ลิ้งค์เชื่อมต่อ

งานวิจัยชี้ คลื่นความร้อนที่ 'ผิดปกติ' กำลังจะกลายเป็นเรื่อง 'ปกติ'


Men cool off from the heatwave, as they shower at a water fountain along a road in Karachi, Pakistan May 25, 2018. REUTERS/Akhtar Soomro - RC179B4532E0
Men cool off from the heatwave, as they shower at a water fountain along a road in Karachi, Pakistan May 25, 2018. REUTERS/Akhtar Soomro - RC179B4532E0

หลายพื้นที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับอากาศร้อนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ เช่น อุณหภูมิที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 40 องศาเซลเซียสในที่ที่เคยมีอุณหภูมิสูงสุดเพียง 35 องศาเซลเซียส รวมถึงไฟป่าครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา

แต่นักวิจัยหลายประเทศ พบว่า สภาพอากาศที่แปรปรวนผิดปกตินี้ จะกลายเป็นเรื่องปกติในไม่ช้า

ปัจจุบันหลายเมืองในเอเชียและยุโรปมีอุณหภูมิสูงที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ และการศึกษาครั้งใหม่เตือนว่า ภัยธรรมชาติอื่นๆ ที่เกิดจากภาวะโลกร้อนจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

คณะนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า ไฟป่าที่ลุกไหม้มานานกว่าหนึ่งสัปดาห์ จนกลายเป็นไฟป่าครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐนี้ เกิดจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งทำให้เกิดไฟป่าที่รุนแรงขนาดนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่เตือนให้ประชาชนเตรียมตัวให้พร้อมมากยิ่งขึ้น

ส่วนที่ยุโรป กำลังไฟป่าในหลายประเทศเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ที่กรีซ ซึ่งเกิดไฟป่ารุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 90 รายเมื่อเดือนที่แล้ว และแม้แต่ในป่าของประเทศที่อยู่ทางเหนือของยุโรป อย่างเช่น สวีเดน และลัตเวีย ต่างก็ถูกไฟป่าคุกคามด้วยเช่นเดียวกัน

ความร้อนที่สูงมาก มีผลต่อการทำเกษตรกรรม เกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวพืชผลเร็วกว่าปกติ และภัยแล้งที่เกิดมายาวนานทำให้คุณภาพและปริมาณของผักและผลไม้ลดลง

ที่สวิสเซอร์แลนด์ รัฐบาลต้องส่งน้ำฉุกเฉินให้แก่สัตว์ตามฟาร์มต่างๆ เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ขณะที่ความร้อนทำให้ปลาในแม่น้ำไรน์ตายลงจำนวนมาก

การศึกษาครั้งใหม่ ระบุว่า ข้อตกลงเรื่องการลดภาวะโลกร้อนที่มีขึ้นในการประชุมเรื่องสภาพภูมิอากาศที่กรุงปารีส เมื่อปี ค.ศ. 2015 อาจไม่สามารถยับยั้งอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่ากลัวนี้ได้ แม้หลายๆ ประเทศเห็นพ้องที่จะพยายามควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส จากช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

การศึกษาครั้งล่าสุด จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน และอีกหลายสถาบัน ชี้ว่า แม้ว่าบรรดาประเทศผู้ลงนามจะปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัด แต่กระบวนการตามธรรมชาติต่างๆ เช่น การที่น้ำแข็งขั้วโลกละลาย หรือการที่พื้นทะเลปล่อยก๊าซมีเทนออกสู่อากาศ ก็อาจทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นได้ 4-5 องศาเซลเซียสในอนาคต ซึ่งนั่นก็จะทำให้บางพื้นที่ไม่สามารถอยู่อาศัยได้

XS
SM
MD
LG