ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ประธานาธิบดีคนใหม่ของพม่า ถิ่น จอว์ สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง


Myanmar's new president Htin Kyaw, left, receives the presidential seal from outgoing president Thein Sein, during a handover ceremony in Naypyitaw, March 30, 2016.
Myanmar's new president Htin Kyaw, left, receives the presidential seal from outgoing president Thein Sein, during a handover ceremony in Naypyitaw, March 30, 2016.

คาดว่านางออง ซาน ซูจี จะคุมกระทรวงสำคัญ 4 กระทรวง คือต่างประเทศ การศึกษา พลังงาน และสำนักประธานาธิบดี

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:05 0:00
Direct link

ประธานาธิบดีพลเรือนคนแรกของเมียนม่าร์ในรอบกว่า 50 ปี สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันพุธ หลังจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งเมื่อเดือน พ.ย. และได้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่

ประธานาธิบดีคนใหม่วัย 70 ปีของเมียนม่าร์ ถิ่น จอว์ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันพุธ ซึ่งถือเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของเมียนม่าร์ หลังตกอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองแบบทหารหรือระบอบที่ทหารคอยสั่งการอยู่เบื้องหลังมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962

ปธน. คนใหม่ ผู้ใกล้ชิดกับนางออง ซาน ซูจี หัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย กล่าวในพิธีสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อสหภาพเมียนม่าร์

Htin Kyaw
Htin Kyaw

ปธน. ถิ่น จอว์ กล่าวว่ารัฐบาลเมียนม่าร์จะเริ่มดำเนินกระบวนการปรองดองภายในประเทศ ทำข้อตกลงสันติภาพกับชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จัดตั้งสถาบันตามระบอบประชาธิปไตย รวมถึงสหภาพแรงงาน ตลอดจนยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ชี้ว่าความสำเร็จของรัฐบาลเมียนม่าร์ชุดใหม่ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับกองทัพด้วยเช่นกัน เนื่องจากภายใต้รัฐธรรมนูญของเมียนม่าร์ กองทัพยังเป็นผู้ครอบครองที่นั่ง 1 ใน 4 ในรัฐสภา รวมทั้งตำแหน่งรัฐมนตรีในกระทรวงสำคัญ เช่นมหาดไทย และกลาโหม

นักวิเคราะห์ Sean Turnell แห่งมหาวิทยาลัย Macquarie ในออสเตรเลีย ให้ความเห็นว่าประชาธิปไตยของเมียนม่าร์ยังไม่ใช่ประชาธิปไตยเต็มใบอย่างที่คาดหวังกันไว้ เพราะทหารยังคงมีบทบาทอย่างมากทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ถึงกระนั้นวันนี้ก็ถือเป็นวันพิเศษสำหรับความก้าวหน้าด้านประชาธิปไตยในเมียนม่าร์

ระหว่างการกล่าวปราศรัยในพิธีสาบานตนรับตำแหน่ง ปธน. ถิ่น จอว์ ได้รับปากว่าจะปรับแก้รัฐธรรมนูญให้มีความสมบูรณ์ตามแบบประชาธิปไตย ซึ่งบทบัญญัติบทหนึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผู้นำทหารร่างขึ้นนี้ ระบุว่าผู้ที่มีคู่ครองหรือบุตรเป็นชาวต่างชาติจะไม่สามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ ซึ่งก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่าเป็นการกีดกันไม่ให้นางออง ซาน ซูจี ได้เป็นประธานาธิบดี

Aung San Suu Kyi, center, shakes hands with Senior General Min Aung Hlaing after the presidential handover ceremony in Naypyitaw, Myanmar, Wednesday, March 30, 2016. (Nyein Chan Naing/Pool Image via AP)
Aung San Suu Kyi, center, shakes hands with Senior General Min Aung Hlaing after the presidential handover ceremony in Naypyitaw, Myanmar, Wednesday, March 30, 2016. (Nyein Chan Naing/Pool Image via AP)

แต่นางซูจีได้ยืนยันไว้แล้วว่า เธอจะช่วยปกครองประเทศผ่านการทำงานร่วมกับ ปธน.ถิ่น จอว์ ซึ่งเป็นทั้งคนสนิทและเพื่อนตั้งแต่วัยเด็ก นอกจากนี้เธอยังจะนั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีของกระทรวงที่อยู่ในโควต้าของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ได้แก่กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการศึกษา กระทรวงพลังงาน และสำนักประธานาธิบดี

นักวิเคราะห์ Sean Turnell ชี้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่นางออง ซาน ซูจี ต้องทำหน้าที่คุมกระทรวงต่างๆ เหล่านั้น โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศ เพราะจะทำให้เธอสามารถเข้าถึงสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ถือเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดของเมียนม่าร์ได้

และในวันนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบาม่า ได้มีคำแถลงแสดงความยินดีต่อ ปธน.คนใหม่ของเมียนม่าร์ โดยบอกว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของเมียนม่าร์ภายใต้การปกครองของรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง กับการก้าวสู่เส้นทางแห่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

ซึ่งมาจากการต่อสู้ร่วมกันทั้งในภาคประชาชน สถาบันทางการเมืองและบรรดาผู้นำต่างๆ เพื่อการถ่ายโอนอำนาจอย่างสันติ นับตั้งแต่เริ่มกระบวนการปฏิรูปประเทศมาตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว

(ผู้สื่อข่าว Victor Beattie รายงาน / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

XS
SM
MD
LG