ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การบำบัดด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กสามารถบรรเทาอาการซึมเศร้าได้


FILE - A 15-ton superconducting magnet is pictured at the National High Magnetic Field Laboratory, in Tallahassee, Fla. The lab has now reclaimed =its status as home to the world's strongest resistive magnet.
FILE - A 15-ton superconducting magnet is pictured at the National High Magnetic Field Laboratory, in Tallahassee, Fla. The lab has now reclaimed =its status as home to the world's strongest resistive magnet.

ภาวะซึมเศร้านั้นเป็นมากกว่าแค่ความเสียใจ เป็นโรคร้ายแรงที่รบกวนชีวิตปกติของคนเรา เกิดความรู้สึกด้อยค่า สำหรับในกรณีร้ายแรงก็อาจสามารถฆ่าตัวตายได้ แต่ภาวะซึมเศร้าสามารถรักษาได้ด้วยการบำบัดโดยการพูดคุย การใช้ยา หรือทั้งสองอย่างรวมกัน นอกจากนี้ยังมีการรักษาที่ส่งคลื่นสนามแม่เหล็กไปยังสมองโดยตรง

Sonya Kibbee นักกายภาพบำบัดในโคลัมเบีย รัฐมิสซูรี่ ซึ่งโดยปกติเป็นคนร่าเริง แต่เมื่อปีที่แล้ว ภาวะซึมเศร้ารุนแรงทำให้เธอมีปัญหาในการตัดสินใจในเรื่องที่ง่ายๆ

Sonya เล่าวว่าแม้เพียงการตัดสินใจในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิด เธอก็ยังต้องคิดแล้วคิดอีก ซึ่งทำให้เธอเครียดมากขึ้นเพราะการตัดสินใจในเรื่องเล็กน้อยกลายเป็นเรื่องที่ยาก

ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามักจะไม่มีชีวิตชีวา ไม่ร่าเริง และยังส่งผลต่อพฤติกรรมการกินการนอน ถึงแม้ว่าจะใช้ยาหรือเข้ารับการบำบัดแล้วก็ตาม

Sonya เคยคิดฆ่าตัวตายและเคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหลายครั้ง จากนั้นเธอก็ได้ทราบเกี่ยวกับการรักษาที่เรียกว่า Transcranial Magnetic Stimulation หรือ TMS ซึ่งไม่เกี่ยวต้องผ่าตัดหรือไม่ต้องใช้ยาสลบ แต่เป็นการใช้ขดลวดเพื่อส่งกระแสแม่เหล็กที่ทรงพลังไปยังสมองโดยตรง

Muaid Ithman จิตแพทย์ที่มหาวิทยาลัยมิสซูรี่กล่าวว่า คลื่นสนามแม่เหล็กเหล่านี้จะไปกระตุ้นสารที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเส้นประสาทซึ่งเป็นสัญญาณทางเคมี และจะช่วยให้การสื่อสารระหว่างส่วนต่างๆ ของสมองที่มีผลต่ออารมณ์ดีขึ้น นานวันไปก็จะช่วยให้อาการซึมเศร้าดีขึ้นด้วย

Sonya Kibbee เล่าถึงการรักษาวิธีนี้ว่า เธอรู้สึกเหมือนโดนเคาะที่หัวเบาๆ ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดหัวได้ เธอจะทานยาแก้ปวดที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ก่อนที่จะเข้ารับการรักษา หนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้นเธอถึงได้สังเกตเห็นความแตกต่างที่แท้จริง

Sonya รู้สึกดีขึ้นมาก หลังจากที่เข้ารับการบำบัดรักษากว่า 30 ครั้ง อาการซึมเศร้าของเธอก็เกือบจะหายไปทั้งหมด

นายแพทย์ Muaid Ithman กล่าวว่าโดยทั่วไป 50 หรือ 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ทนทุกข์ทรมานจากภาวะซึมเศร้าที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา มักจะตอบสนองต่อการรักษาด้วย TMS และหนึ่งในสามของคนเหล่านั้นก็จะเริ่มทุเลาลง ซึ่งหมายถึงอาการของพวกเขาจะหายไปอย่างสมบูรณ์

สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติสหรัฐฯ ชี้ว่า การศึกษาครั้งใหญ่ทั้งสองครั้งเกี่ยวกับความปลอดภัยของการรักษาด้วย TMS พบว่าผลข้างเคียงส่วนใหญ่คืออาการปวดหัวแบบเล็กน้อยถึงปานกลาง แต่เนื่องจากการรักษานี้ค่อนข้างใหม่ จึงยังไม่สามารถทราบถึงผลข้างเคียงระยะยาวได้ และจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องนี้

XS
SM
MD
LG