ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การใช้ยาวัณโรควิธีใหม่ด้วยการสูดหายใจเข้าไปทำงานได้ผลดีในการทดลอง


การใช้ยาวัณโรควิธีใหม่ด้วยการสูดหายใจเข้าไปทำงานได้ผลดีในการทดลอง
การใช้ยาวัณโรควิธีใหม่ด้วยการสูดหายใจเข้าไปทำงานได้ผลดีในการทดลอง

นักวิจัยในสหรัฐศึกษาพบว่า การใช้ยาปฏิชีวนะบำบัดวัณโรคแบบสูดทางจมูกเข้าสู่ปอดโดยตรงได้ผลดีในการทดลอง J’aime Manion นักศึกษาที่กำลังทำปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด กำลังศึกษาวิธีใช้ยาในรูปแบบใหม่ คือ แบบทำเป็นผงละอองละเอียดสำหรับการสูดทางจมูกตามลมหายใจลึกเข้าไปในปอดโดยตรง แทนยาเม็ดที่ใช้รับประทาน เธอกล่าวว่า จุดสำคัญของการใช้ยาปฏิชีวนะแบบสูดทางจมูก คือ เราสามารถทำให้ยามีความหนาแน่นอยู่ในปอด ซึ่งจะทำให้ได้ผลมากกว่า จากยาปริมาณน้อยลง เพราะยาจะมีความเข้มข้นอยู่ในบริเวณเล็กลงและถูกเป้าหมาย แล้วยาจะซึมเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งจะนำยาไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วย J’aime Manion เสนอรายงานการวิจัยของเธอในการประชุมร่วมของสหพันธ์เภสัชกรรมระหว่างประเทศ International Pharmaceutical Federation กับสมาคมนักวิทยาศาสตร์ด้านเภสัชกรรม American Association of Pharmaceutical Scientists ในรัฐหลุยเซียนาในสัปดาห์นี้

วัณโรค ที่เรียกกันตามอักษรย่อว่า TB เป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรงมากปัญหาหนึ่งของโลก องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ประชากรโลกราว 1 ใน 3 หรือราว 2,000 ล้านคน เป็นโรคนี้ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการถึงกับล้มป่วย แต่เฉพาะในปีที่ผ่านมา ปีเดียว มีคนป่วยเพราะวัณโรคมากกว่า 9 ล้านคน และประมาณ 1ล้าน 7 แสนคน เสียชีวิตเพราะวัณโรค หรือ TB

การบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ผู้ป่วยต้องรับประทานยาเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งผู้ป่วยจำนวนมากมักหยุดรับประทานยาไปเสียเฉยๆ โดยที่ยังไม่ครบตามกำหนด ซึ่งเปิดทางให้เกิดเชื้อวัณโรคกลายพันธุ์และดื้อยาขึ้นมา นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามหาวิธีที่ดีกว่าเดิมในการบำบัดรักษาวัณโรค

นักศึกษาที่กำลังทำปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด กำลังศึกษาวิธีใช้ยาในรูปแบบใหม่ คือ แบบทำเป็นผงละอองละเอียดสำหรับการสูดตามลมหายใจลึกเข้าไปในปอดแทนยาเม็ดที่ใช้รับประทาน

J’aime Manion [เชม แมนเนียน] นักศึกษาผู้นั้นกล่าวว่า เชื้อวัณโรคซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่มักเกาะเป็นกลุ่มเป็นกระจุกอยู่ในปอด ดังนั้น การส่งยาเข้าสู่ปอดโดยตรง จึงน่าจะมีประสืทธิภาพกว่า เร็วกว่า และใช้ยาปริมาณน้อยกว่า

J’aime Manion กล่าวว่า ในการศึกษา นักวิทยาศาสตร์พบซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า เมื่อบำบัดด้วยการสูดยาหายใจเข้าไปทางจมูก เข้าไปในปอด เชื้อแบคทีเรียจะถูกกวาดล้างไปเร็วกว่า และเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะช่วงเวลาของการบำบัดวัณโรคนั้น อยู่ระหว่าง 3 – 6 เดือน ซึ่งต้องใช้ยาปฏิชีวนะเป็นปริมากมากมายและมีผลข้างเคียงมาก

การทำยาที่ใช้บำบัดรักษาวัณโรคชนิดเม็ดให้เป็นชนิดผงละเอียดมากราว 3 ไมคร็อนนั้น ไม่ใช่เพียงการนำยาเม็ดมาบดให้เป็นผงละเอียดเท่านั้น แต่ต้องเติมกรดอะมิโนชนิดที่เรียกว่า ลูซีน (leucine) เข้าไปด้วยเพิ่อทำให้ตัวยานั้นมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์เอื้ออำนวยบางอย่าง เช่น ทำให้อนุภาคละอองยาผงนั้นไม่เกาะติดกัน เป็นต้น J’aime Manion อธิบายว่า อนุภาคละอองยาผงที่ไม่เกาะติดกันเป็นก้อน จะทำให้ง่ายขึ้นต่อการสูดเข้าไปในปอดและกระจายออกไปอย่างทั่วถึงตามส่วนที่ลึกและเล็กที่สุดของปอด

ด้วยการสูดหายใจละอองอนุภาคยาผงเข้าไป ผู้ป่วยจะได้รับยาเข้าไปในปอด ซึ่งเป็นที่ที่เชื้อวัณโรคส่วนใหญ่อยู่โดยตรง

J’aime Manion กล่าวว่า จุดสำคัญของการใช้ยาปฏิชีวนะแบบสูดทางจมูก คือ เราสามารถทำให้ยามีความหนาแน่นอยู่ในปอด ซึ่งจะทำให้ได้ผลมากกว่า จากยาปริมาณน้อยลง เพราะยาจะมีความเข้มข้นอยู่ในบริเวณเล็กลงและถูกเป้าหมาย แล้วยาจะซึมเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งจะนำยาไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วย

วิธีการใช้ยาแบบสูดทางจมูกนี้ ใช้ในการบำบัดโรคอื่นๆ อยู่แล้ว รวมทั้งโรคหืดหอบ และ โรค cystic fibrosis ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังทางกรรมพันธุ์โดยเฉพาะในคนคอเคเชียน ซึ่งมีผลต่อปอดและระบบการย่อยอาหาร

ปัญหาท้าทายนั้น ส่วนใหญ่อยู่ที่การผลิตยาให้เป็นละอองอนุภาคเล็กเป็นจุลที่สามารถเข้าไปตามเส้นทางเล็กๆ ลึกๆ ในปอด แต่นักวิทยาศาสตร์กำลังแก้ปัญหาเหล่านั้นได้

J’aime Manion เสนอรายงานการวิจัยของเธอในการประชุมร่วมของสหพันธ์เภสัชกรรมระหว่างประเทศ International Pharmaceutical Federation กับสมาคมนักวิทยาศาสตร์ด้านเภสัชกรรม American Association of Pharmaceutical Scientists ในรัฐหลุยเซียนาในสัปดาห์นี้ และในการประชุมแห่งเดียวกันนี้ นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ก็ร่วมเสนอรายงานการวิจัยเกี่ยวกับการให้ยาที่ใช้สูดทางจมูกสำหรับการบำบัดโรคต่างๆ ตั้งแต่เนื้องอกที่เยื่อบุผิวไปจนถึงมะเร็งปอด

จนถึงขณะนี้ ผลงานของ J’aime Manion แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด มุ่งในเรื่องการพัฒนายาปฏิชีวนะแบบสูดทางจมูกในการต้านวัณโรค มาตอนนี้ เธอหวังว่า นักวิจัยคนอื่นๆ จะสามารถดำเนินงานต่อไปในการทดลองกับสัตว์ในห้องทดลอง

XS
SM
MD
LG