ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วัคซีนมาลาเรียตัวใหม่ผ่านการทดสอบด้านความปลอดภัย


วัคซีนมาลาเรียตัวใหม่ผ่านการทดสอบด้านความปลอดภัย
วัคซีนมาลาเรียตัวใหม่ผ่านการทดสอบด้านความปลอดภัย

ความสำเร็จในการทดสอบความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรียครั้งล่าสุดสร้างความหวังให้วงการแพทย์ในอเมริกาเพราะถือเป็นความคืบหน้าครั้งสำคัญ วัคซีนมาลาเรียตัวนี้ทำให้เชื้อมาลาเรียในร่างกายมนุษย์หยุดการแพร่เชื้อต่อ

ในปัจจุบัน วัคซีนป้องกันไข้มาลาเรียส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นตอนศึกษาและพัฒนา วัคซีนไข้มาลาเรียเหล่านี้คิดค้นจากการตัดต่อพันธุกรรมโปรตีนจากเชื้อมาลาเรียที่เรียกว่าพลาสโมเดี่ยม ตัวโปรตีนพลาสโมเดี่ยมตกแต่งพันธุกรรมออกแบบให้ไปกระตุ้นร่างกายมนุษย์ให้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อต้านตัวเชื้อมาลาเรียที่เข้าสู่ร่างกายหลังจากถูกยุงที่มีเชื้อมาลาเรียดูดเลือด

แต่คุณโรเบิร์ต ซีเดอร์ นักวิจัยจากสถาบันโรคติดต่อและโรคภูมิแพ้แห่งชาติของสหรัฐ กล่าวว่าวัคซีนมาลาเรียตัวใหม่ที่ยังอยู่ในขั้นทดสอบตัวนี้ แตกต่างจากวัคซีนตัวอื่นๆเพราะไม่ใช่การกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิขึ้นมาต่อต้านเชื้อโรค แต่เป็นการทำให้เชื้อมาลาเรียในร่างกายผู้ป่วยหมดความสามารถในการแพร่เชื้อโรคต่อ

เขาอธิบายว่า เชื้อพลาสโมเดี่ยมที่เป็นต้นเหตุของมาลาเรียมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งในช่วงชีวิตของมัน ในการพัฒนาวัคซีนตัวนี้ นักวิจัยใช้ตัวเชื้อโรคในช่วงที่มันพร้อมเต็มที่ ที่จะจะแพร่เชื้อ นักวิจัยเรียกเชื้อมาลาเรียในช่วงนี้ว่า สปอร์โอโซไอ้

ในการพัฒนาวัคซีน นักวิจัยทำการดึงเอาสปอร์โอโซไอ้ ออกมาจากต่อมน้ำลายของยุงแล้วนำไปฉายรังสี ปรากฏว่าเชื้อมีความอ่อนแอลงจนไม่สามารถก่ออาการโรคมาลาเรียได้และไม่สามารถแพร่เชื้อต่อได้ แนวคิดนี้ค้นพบกันมานานหลายสิบปีแล้วแต่มีอุปสรรคในการนำมาใช้จริงจนกระทั่งทีมงานของคุณซีเดอร์คิดวิธีดำเนินการขึ้นมาได้สำเร็จ

คุณโรเบิร์ต ซีเดอร์ กล่าวว่าทีมนักวิจัยของเขาสามารถนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้เพราะเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมงานจากบริษัทซานนาเรียผู้ผลิตวัคซีน สามารถพัฒนาวีธีการแยกตัวเชื้อสปอร์โอโซไอ้และกรรมวิธีกรั่นกรองตัวเชื้อให้บริสุทธิ์เพื่อนำไปใช้เป็นวัคซีน

ในการทดสอบว่าวัคซีนมีผลอย่างที่คาดหรือไม่ นักวิจัยทำการฉีดเชื้อที่คัดกรองได้เข้าไปใต้ผิวหนังของอาสาสมัคร 44 ราย ปรากฏว่ามีอาสาสมัครแค่สองคนเท่านั้นที่มีภูมิและไม่ติดเชื้อมาลาเรียหลังจากถูกยุงที่มีเชื้อกัด

แม้ว่าจะพอใจผลด้านความปลอดภัยของวัคซีนเพราะมีผลข้างเคียงต่อร่างกายอาสาสมัครน้อยนักวิจัยถือว่าวัคซีนยังมีประสิทธิภาพต่ำพวกเขาจึงนำไปทดลองในสัตว์ทดลอง คุณสตีเฟ่น ฮอฟมัน สมาชิกทีมวิจัย พบว่า ต้นเหตุที่ทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนต่ำลงมาจากวิธีการฉีดวัคซีน

เขาบอกว่าวัคซีนตัวนี้น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าที่ทดลองได้ก่อนหน้านี้ ถ้าหากนักวิจัยฉีดวัคซีนเข้าไปในเส้นเลือดของอาสาสมัคร ไม่ใช่แค่ฉีดเข้าใต้ผิวหรือเข้ากล้ามเนื้อ เขาบอกว่า ทีมงานกำลังวางแผนจะทดลองการฉีดวัคซีนป้องกันมาลาเรียตัวนี้อีกครั้งภายในเดือนตุลาคมนี้ด้วยการฉีดเข้าเส้นเลือดของอาสาสมัครโดยตรง

XS
SM
MD
LG