ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ครบ 2 ปี ‘รัฐประหาร’ ในเมียนมา – สหรัฐฯ ยังคงพยายามเพิ่มมาตรการลงโทษ


FILE - Demonstrators hold placards with pictures of Aung San Suu Kyi as they protest against the military coup in Yangon, Myanmar, Feb. 22, 2021.
FILE - Demonstrators hold placards with pictures of Aung San Suu Kyi as they protest against the military coup in Yangon, Myanmar, Feb. 22, 2021.

ตั้งแต่การเกิดรัฐประหารในเมียนมาเมื่อ 2 ปีก่อน สหรัฐฯ เพิ่มแรงกดดันกองทัพภายใต้พลเอก มิน อ่อง หล่าย ส่วนหนึ่งคือการใช้มาตรการลงโทษที่พุ่งเป้าไปที่ด้านการเงิน อย่างไรก็ตามผู้นำกองทัพยังคงอยู่ในอำนาจต่อไป และมีผู้เรียกร้องให้ช่วยเหลือประชาชนอย่างรวดเร็วขึ้น

ภายในเวลา 10 วันหลังจากเกิดรัฐประหาร รัฐบาลไบเดนออกคำสั่งฝ่ายบริหารในการออกมาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่ในกองทัพเมียนมา

และกฎหมายด้านกิจการกลาโหมที่ชื่อว่า National Defense Authorization Act ปีนี้ จะขยายไปถึงอำนาจภายใต้กฎหมายอเมริกันเรื่องเมียนมาด้วย

ส.ส.เกรกอรี มีคส์ จากพรรคเดโมแครตซึ่งเป็นผู้เสนอร่างกฎหมาย Burma Act เพื่อขยายขอบเขตดังกล่าวระบุว่า กฎหมายนี้ได้รับการสนับสนุนจากทั้งเดโมแครตและรีพับลิกัน

เขาระบุว่ากฎหมายนี้จะสามารถทำให้กองทัพเมียนมารับผลที่ตนกระทำไปได้ ด้วยมาตรการลงโทษที่เฉพาเจาะจง

ในช่วงตั้งแต่เกิดรัฐประหาร 2 ปีก่อนจนถึงเดือนที่แล้ว กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุตัวบุคคล 74 ราย และองค์กรหรือหน่วยงานอีก 29 แห่ง ในการใช้มาตรการลงโทษ จากการที่พวกเขาสนับสนุนผู้นำเมียนมา ตลอดจนนักค้าอาวุธ และนักธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบอบการปกครองของเมียนมาในปัจุบัน

อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่จริง ทหารเมียนมายังคงดำเนินการปราบปรามผู้ก่อต้านรัฐ และยังพยายามระดมทุนแม้ว่าจะถูกโดดเดี่ยวจากนานาชาติก็ตาม

Myanmar Election Law
Myanmar Election Law

อิริน เมอร์ฟีย์ นักวิเคราะห์จากศูนย์ Center for Strategic and International Studies กล่าวว่า หากไม่มีมาตรกาลงโทษจากนานาประเทศ สถานการณ์จะยิ่งเลวร้ายกว่านี้

เธอพูดถึงความเป็นไปได้ที่อาจเกิดการค้าอาวุธระหว่างเมียนมา เกาหลีเหนือ รัสเซียและเบลารุส และการค้ายาเสพติดอาจจะเพิ่มขึ้นด้วย เธอบอกว่าเมียนมาเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงอยู่แล้วและขณะนี้ ประเทศกำลังอยู่ “บนขอบของความล่มสลาย”

แม้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลเมียนมาได้รับความช่วยเหลือในการต้านอำนาจของกองทัพ แต่แนวทางนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย

พริสซิลลา แคลป แห่งสถานบัน U.S. Institute of Peace กล่าวว่า เมื่อประเทศเพื่อนบ้านไม่เปิดทางให้เข้าถึงประเทศอื่น การนำความช่วยเหลือไปสู่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเมียนมาจึงเป็นเรื่องยาก ซึ่งถือเป็นสิ่งท้าทายการทำงานของรัฐบาลสหรัฐฯ

FILE - Members of the Myanmar military march at a parade ground to mark the country's Independence Day in Naypyidaw on Jan. 4, 2023.
FILE - Members of the Myanmar military march at a parade ground to mark the country's Independence Day in Naypyidaw on Jan. 4, 2023.

ที่ผ่านมามีผู้อพยพนับพันนับหมื่นคน รวมถึงผู้พลัดถิ่นที่อยู่อาศัย ที่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือแล้ว ตามข้อมูลของกลุ่ม Fortify Rights

จอห์น ควินลีย์ ที่สาม แห่งกลุ่มดังกล่าวบอกว่า รัฐบาลอเมริกันส่งความช่วยเหลือตามแนวชายแดน ในบังคลาเทศ ยังได้มีการเริ่มโครงการ ช่วยให้ที่พักต่อชาวโรฮิงญา จำนวนไม่มาก ก่อนที่จะให้พวกเขาเดินทางต่อมาอเมริกา

ผู้นำกองทัพเมียนมาสัญญาว่าจะจัดการเลือกตั้งที่เสรีเละยุติธรรม แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อใด และ สาวิตา พอนเดย์ นักรณรงค์ผู้หนึ่ง เตือนว่าสหรัฐฯและประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ ว่าไม่ควรให้ความชอบธรรมต่อรัฐบาลเนปิดอว์

นักเคลื่อนไหวผู้นี้กล่าวว่า ไม่ควรให้การสนับสนุนทางเทคนิค หรือส่งตัวแทนสอดส่องการเลือกตั้ง สิ่งที่เธอต้องการเห็นคือการกระจายความช่วยเหลือประชาชนพม่าผ่านเครือข่ายชุมชุน ให้รวดเร็วกว่าการเร่งใช้มาตรการลงโทษอุตสาหกรรมพลังงานเมียนมาโดยรัฐบาลต่างประเทศรวมถึงสหรัฐฯ

  • ที่มา: วีโอเอ

XS
SM
MD
LG