ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ที่มาของการเรียกชื่อประเทศ “Burma” และ “Myanmar” บนเวทีโลก


People hold the Myanmar national flag and placards as they attend a public gathering to listen to the live speech of Myanmar's State Counselor Aung San Suu Kyi in front of City Hall in Yangon on September 19, 2017.
People hold the Myanmar national flag and placards as they attend a public gathering to listen to the live speech of Myanmar's State Counselor Aung San Suu Kyi in front of City Hall in Yangon on September 19, 2017.

เป็นที่ทราบกันว่าเมียนมาคือประเทศพม่าที่คนไทยเรียกขานกัน สองชื่อนี้ที่เป็นภาษาอังกฤษ คือ Burma และ Myanmar ถูกเลือกใช้เเตกต่างกันในประเทศต่างๆ และในเมียนมาเอง

สหประชาชาติและ หลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย ใช้คำเรียกประเทศเพื่อนบ้านของไทยนี้ว่า Myanmar

แต่สหรัฐฯ มีนโยบายให้ใช้คำเรียกเมียนมาว่า Burma แต่หากต้องเป็นงานที่ต้องเเสดงมารยาททางการทูตในกรณีพิเศษสหรัฐฯจะใช้คำว่า Myanmar แทน ตามคำอธิบายของโฆษกทำเนียบขาว เจน ซากี เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ทั้งนี้คำเรียกทั้งสองชื่อมีที่มาทางประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์

เมื่อปี ค.ศ.1989 หลังจากที่รัฐบาลทหารพม่าปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยและสังหารคนหลายพันคน กองทัพผู้ปกครองประเทศเปลี่ยนชื่อพม่าจาก Burma เป็น Myanmar

ผู้นำทหารยังเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงจาก Rangoon เป็น Yangon

กองทัพให้เหตุผลว่า ชื่อเดิม Burma เป็นการสะท้อนถึงกลุ่มชาติพันธุ์ชาว Burman ของประเทศแต่มองข้ามความสำคัญของชนกลุ่มน้อยอื่นในประเทศที่มีอยู่ 134 กลุ่ม

นอกจากนี้ชื่อ Burma ยังเป็นคำเรียกเมื่อครั้งที่ประเทศอยู่ใต้อำนาจจักรวรรดินิยมอังกฤษ

(FILES) In this file photo taken on December 11, 2019 Myanmar's State Counsellor Aung San Suu Kyi (C) stands before the UN's International Court of Justice next to Abubacarr Tambadou (2L), minister of justice of the Gambia, in the Peace Palace of…
(FILES) In this file photo taken on December 11, 2019 Myanmar's State Counsellor Aung San Suu Kyi (C) stands before the UN's International Court of Justice next to Abubacarr Tambadou (2L), minister of justice of the Gambia, in the Peace Palace of…

ในส่วนของคนในประเทศเอง นางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาเเห่งรัฐและนักเคลื่อนไหวเพื่อเเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งถูกทหารจับกุมตัวอยู่ในขณะนี้ เคยกล่าวว่าเธอเลือกที่จะใช้ชื่อ Burma มากกว่า

ออง ซาน ซูจีกล่าวที่การประชุมนานาชาติที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อ 8 ปีก่อนว่า Myanmar เป็นคำเรียกที่ไม่ได้สะท้อนเสียงของประชาชน

คนในประเทศที่เห็นเช่นเดียวกัยเธอมองว่า ชื่อ Myanmar เป็นคำเรียกที่ประชาชนมิได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

อย่างไรก็ตาม 5 ปีก่อนหลังจากที่นางซูจี ได้รับเเต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเเห่งรัฐ​เธอเรียกชื่อประเทศของเธอทั้งสองแบบคือ Burma และ Myanmar

XS
SM
MD
LG