ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นผลิตเนื้อวากิวจากสเต็มเซลล์ในห้องทดลอง


4/4 Osaka University Professor Michiya Matsusaki holds a Petri dish with cultured Wagyu beef at a lab at the university in Suita, Osaka Prefecture, Japan October 5, 2021. Picture taken on October 5, 2021. REUTERS/Akira Tomoshige
4/4 Osaka University Professor Michiya Matsusaki holds a Petri dish with cultured Wagyu beef at a lab at the university in Suita, Osaka Prefecture, Japan October 5, 2021. Picture taken on October 5, 2021. REUTERS/Akira Tomoshige
Lab Grown Meat and Coffee
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:08 0:00


เนื้อวากิวที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นมีสนนราคาสูงกว่า 400 ดอลลาร์ต่อกิโลกรัม แต่ในอนาคตอาจมีราคาถูกลง เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์วางแผนที่จะผลิตเนื้อชนิดนี้ในห้องทดลอง

นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น กล่าวว่า พวกเขาได้สร้างเนื้อวากิวขึ้นใหม่ในห้องทดลอง ที่อาจจะมีรสชาติ และมองดูเหมือนเนื้อจริง ๆ

เนื้อวากิวมีชื่อเสียงในเรื่องของไขมันที่กระจายไปทั่วชิ้นเนื้อ ซึ่งทำให้เนื้อมีรสชาติที่พิเศษ โดยเนื้อวากิวมาจากวัวดำชนิดหนึ่งที่เลี้ยงในพื้นที่โกเบทางตะวันตกของญี่ปุ่น

นักวิจัยของมหาวิทยาลัยโอซาก้า ใช้เครื่องพิมพ์ชีวภาพ 3 มิติและสเต็มเซลล์จากวัวเพื่อสร้างไขมันในเนื้อวากิวทีละชิ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะสร้างเนื้อโดยการรวมหลาย ๆ ชิ้นเข้าด้วยกัน

Osaka University Professor Michiya Matsusaki shows off cultured Wagyu beef at a lab at the university in Suita, Osaka PrefectureREUTERS/Akira Tomoshige
Osaka University Professor Michiya Matsusaki shows off cultured Wagyu beef at a lab at the university in Suita, Osaka PrefectureREUTERS/Akira Tomoshige


การวิจัยดังกล่าวนี้นำโดยมิชิยะ มัตสึซากิ ซึ่งอธิบายว่า เราจะยังไม่ได้รับประทานเนื้อจำลองกันในเร็ววันนี้ เพราะตอนนี้ต้องใช้เวลาเกือบสี่สัปดาห์ในการสร้างเนื้อที่มีขนาดหนึ่งลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อเทคนิคและประสิทธิภาพดีขึ้น นักวิจัยก็อาจทำให้เนื้อดังกล่าวกลายเป็นอาหารจริงได้เร็วขึ้น

เขาบอกกับรอยเตอร์ว่า หากสามารถผลิตเนื้อจำนวนมากได้อย่างรวดเร็วจากเซลล์เพียงไม่กี่เซลล์ ก็มีโอกาสที่จะสามารถรับมือกับปัญหาการขาดแคลนอาหารและโปรตีนได้ดีขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้ ทั้งความกังวลในเรื่องสิ่งแวดล้อมและปัญหาอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ ล้วนเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนความสนใจในเรื่องการสร้างเนื้อในห้องทดลอง และการผลิตเนื้อสัตว์จากพืช อย่างเช่น เนื้อสัตว์ที่ผลิตโดยบริษัท Impossible Foods Inc.

มัตสึซากิ กล่าวว่า เทคนิคการพิมพ์ชีวภาพและการปลูกเซลล์ในห้องทดลองอาจมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น การสร้างสิ่งทดแทนกล้ามเนื้อของมนุษย์ที่ได้รับความเสียหาย

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายราว 90 ดอลลาร์ในการสร้างเนื้อวากิวชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งคุณมัตสึซากิ กล่าวว่า ราคาดังกล่าวจะลดลง และเนื้อวากิวจากห้องทดลองนี้อาจถูกนำไปเสิร์ฟบนโต๊ะอาหารได้ภายในห้าปีจากนี้

ที่มา: Reuters

XS
SM
MD
LG