ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้แทนการฑูตและนักวิเคราะห์การเมืองแสดงความกังวลต่อการเลือกตั้งทั่วไปในพม่าปลายปีนี้


FILE - Activists hold placards as they march for a protest a government decision to allow people without full citizenship, including members of the Rohingya ethnic minority, to vote in an upcoming constitutional referendum, Feb. 11, 2015 in Yangon, Myanma
FILE - Activists hold placards as they march for a protest a government decision to allow people without full citizenship, including members of the Rohingya ethnic minority, to vote in an upcoming constitutional referendum, Feb. 11, 2015 in Yangon, Myanma

สถานฑูตของ 7 ประเทศรวมทั้งของสหรัฐฯและสหภาพยุโรป มีแถลงการณ์ขอให้พม่าจัดการเลือกตั้งอย่างโปร่งใสและน่าเชื่อถือ

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:40 0:00
Direct link

สหรัฐฯและประเทศตะวันตกกำลังจับตามองการเลือกตั้งในพม่าเดือน พ.ย นี้อย่างใกล้ชิด โดยฑูตสหรัฐฯประจำพม่า Derek Mitchell กล่าวกับ VOA ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่สำหรับรัฐบาลพม่า

ฑูต Derek Mitchell กล่าวว่าการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งยังน่าเป็นห่วง ขณะที่ความคาดหวังครั้งนี้มีสูงแต่โครงสร้างพื้นฐานด้านการเลือกตั้งยังอยู่ในระดับต่ำมาก ตลอดจนการสู้รบระหว่างทหารพม่ากับชนกลุ่มน้อย ก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการจัดการเลือกตั้งในพื้นที่ความขัดแย้งต่างๆ

นักรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน Matthew Smith แห่งกลุ่ม Fortify Rights กล่าวว่าดูเหมือนรัฐบาลพม่าพยายามกีดกันไม่ให้ชนกลุ่มน้อยเข้าร่วมในการเลือกตั้งปลายปีนี้ อย่างเช่นกรณีของชาวมุสลิมโรฮิงจาในรัฐยะไข่ ที่จะถูกยกเลิกบัตรขาวหรือบัตรประชาชนชั่วคราว ในวันที่ 31 พ.ค นี้

ด้านนักวิเคราะห์การเมืองพม่า ยัน เมียว เต็ง แสดงความกังวลว่า รัฐบาลพม่าอาจตัดสินใจไม่จัดการเลือกตั้งในพื้นที่ความขัดแย้ง ซึ่งเป็นฐานเสียงของพรรคฝ่ายค้าน คือพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ที่มีนางออง ซาน ซูจี เป็นหัวหน้าพรรค

ส่วนโฆษกพรรค NLD นายเนียน วิน ก็กังวลในเรื่องนี้เช่นกัน เมื่อพิจารณาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้ง 3 ปีก่อน ซึ่งรัฐบาลพม่าไม่อนุญาตให้มีการเลือกตั้งในรัฐคะฉิ่น โดยอ้างเหตุผลด้านความปลอดภัย

แต่คุณเนียน วิน ยืนยันว่าครั้งนี้พรรค NLD ไม่มีแผนจะคว่ำบาตรการเลือกตั้งเหมือนครั้งที่แล้ว เพราะทางพรรคไม่อาจนิ่งเฉยต่อการเลือกตั้งซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญทางประชาธิปไตย

นักวิเคราะห์การเมืองพม่า ยัน เมียว เต็ง แสดงความมั่นใจว่า หากทุกพื้นที่ทั่วประเทศมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งอย่างถูกต้อง โปร่งใส ยุติธรรม นางออง ซาน ซูจี จะเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะและเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่

แต่อุปสรรคสำคัญคือรัฐธรรมนูญพม่าที่กำหนดไว้ว่า ห้ามบุคคลที่มีคู่ครองหรือบุตรเป็นชาวต่างชาติ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีพม่า และกองทัพพม่ายังมีอำนาจวีโต้การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามที่มีต่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้

รายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอประจำกรุงเทพฯ Steve Herman / เรียบเรียงโดยทรงพจน์ สุภาผล

XS
SM
MD
LG