ลิ้งค์เชื่อมต่อ

กลุ่มสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า คำประกาศของอินโดนีเซียห้ามการเปิดป่าเพื่อพัฒนาที่ดินไม่ได้ชลอการตัดไม้ทำลายป่าหรือลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกพืช


กลุ่มสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า คำประกาศของอินโดนีเซียห้ามการเปิดป่าเพื่อพัฒนาที่ดินไม่ได้ชลอการตัดไม้ทำลายป่าหรือลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกพืช
กลุ่มสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า คำประกาศของอินโดนีเซียห้ามการเปิดป่าเพื่อพัฒนาที่ดินไม่ได้ชลอการตัดไม้ทำลายป่าหรือลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกพืช

รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศห้ามการพัฒนาที่ดินในป่าพื้นที่ 280 ล้านไร่เศษเป็นเวลาสองปี แต่กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมกล่าวว่า คำประกาศห้ามนี้จะไม่สามารถสะกัดกั้นบริษัทป่าไม้ มิให้ตัดไม้มาใช้ หรือทำผลิตภัณฑ์กระดาษ หรือพวกพัฒนาที่ดินที่จะเผาป่า เพื่อปลูกต้นปาล์มเอาน้ำมัน

องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมกล่าวว่า คำประกาศของรัฐบาลอินโดนีเซียเมื่อเร็วๆนี้ที่ห้ามการเปิดป่าเพื่อพัฒนาที่ดินไม่ได้ชลอการตัดไม้ทำลายป่า หรือลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกพืชที่ทำให้บรรยากาศโลกร้อนขึ้นแต่อย่างใด

นักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่นั่น กำลังเรียกร้องให้ควบคุมตรวจสอบการตัดไม้ การทำเหมืองแร่ และบริษัทผลิตน้ำมันปาล์มให้มากขึ้น ถ้าอินโดนีเซียจะลดการปล่อยแก๊สคาร์บอน ไดออกไซด์ให้ได้ 26 % ภายใน ปี ค.ศ. 2020 ให้ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้

รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศห้ามการพัฒนาที่ดินในป่าพื้นที่ 280 ล้านไร่เศษเป็นเวลาสองปี แต่กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมกล่าวว่า คำประกาศห้ามนี้จะไม่สามารถสะกัดกั้นบริษัทป่าไม้ มิให้ตัดไม้มาใช้ หรือทำผลิตภัณฑ์กระดาษ หรือพวกพัฒนาที่ดินที่จะเผาป่า เพื่อปลูกต้นปาล์มเอาน้ำมัน

ขณะเดียวกัน ทางฝ่ายกลุ่มที่คัดค้านการกระทำเช่นนั้น อย่างเช่น Greenpeace ก็ไม่เปลี่ยนแปลงยุทธวิธีในการประจันหน้ากับผู้ที่ตัดไม้ทำลายป่า อย่างเช่น บริษัท Asia Pulp and Paper หรือ APP ผู้ผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์ต่างๆจากไม้รายใหญ่ที่สุดของโลก และประสบความสำเร็จในการเรียกร้องให้บริษัทต่างประเทศ เช่น Burger King และ Nestle เลิกค้าขายกับ APP

เวลานี้ Bustar Maitar นักรณรงค์คนหนึ่งของ Greenpeace ในอินโดนีเซีย กำลังเรียกร้องให้บริษัทของเล่นเด็ก Mattel และ Hasbro เลิกทำธุรกิจกับ APP

เจ้าหน้าที่ของ Greenpeace ในอินโดนีเซียผู้นี้กล่าวว่า ทั้งสองบริษัทใช้บรรจุภัณฑ์ที่ APP เป็นผู้ผลิต ในขณะที่ APP กำลังทำลายป่าที่

สุมาตรา APP ปฏิเสธคำขอสัมภาษณ์ แต่มีถ้อยแถลงโต้แย้งคำกล่าวหาของ Greenpeace โดยกล่าวว่า ตนดำเนินการผลิตตามคำแนะแนวทางกฎหมาย และกระดาษที่ใช้เป็นกระดาษ recycled ถึง 95% และกำลังทำงานเพื่อให้มีป่าไม้สำหรับทำกระดาษแบบยั่งยืนได้ 100% ในปีค.ศ. 2015

Lou Verchot นักวิทยาศาสตร์ทางด้านบรรยากาศโลกของศูนย์วิจัยป่าระหว่างประเทศ ไม่เห็นด้วยกับยุทธวิธีของ Greenpeace เพราะไม่คิดว่าจะช่วยยับยั้งการทำลายป่าเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทเหล่านี้สามารถขอสัมปทานได้ก่อนคำประกาศห้ามจะมีออกมา และอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่มีการตรวจสอบบังคับใช้อย่างได้ผล

รัฐบาลอินโดนีเซียมีคำประกาศห้ามการเปิดป่าออกมาคราวนี้ เป็นเพราะทำข้อตกลงมูลค่า 1 พันล้านดอลล่าร์กับนอร์เวย์ แลกเปลี่ยนกับการที่อินโดนีเซียจะลดการปล่อยแก๊สคาร์บอน ไดออกไซด์ อินโดนีเซียปล่อยแก๊สที่ว่านี้มากเป็นอันดับที่สามของโลก

นักวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิจัยป่าระหว่างประเทศผู้นี้กล่าวต่อไปว่า ข้อตกลงมูลค่า 1 พันล้านดอลล่าร์นี้ เทียบไม่ได้เลยกับรายได้สองหมื่นล้านดอลล่าร์ที่อินโดนีเซียได้ในแต่ละปี จากการค้าขายผลิตภัณฑ์ป่าไม้กับสหรัฐเพียงประเทศเดียว แต่อย่างน้อยนักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ก็ยังมองการณ์ในแง่ดี

เขาบอกว่า รู้สึกมีกำลังใจขึ้น เพราะคำประกาศห้ามที่ว่านี้แสดงให้เห็นว่า ประธานาธิบดี Susilo Bambang Yudhoyono กล้าที่จะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อให้มีการแสดงความคิดเห็นกันในสังคม อย่างไรก็ตาม จะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก โดยเฉพาะการหาสิ่งจูงใจเพื่อให้นักพัฒนาที่ดิน พยายามเพิ่มผลิตภาพในบริเวณป่าที่ปลูกไว้แล้ว ในขณะที่เพิ่มการอนุรักษ์และการบังคับใช้กฎหมาย

XS
SM
MD
LG