ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์อังกฤษคิดค้นเสียงร้องหาคู่ของจิ้งหรีดโบราณจากฟอสซิลปีกแมลงยุคไดโนเสาร์


ทีมนักวิทยาศาสตร์ในอังกฤษใช้ฟอซซิลปีกจิ้งหรีดยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในประเทศจีนเป็นต้นแบบศึกษาว่าจิ้งหรีดโบราณตัวผู้ิ้ส่งเสียงร้องหาคู่อย่างไร ทีมงานสามารถสร้างเสียงจิ้งหรีดเลือนแบบขึ้นมาได้สำเร็จ ช่วยสร้างบรรยากาศของสรรพเสียงในป่าจูราสสิก ยุคที่ไดโนเสาร์ยังมีชีวิตบนโลกเมื่อ 165 ล้านปีที่แล้ว

เสียงร้องเรียกหาคู่ของจิ้งหรีดตัวผู้แบบนี้ เคยลวยลมในป่าจูราสสิก ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตอนนั้นโลกยุคไดโนเสาร์น่าจะเต็มไปด้วยสรรพเสียงของสัตว์อื่นๆอีกนานับชนิด ประกอบกับเสียงน้ำไหลในลำธารที่เชี่ยวกราก เสียงใบเฟินยักษ์และกิ่งต้นสนสูงเสียดสีกันไปมาขณะลู่ลม

เสียงที่เราเพิ่งได้ยินไป เป็นเสียงจิ้งหรีดที่ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษสร้างขึ้นมาใหม่ หลังจากวิเคราะห์ลักษณะของฟอซซิลปีกจิ้งหรีดคู่หนึ่ง อายุเก่าแก่ราวยุคก่อนประวัติศาสตร์ ค้นพบในประเทศจีน

นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างสรรพเสียงของแมลงในป่ายุคไดโนเสาร์ได้ ช่วยให้เราจินตนาการต่อไปได้ว่า ถ้าหากไปยืนอยู่ในป่าจูราสสิก เราจะได้ยินเสียงอะไรบ้าง เพราะเท่าที่ผ่านเราได้เห็นแต่ภาพจำลองของป่ายุคไดโนเสาร์เท่านั้น

คุณเฟอนานโด้ มอนทีลเลโกร ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสื่อสารด้วยเสียงของจิ้งหรีดและแมลง กับเพื่อนร่วมงานเดินทางไปประเทศจีนเมื่อปีที่แล้ว ตามคำเชิญของผู้เชี่ยวชาญที่จีนเพื่อวิเคราะห์ฟอสซิลปีกจิ้งหรีดโบราณ พวกเขาต้องการศึกษาว่าเสียงของจิ้งหรีดในสมัยนั้นเป็นอย่างไรและมีคลื่นความถี่เท่าใด

มอนทีลเลโกร บอกว่า ปีกจิ้งหริ้ดโบราณยาว 7 เซ็นติเมตร คาดว่าตัวจิ้งหรีดเจ้าของปีกน่าจะมีขนาดลำตัวยาว 10 เซ็นติเมตร เป็นจิ้งหรีดขนาดใหญ่

ตามธรรมชาติ แมลงจำพวกจิ้งหรีดและตั๊กแตนตัวผู้จะใช้ปีกถูกกันไปมาเพื่อให้เกิดเสียง ปีกของจิ้งหรีดรุ่นปัจจุบันมีซี่ฟันหนึ่งแถบบนปีกข้างเดียวเท่านั้น แต่นักวิจัยพบว่าปีกจิ้งหรีดโบราณมีแถบซี่ฟันบนปีกทั้งสองข้าง

นักวิจัยได้วัดขนาดของซี่ฟันบนปีกจิ้งหริ้ดโบราณทั้งสองข้าง และเปรียบเทียบกับปีกของจิ้งหรีดและตั๊กแตนพันธุ์ปัจจุบัน 59 สายพันธุ์ ที่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับป่ายุคไดโนเสาร์ เช่นจิ้งหรีดในป่าของมาเลเซียเพราะไม่มีค้างคาว ป่าในยุคไดโนเสาร์ไม่มีค้างคาว จิ้งหรีดจึงสื่อสารด้วนเสียงโทนต่ำ ต่างจากจิ้งหรีดปัจจุบันที่ส่งเสียงในระดับคลื่นความถี่ที่สูงกว่าเพื่อป้องกันไม่ให้ค้างคาวดักจับเสียงได้เพราะจะถูกจับกินเป็นอาหาร

หลังเสร็จสิ้นการศึกษา ทีมนักวิจัยสรุปได้ว่า จิ้งหรีดตัวผู้ยุคก่อนประวัติศาสาตร์ร้องเพลงรักแค่โทนเดียว

คุณมอลทีลเลโกร กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า เสียงจิ้งหรีดโบราณเป็นเสียงเรียกที่เรียบง่าย ไม่หวือหวาแต่ชัดเจน สม่ำเสมอทุกหนึ่งวินาที

เสียงจิ้งหรีดโบราณตัวผู้ เป็นเสียงโทนต่ำ ความถี่หกกิโลเฮริ์ทซ สามารถเดินทางไปได้ในระยะทางไกลในตอนกลางคืน เสียงเรียกหาคู่จะดังจากระดับพื้นดิน ลอยไปตามสายลมและเรียกให้จิ้งหรีดตัวเมียบินตามหาเจ้าของเสียง

คุณมอนทีลเลโกร กล่าวว่าการสื่อสารด้วยเสียงโทนเดียวนี้ยังแสดงว่าจิ้งหรีดโบราณอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสรรพเสียงของสัตว์อื่นๆหลากหลาย การใช้เสียงโทนเดียวเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ช่วยให้จิ้งหรีดโบราณตัวเมียแยกเสียงเรียกนี้ได้จากเสียงสัตว์อื่นๆที่ดังระงมในป่ายุคก่อนประวัติศาสตร์

นักวิจัยบอกว่าเสียงเรียกของแมลงแนวอะคูสติกนี้ใช้ได้ผลดีในป่าจูราสสิกที่ปลอดค้างคาว ค้างคาวสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นศัตรูตัวฉกาจของแมลงต่างๆทั้งจิ้งหรีดและตั๊กแตน กำเนิดขึ้นบนโลกร้อยล้านปีให้หลัง และเมื่อค้างคาวถือกำเนิดขึ้นบนโลก นักวิจัยกล่าวว่า แมลงต่างๆในปัจจุบันได้ปรับเสียงเรียกหาคู่ของตนให้มีความถี่สูงขึ้นเพื่อเลี่ยงการดักจับของศัตรู

XS
SM
MD
LG