ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ทีมวิจัยอังกฤษชี้ เชื้อไข้หวัดมีส่วนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันสู้กับโคโรนาไวรัสได้


common cold
common cold

งานวิจัยชิ้นใหม่จากมหาวิทยาลัย Imperial College London แห่งสหราชอาณาจักรระบุว่า การติดเชื้อจากไข้หวัดใหญ่มีส่วนช่วยป้องกันโคโรนาไวรัส

ข้อมูลที่สำคัญนี้อาจสามารถช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญคิดค้นและผลิตวัคซีนต้านโควิดสูตรใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มที่ครอบคลุมโควิดสายพันธุ์ต่างๆได้ดีขึ้นในอนาคต

ตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากต่างตั้งคำถามว่า ทำไมบางคนสามารถต้านทานเชื้อโคโรไวรัสไม่ให้สร้างความเจ็บป่วยต่อร่างกายได้ แม้จะมีการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อเป็นเวลานานก็ตาม นักวิจัยของ Imperial College จึงทำการค้นคว้าเชิงลึกเกี่ยวกับ T-cell หรือเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและคอยกำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อหวัดต่างๆ

ผู้ร่วมเขียนวิจัยชิ้นข้างต้นซึ่งเป็นหัวหน้าด้านระบาดวิทยาแห่ง Imperial College London อาจิด ลาลแวนี่ อธิบายเพิ่มเติมถึงทฤษฏีว่า “การระบาดทั่วไปของไข้หวัดที่มี common cold coronaviruses ซึ่งเป็นเชื้อหวัดที่มีสายพันธุ์เชื่อมโยงกับ SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโควิด-19 นั้นอาจทำให้ร่างกายสร้าง T-cell ที่สามารถจำเชื้อโควิดและโจมตีมันได้ เราจึงลองตรวจสอบเรื่องนี้ดู”

การค้นคว้าเริ่มต้นขึ้นในเดือนกันยายนปี 2020 ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดอย่างแพร่หลาย และถือเป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ติดโควิดอีกด้วย นักวิจัยได้ทำการตรวจเลือดของคนจำนวน 52 คนที่อาศัยอยู่ในสถานที่เดียวกันกับคนที่ติดโควิด ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าครึ่งหนึ่งติดโควิด ส่วนอีกครึ่งนั้นไม่ติด

People walk after disembarking from a train at Luz station amid the outbreak of the coronavirus disease (COVID-19) and after Omicron has become the dominant coronavirus variant in the country, in Sao Paulo, Brazil January 12, 2022.
People walk after disembarking from a train at Luz station amid the outbreak of the coronavirus disease (COVID-19) and after Omicron has become the dominant coronavirus variant in the country, in Sao Paulo, Brazil January 12, 2022.

อาจารย์ ลาลแวนี่ กล่าวว่า “คนที่มี T cells ที่เกิดจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ธรรมดาอยู่ก่อนหน้าแล้ว [ร่างกาย] จะสามารถจำและโจมตีเชื้อ SARS-CoV-2 ได้ จึงไม่ติดเชื้อโควิดนั่นเอง”

ขณะนี้ วัคซีนป้องกันโควิดสูตรปัจจุบันได้ถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเพื่อให้โจมตีโปรตีน

ที่อยู่ด้านนอกของเชื้อโคโรนาไวรัส ซึ่งปกติแล้ว โปรตีนนี้สามารถกลายพันธุ์และหลบระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้

รูปแบบการป้องกันข้างนั้นต่างจาก T cells อาจารย์ ลาแวนี่ กล่าวเสริมว่า “T cells จะโจมตีโปรตีนที่อยู่ในแกนกลางของโคโรนาไวรัส ซึ่งโปรตีนเหล่านี้กลายพันธุ์ได้ยาก ดังนั้น วิจัยชิ้นนี้จะสามารถเอื้อประโยชน์ให้การสร้างวัคซีนแบบ universal T cell-inducing ที่จะช่วยป้องกันผู้คนจากโควิดสายพันธุ์ปัจจุบันและสายพันธ์ใหม่ๆในอนาคต”

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาวัคซีนประเภทข้างต้นยังไม่สำเร็จ

และผู้เชี่ยวชาญจาก Imperial College ผู้นี้ ย้ำอย่างชัดเจนว่า ทุกคนว่าไม่ควรหันไปใช้วิธีติดไข้หวัดเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสู้กับโควิดได้ เพราะไข้หวัดมีเชื้อไวรัสตัวอื่นๆที่นอกเหนือจากเชื้อโควิดแบบทั่วไปผสมอยู่ด้วย

ดังนั้น วิธีที่ป้องกันที่ดีที่สุดในตอนนี้คือการรับวัคซีนให้ครบโดสและฉีดกระตุ้นภูมิหรือบูสเตอร์เพิ่มอีกหนึ่งเข็ม

XS
SM
MD
LG