ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยพบว่าผู้ติดเชื้อไวรัส HIV แต่ไม่เป็นโรคเอดส์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีโปรทีนในระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่เข้มแข็งกว่าคนอื่นๆ มาก


นักวิจัยพบว่าผู้ติดเชื้อไวรัส HIV แต่ไม่เป็นโรคเอดส์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีโปรทีนในระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่เข้มแข็งกว่าคนอื่นๆ มาก
นักวิจัยพบว่าผู้ติดเชื้อไวรัส HIV แต่ไม่เป็นโรคเอดส์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีโปรทีนในระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่เข้มแข็งกว่าคนอื่นๆ มาก

คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัส HIV เชื้อไวรัสนี้จะเข้าไปท่วมท้นอยู่ในระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ซึ่งวัดได้ว่ามากน้อยแค่ไหน โดยการนับชิ้นส่วนของไวรัสในเลือด นักวิจัยพบว่าคนไข้ส่วนใหญ่จะมีชิ้นส่วนเชื้อไวรัส HIV ตั้งแต่ 50 หรือ หนี่งแสน หรือ หนึ่งล้านชิ้นต่อเลือดหนึ่งมิลลิลิตร แต่ในกลุ่มคนที่เรียกว่า ‘Elite Controllers’ ซึ่งมีจำนวนไม่มาก ตรวจไม่พบเชื้อ HIV เลย

คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัส HIV เชื้อไวรัสนี้จะเข้าไปท่วมท้นอยู่ในระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ซึ่งวัดได้ว่ามากน้อยแค่ไหน โดยการนับชิ้นส่วนของไวรัสในเลือด นักวิจัย Mathias Lichterfeld ของโรงพยาบาล Massachusetts General ในนครบอสตัน บอกว่า คนไข้ส่วนใหญ่จะมีชิ้นส่วนเชื้อไวรัส HIV ตั้งแต่ 50 หรือ หนี่งแสน หรือ หนึ่งล้านชิ้นต่อเลือดหนึ่งมิลลิลิตร แต่ในกลุ่มคนที่เรียกว่า ‘Elite Controllers’ ซึ่งมีจำนวนไม่มาก ตรวจไม่พบเชื้อ HIV เลย

ในการวิจัยเกี่ยวกับคนกลุ่มนี้ นักวิจัยมุ่งเน้นการศึกษาไปที่โปรตีนที่เรียกว่า p21 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแซลล์ CD4 ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ตามปกติ แซลล์ CD4 เป็นเป้าโจมตีของเชื้อไวรัส HIV แต่ในกลุ่ม Elite Controllers แซลล์ CD4 ต่อสู้รับมือกับเชื้อ HIV ที่รุกรานเข้าไปในระบบภูมิคุ้มกันร่างกายได้สำเร็จ

นักวิจัย Mathias Lichterfeld บอกว่า เขาและทีมงานพบว่า โปรตีนตัวนี้เข้มแข็งมากในคนกลุ่มนี้ ระหว่าง 10-20 เท่าตัวเมื่อเปรียบเทียบกับคนไข้ที่ติดเชื้อ HIV และแม้กระทั่งกับคนที่ไม่ติดเชื้อ

แต่นักวิจัยผู้นี้เชื่อว่า โปรตีน p21 นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการ เขาคิดว่า มีปัจจัยอื่นๆเกี่ยวข้อง ที่น่าจะเกี่ยวโยงกับกระบวนการต่างๆของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ซึ่งถ้าทำความเข้าใจกับกระบวนการเหล่านี้ได้ ก็จะช่วยชี้ทางใหม่ๆให้กับนักวิจัย นอกเหนือไปจากการใช้ยาต้านเอดส์ในการช่วยไม่ให้ผู้ติดเชื้อไวรัสต้องล้มป่วยลงอย่างทุกวันนี้

งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ไว้แล้วในวารสาร Journal of Clinical Investigation

XS
SM
MD
LG