ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อินเดียหวังปฏิบัติการสำรวจขั้วใต้ดวงจันทร์จะส่งเสริมสถานะด้านอวกาศที่ใช้ต้นทุนต่ำ


Chandrayaan-2
Chandrayaan-2
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:05 0:00

เจ้าหน้าที่ด้านอวกาศของอินเดียคาดว่า ยานสำรวจขั้วใต้ของดวงจันทร์ซึ่งแยกตัวจากยานแม่ Chandrayaan 2 ได้สำเร็จเมื่อวันจันท์ จะร่อนลงสัมผัสพื้นผิวของดาวบริวารของโลกดวงนี้ได้ในวันเสาร์ เพื่อปล่อยหุ่นยนต์ขนาดเล็กน้ำหนัก 27 กิโลกรัมออกไปสำรวจและเก็บตัวอย่างต่างๆ ทั้งจากบริเวณผิวหน้าและใต้พื้นผิว โดยใช้เวลารวม 14 วัน เพื่อพิสูจน์ยืนยันเรื่องการมีแหล่งน้ำ

บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์นี้ไม่เคยมีประเทศใดพยายามสำรวจมาก่อน

รัฐบาลอินเดียหวังว่าปฏิบัติการสำรวจดวงจันทร์ที่ว่านี้ ถ้าเป็นผลสำเร็จตามเป้าหมายจะช่วยผลักดันอินเดียให้เป็นประเทศที่สี่ในกลุ่มประเทศระดับแนวหน้าเรื่องการสำรวจดวงจันทร์ เพราะก่อนหน้านี้มีเพียงสหรัฐ รัสเซีย กับจีน เท่านั้นที่เคยส่งยานไปสำรวจดวงจันทร์

หน่วยงานด้านอวกาศของอินเดียแถลงว่า อุปกรณ์ต่างๆ บนยานอวกาศ Chandrayaan 2 ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤตที่แปลว่ายานสู่ดวงจันทร์นี้ มีขีดความสามารถในการตรวจหาแหล่งน้ำที่ซ่อนอยู่ใต้พื้นผิวดวงจันทร์ได้หลายเมตร

และหากพบหลักฐานเรื่องนี้ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการส่งมนุษย์ขึ้นไปตั้งฐานอยู่บนดวงจันทร์ได้ โดยอินเดียมีแผนจะส่งมนุษย์ขึ้นไปยังดวงจันทร์ภายในปี 2065

โครงการสำรวจดวงจันทร์ดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีของอินเดียที่ใช้ต้นทุนต่ำ โดยโครงการสำรวจด้วยยาน Chandrayaan 2 นี้ใช้เงินลงทุนเพียงราว 140 ล้านดอลลาร์ ซึ่งก็เป็นค่าใช้จ่ายเพียงไม่ถึงหนึ่งในสามของงบประมาณสำรวจอวกาศของประเทศตะวันตก

XS
SM
MD
LG