ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยพบเชื้อปรสิตในลำไส้ชนิดหนึ่งอาจมีบทบาทสำคัญต่อ "ภาวะเเคระเเกร็นในเด็ก"


An infant lies in bed in a malnutrition intensive care unit in Dharbhanga, India, April 16, 2015. Researchers thought stunting was mostly caused by malnutrition, but a study indicates a parasite may be a factor.
An infant lies in bed in a malnutrition intensive care unit in Dharbhanga, India, April 16, 2015. Researchers thought stunting was mostly caused by malnutrition, but a study indicates a parasite may be a factor.

การศึกษาพบว่า เด็กเล็กที่ติดเชื้อปรสิตคริปโตสปอริเดี่ยม มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นเกือบ 3 เท่าที่จะเเคระเเกร็นในระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรง

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:30 0:00
Direct link

"การเเคระเเกร็นในเด็ก" หรือการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าอัตราปรกติ เป็นสาเหตุใหญ่สาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตในเด็กยากจน

บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขชี้ว่า มีเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบจำนวน 178 ล้านคนทั่วโลกเป็นเด็กเเคระเเกร็น และมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของเด็กจำนวนนี้จะเสียชีวิตจากภาวะเเคระเเกร็น บรรดาผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าเด็กแคระเเกร็นจะได้รับผลกระทบตลอดชีวิต จากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสมองจากภาวะขาดอาหาร

และหากมีชีวิตอยู่รอดเป็นผู้ใหญ่ ก็จะประสบกับความยากจนเพราะมีปัญหาด้านความคิดอ่าน

เป็นที่รู้กันดีมาตลอดว่า การขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ถือเป็นสาเหตุของภาวะเเคระเเกร็น แต่มาถึงตอนนี้ ทีมนักวิจัยภาควิชาการสาธารณสุข Bloomberg มหาวิทยาลัย Johns Hopkins เมือง Baltimore รัฐ Maryland สงสัยว่าน่าจะมีสาเหตุอีกอย่างหนึ่งร่วมด้วย

คุณ Poonum Korpe แพทย์ด้านโรคติดต่อและหนึ่งในสมาชิกนักวิจัยนี้ กล่าวว่า ยังมีช่องว่างทางความรู้เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เด็กเล็กไม่เติบโตในอัตราปรกติ เธอกล่าวว่าผลการศึกษาหลายครั้งก่อนหน้านี้ เเสดงให้เห็นว่าเเม้จะใช้มาตรการบำบัดทางโภชนาการ ไม่ว่าจะเป็นการใช้วิตามินเสริม การส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมมารดา จำนวนเด็กแคระเเกร็นทั่วโลกลดลงไปแค่ 1 ใน 3 เท่านั้น

คุณ Poonum Korpe และทีมงานวิจัยสงสัยว่า ภาวะแคระเเกร็นอาจจะเกิดจากการติดเชื้อปรสิตชนิดใดชนิดหนึ่ง ทีมงานจึงทำการติดตามศึกษาเด็กยากจน 400 คน ในสลัมแห่งหนึ่งในชานกรุงดาก้า ประเทศบังคลาเทศ ตลอดช่วงสองปีแรกของชีวิต

ทีมนักวิจัยพบว่าเด็กทุก 3 ใน 4 คน จะติดเชื้อปรสิตคริปโตสปอริเดี่ยม (Cryptosporidium) ที่ปนเปื้อนในน้ำอย่างน้อยหนึ่งครั้ง เชื้อโรคชนิดนี้เเพร่ระบาดในน้ำดื่มที่ไม่สะอาด และระบบสุขาภิบาลที่ขาดมาตรฐาน ราวหนึ่งในสี่ของเด็กเล็กที่ติดเชื้อชนิดนี้ท้องร่วงรุนแรง แต่เกือบ 3 ใน 4 ไม่มีอาการใดๆ เลย

ผลการศึกษาพบว่า เด็กมากกว่าครึ่งหนึ่งประสบกับภาวะเเคระเเกร็นเมื่ออายุครบ 2 ขวบ

ผลการวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร PLoS เกี่ยวกับโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยไปเมื่อเร็วๆ นี้ คุณ Poonum Korpe ชี้ว่าเป็นไปได้ว่า เชื้อปรสิตชนิดนี้เมื่อเข้าไปในลำไส้เล็กของเด็กเเล้ว อาจทำให้เกิดความเสียหายที่แก้ไขไม่ได้แก่ผนังลำไส้ ทำให้ลำไส้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นการถาวร เเละเมื่อร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ เด็กก็จะเเคระเเกร็น

จากการศึกษาพบว่า เด็กเล็กที่ติดเชื้อปรสิตคริปโตสปอริเดี่ยม มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นเกือบ 3 เท่าตัวที่จะเเคระเเกร็นในระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรง

คุณ Poonum Korpe กล่าวว่า ขณะนี้มียารักษาอาการติดเชื้อที่ได้รับการรับรองแล้วเพียงชนิดเดียว แต่ยาชนิดนี้ไม่มีใช้ในประเทศกำลังพัฒนา เธอสรุปว่า การส่งเสริมด้านโภชนาการและการส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพ จะยังเป็นกุญเเจสำคัญที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อปรสิตคริปโตสปอริเดี่ยมในเด็กเล็ก และอาการเเคระเเกร็นที่จะเกิดขึ้นตามมา

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG