ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ชาวอินโดนีเซียจะไปเลือกตั้งประธานาธิบดีวันที่ 9 กรกฎาคมเพื่อตัดสินใจระหว่างผู้สมัครมือสะอาดกับผู้สมัครแนวทางชาตินิยม


Indonesia's presidential candidate Joko "Jokowi" Widodo (L) shakes hands with his opponent Prabowo Subianto after a debate in Jakarta June 15, 2014.
Indonesia's presidential candidate Joko "Jokowi" Widodo (L) shakes hands with his opponent Prabowo Subianto after a debate in Jakarta June 15, 2014.
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:48 0:00
Direct link

ชาวอินโดนีเซียผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 187 ล้านคนจะตัดสินใจเลือกประธานาธิบดีในวันพุธที่ 9 กรกฎาคมนี้ โดยจะเป็นการชิงชัยระหว่างผู้สมัครที่สำคัญสองคน คือนาย Joko Widodo ผู้ว่าการกรุงจาการ์ต้า หรือที่รู้จักในอีกชื่อว่า Jokowi ผู้มีชื่อเสียงในฐานะนักการเมืองมือสะอาด กับพลเอก Prabowo Subianto อดีตผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษซึ่งมีแนวนโยบายแบบชาตินิยม โดยในขณะนี้คะแนนนำที่นาย Jokowi เคยได้เหนือพลเอก Prabowo ในระดับกว่า 25 % ได้ลดลงเหลือเพียงแค่ตัวเลขหลักเดียว

Indonesian Presidential candidates Joko Widodo, second left, his running mate Jusuf Kalla, right, Prabowo Subianto, second right and his running mate Hatta Rajasa, left, congratulate each other during a televised debate in Jakarta, Indonesia, Saturday, Ju
Indonesian Presidential candidates Joko Widodo, second left, his running mate Jusuf Kalla, right, Prabowo Subianto, second right and his running mate Hatta Rajasa, left, congratulate each other during a televised debate in Jakarta, Indonesia, Saturday, Ju

พลเอก Prabowo Subianto ผู้นี้เคยถูกกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในติมอร์ตะวันออก สมัยที่เขาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษอยู่ รวมทั้งเรื่องการออกคำสั่งให้ลักพาตัวนักกิจกรรมสนับสนุนประชาธิปไตยเมื่อปี 2541 ด้วย และผู้ที่ไม่สนับสนุนเขาเกรงว่าหากพลเอก Prabowo ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี สิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนก็อาจถูกริดรอนลงได้

เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว นาย Robert O. Blake ทูตสหรัฐฯ ประจำอินโดนีเซียให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal ในสหรัฐฯ ว่าถึงแม้สหรัฐฯ จะไม่เข้าข้างฝ่ายใดในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ตาม แต่อินโดนีเซียก็ควรไต่สวนข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งคำพูดนี้ทำให้นาย Marty Natalegawa รัฐมนตรีต่างประเทศของอินโดนีเซียถึงกับกล่าวว่า เป็นความพลาดพลั้งในเรื่องการตัดสินใจซึ่งยากที่จะยอมรับได้

อย่างไรก็ตาม อาจารย์ Aleksius Jemadu ผู้สอนรัฐศาสตร์ที่ Pelita Harapan University มองว่า สหรัฐฯ กำลังแสดงความสนับสนุนเป็นนัยต่อผู้นำคนใหม่ของอินโดนีเซียที่พร้อมจะร่วมมือกับนโยบายและผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ เพราะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าหากพลเอก Prabowo Subianto ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีเขาจะมีแนวทางแบบชาตินิยม และคงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่อินโดนีเซียจะร่วมมือกับสหรัฐฯ ในแนวนโยบายเกี่ยวกับจีนในปัจจุบัน

การเลือกตั้งประธานาธิบดีของอินโดนีเซียครั้งนี้เป็นจุดที่สำคัญ เพราะจะเป็นการส่งทอดอำนาจจากผู้นำซึ่งมาจากการเลือกตั้งให้กับประธานาธิบดีคนต่อไป โดยประธานาธิบดี Susilo Bambang Yudhoyono คนปัจจุบันได้ดำรงตำแหน่งมาครบสองสมัยๆ ละ 5 ปีแล้วและไม่มีสิทธิได้รับเลือกตั้งต่อเป็นสมัยที่สาม

XS
SM
MD
LG