีอวกาศนอกโลกนานหกเดือนเป็นเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจอวกาศวิตกกังวลกันมานาน
คุณเเกรี่ ไซลิน เจ้าหน้าที่ประจำสถาบัน Southwest Research Institute ในรัฐ Texas และทีมงานได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากยานสำรวจดาวอังคารในช่วงการเดินทางไปดาวอังคารนาน 253 วันหรือกินระยะทาง 560 ล้านกิโลเมตร
เขากล่าวว่าอุปกรณ์ตรวจวัดบนยานอวกาศสำรวจดาวอังคารมีเกราะคลุมอย่างดี มีประสิทธิภาพเหมือนกันชุดเกราะนักอวกาศ ได้บันทึกระดับการรับรังสีบนยาน ซึ่งจะเป็นปริมาณรังสีที่มนุษย์อวกาศจะได้รับหากเดินทางไปสำรวจดาวอังคารหรือไปสำรวจนอกโลก
คุณไซลินกล่าวว่าหากเปรียบเทียบปริมาณรังสีที่นักอวกาศจะได้รับในการเดินทางไปยังดาวอังคารจะเท่ากับการรับรังสีจากการเอกซ์เรย์แบบ CT scan เป็นประจำทุกห้าถึงหกวัน
คุณไซลินและทีมงานจะยังเดินหน้าวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากยานสำรวจดาวอังคารที่กำลังทำงานอย่างขมักเขม้นอยู่บนดาวอังคารในขณะนี้ เพื่อนำข้อมูลไปประมวลความเสี่ยงทางสุขภาพของนักอวกาศหากพวกเขาจะเดินทางไปสำรวจดาวอังคารในอนาคต