ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ความจริงที่โหดร้าย! งานวิจัยชี้ทุกคนบนโลกมีส่วนให้แผ่นน้ำเเข็งขั้วโลกเหนือละลาย


ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าคนอเมริกันหนึ่งคนสร้างเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้แผ่นน้ำเเข็งที่ขั้วโลกเหนือละลายปีละ 50 ตารางเมตร

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:30 0:00

ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อเร็วๆ นี้ในวารสาร Science เปิดเผยว่า ผู้โดยสารแต่ละคนที่เดินทางด้วยเที่ยวบินจากมหานครนิวยอร์คไปยุโรป หรือคนที่ขับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นระยะทาง 4,000 กิโลเมตร ต่างมีส่วนสร้างเเก๊สเรือนกระจกในปริมาณเพียงพอที่ทำให้แผ่นน้ำเเข็งในมหาสมุทรอาร์กติกในขั้วโลกเหนือขนาด 3 ตารางเมตรหนึ่งเเผ่นละลายไป

การศึกษานี้คำนวณว่า ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่อทุกหนึ่งเมตริกตันที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลก จะมีแผ่นน้ำเเข็งละลายไป 3 ตาราเมตรในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ขั้วโลกเหนืออยู่ในสภาพเย็นเป็นน้ำเเข็งน้อยที่สุด

Dirk Notz นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศโลกที่สถาบันด้านอุตุนิยมวิทยา Max Planck ในเยอรมนี ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้ร่างรายงานผลการศึกษานี้ กล่าวว่า มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดระหว่างการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ กับการละลายหายไปของแผ่นน้ำเเข็งในทะเลในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี โดยเฉพาะในบริเวณขอบทางด้านใต้

Julienne Stroeve นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศโลกแห่งศูนย์ข้อมูลด้านหิมะกับน้ำเเข็งแห่งชาติสหรัฐฯ (National Snow and Ice Data Center) ในเมืองโบลเดอร์ รัฐโคโลราโด้ และผู้เชี่ยวชาญที่ยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ กรุงลอนดอน ซึ่งเป็นผู้ร่วมร่างรายงานเรื่องนี้ กล่าวว่า แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกจากท่อไอเสียรถยนต์ที่เราขับขี่ และจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ล้วนลอยขึ้นไปสั่งสมในชั้นบรรยากาศโลก

Stroeve กล่าวว่า แก๊สเรือนกระจกทำให้อุณหภูมิผิวหน้าของทะเลอุ่นขึ้น แผ่นน้ำเเข็งในทะเลที่ขั้วโลกจึงตอบสนองกับภาวะนี้และละลายหายไป มีทางเดียวที่จะลดการละลายลงคือการย้ายจุดของแผ่นน้ำเเข็งไกลขึ้นไปทางเหนือ

Stroeve และ Notz คำนวณว่า คนอเมริกันโดยเฉลี่ยหนึ่งคน เป็นผู้สร้างเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้เกิดการละลายของแผ่นน้ำเเข็งในทะเลที่ขั้วโลกเหนือปีละประมาณ 50 ตารางเมตรในช่วงเดือนกันยายน หรือเทียบได้กับขนาดของอพาร์ทเม้นท์หนึ่งห้องนอนเล็กๆ ในเมืองของสหรัฐฯ

Notz กล่าวว่ามีสัตว์หลายประเภทในขั้วโลกเหนือที่พึ่งพาแผ่นน้ำเเข็งในทะเลเป็นหลักในการอยู่รอด และเเน่นอนว่าสัตว์เหล่านี้จะมีโอกาสอยู่รอดน้อยลงในมหาสมุทรอาร์ติกที่ไร้เเผ่นน้ำเเข็งในช่วงฤดูร้อน

ยกตัวอย่าง หมีขาวพรือโพล่าเเบร์ ที่มีความเสี่ยงสูงมากเพราะใช้เวลาค่อนชีวิตบนแผ่นน้ำเเข็งในมหาสมุทรอาร์กติก

เเละสำหรับอนาคตของแผ่นน้ำเเข็งในมหาสมุทรอาร์กติก ผลการศึกษานี้ชี้ว่าเป้าหมายที่นานาชาติตั้งเอาไว้ในข้อตกลงว่าด้วยสภาพภูมิอากาศโลก ที่จะควบคุมไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส ซึ่งมีผลบังคับไปเเล้วเมื่อเร็วๆ นี้ จะไม่เพียงพอในการปกป้องแผ่นน้ำเเข็งในทะเลขั้วโลกเหนือไม่ให้ละลายหายไป หากคนเรายังปล่อยแก๊ส

คาร์บอนไดออกไซด์ปล่อยออกไปสู่ชั้นบรรยากาศโลกเท่ากับระดับปัจจุบันนี้ต่อไป คาดว่าภายในราว 30 ปีข้างหน้า มหาสมุทรในบริเวณขั้วโลกเหนือจะไม่มีแผ่นน้ำเเข็งเลยในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี

(รายงานโดย Smita Nordwall / เรียบเรียงโดยทักษิิณา ข่ายแก้ว)

XS
SM
MD
LG