ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เนเธอร์แลนด์เตรียมส่ง “เนื้อที่ผลิตในห้องทดลอง” ขายตามร้านอาหารในอีก 3 ปีข้างหน้า


FILE - Professor Mark Post holds the world's first lab-grown beef burger during a launch event in west London, Aug. 5, 2013. Mosa Meat, a Dutch company that presented the world's first lab-grown beef burger five years ago, said July 17, 2018, it has received funding to pursue its plans to make and sell artificially grown meat to restaurants from 2021.
FILE - Professor Mark Post holds the world's first lab-grown beef burger during a launch event in west London, Aug. 5, 2013. Mosa Meat, a Dutch company that presented the world's first lab-grown beef burger five years ago, said July 17, 2018, it has received funding to pursue its plans to make and sell artificially grown meat to restaurants from 2021.

บริษัทสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ตั้งเป้าผลิตเนื้อจากห้องแลปเพื่อส่งไปขายตามร้านอาหารได้ในอีก 3 ปีข้างหน้า

เมื่อ 5 ปีที่แล้ว บริษัท Mosa Meat ของเนเธอร์แลนด์ ได้นำเสนอเนื้อเบอร์เกอร์ที่ผลิตในห้องทดลองเป็นครั้งแรกของโลก และสามารถระดมทุนได้ถึง 8.8 ล้านดอลลาร์ เพื่อดำเนินงานตามแผนการผลิตและจำหน่ายเนื้อสัตว์เทียม ซึ่งมาจาก M Ventures ฝ่ายการลงทุนในเครือของบริษัทเภสัชกรรม Merck KGaA ของเยอรมนี และบริษัท Bell Food Group บริษัทแปรรูปเนื้อสัตว์ของยุโรปที่ตั้งอยู่ในสวิสเซอร์แลนด์

นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เตือนว่า ความต้องการเนื้อสัตว์เป็นอาหารที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างประเทศจีนนั้นไม่ยั่งยืน เพราะการปศุสัตว์เพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร อย่างเนื้อวัว เนื้อหมู และเนื้อสัตว์ปีก ต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าโปรตีนจากพืช โดยเฉพาะวัว ซึ่งผลิตแก๊สเรือนกระจกเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน

ขณะที่ การผลิตเนื้อเทียม สามารถแก้ปัญหาความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลกระทบทางจริยธรรมในการเลี้ยงสัตว์เพื่อนำเนื้อมาบริโภค

ความท้าทายสำคัญ คือ การที่ทำให้เนื้อสัตว์เทียมนี้มีลักษณะ และรสชาดเหมือน กับเนื้อสัตว์จริงๆ ในการผลิตของบริษัท Mosa Meat จะใช้ตัวอย่างเซลล์ขนาดเล็กที่นำมาจากสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เซลล์เหล่านี้ได้รับสารอาหารเพื่อให้เติบโตเป็นเส้นใยกล้ามเนื้อ ที่น่าสนใจ คือ กลุ่มเซลล์ตัวอย่างขนาดเล็กเพียงกลุ่มเดียว สามารถผลิตเนื้อเบอร์เกอร์แผ่นได้มากถึง 80,000 ชิ้น

บริษัท Mosa Meat คาดว่าจะสามารถจำหน่ายเนื้อบดสำหรับทำแฮมเบอร์เกอร์ เป็นสินค้าตัวแรกของบริษัทได้ ในปี ค.ศ. 2021 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า ด้วยต้นทุนการผลิตเพียง 1 ดอลลาร์ หรือ 30 บาทต่อชิ้น

ปัจจุบัน มีบริษัทสตาร์ทอัพหลายแห่งเริ่มเพาะเลี้ยงเนื้อในห้องทดลองกันมากขึ้น จึงเกิดการถกเถียงเกี่ยวกับ ชื่อที่จะใช้เรียกผลิตภัณฑ์นี้ตามมา ซึ่งฝั่งผู้ที่สนับสนุนการผลิตเนื้อแบบนี้ก็เรียกกันว่า clean meat หรือ เนื้อสะอาด ขณะที่กลุ่มที่สนับสนุนการปศุสัตว์แบบดั้งเดิมกลับแย้งว่า เนื้อสังเคราะห์ น่าจะเหมาะสมกว่า

XS
SM
MD
LG