ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เด็กชายคิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบุที่ตั้งของตับอ่อนขณะทำรังสีบำบัด


เด็กชายคิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบุที่ตั้งของตับอ่อนขณะทำรังสีบำบัด

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:26 0:00

รีชีป เจน จากพอร์ทเเลนด์ รัฐโอเรกอน คว้ารางวัลชนะเลิศนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ Discovery Education 3M Young Scientist Challenge ของสหรัฐฯ ประจำปี 2018 นี้

เขาคิดค้นโปรแกรมวิเคราะห์ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial Intelligence เพื่อปรับปรุงการบำบัดมะเร็งตับอ่อน

เจน อายุ 13 ปี กล่าวว่าในระหว่างการบำบัดผู้ป่วยด้วยการฉายรังสี โปรแกรมวิเคราะห์ที่เขาคิดค้นขึ้นสามารถตรวจหาตับอ่อนได้เร็วขึ้นเเละแม่นยำขึ้น

เจนบอกว่าการค้นหาที่ตั้งของตับอ่อนด้วยสายตามนุษย์ทำได้ยากมากกว่า แม้เเต่นักรังสีวิทยาที่ได้รับการฝึกฝนอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงกว่าจะค้นหาที่ตั้งของตับอ่อนได้สำเร็จเพราะตับอ่อนมีขนาดเล็กเเละถูกกำบังด้วยอวัยวะหลายอย่าง รวมทั้งกระเพาะอาหารและยังอยู่ใกล้กับกระดูกสันหลังอีกด้วย ซึ่งทำให้การผ่าตัดและการบำบัดยากมากขึ้น

เจนบอกว่าได้ตั้งโปรแกรมวิเคราะห์ระบบ AI ให้ใช้ได้กับเครื่องแสกน CT และ MRI ที่ใช้ตรวจบริเวณช่องท้องเพื่อให้โปรแกรมให้ระบบวิเคราะห์เข้าใจว่าตับอ่อนมีลักษณะอย่างไรและตั้งอยู่ในจุดใดของช่องท้อง

เจน อธิบายให้ผู้สื่อข่าววีโอเอว่า โปรแกรม Pancreatic Cancer Deep Learning System ที่เขาคิดค้นขึ้นกำลังทำงานร่วมกันเครื่องตรวจ CT สแกนที่กำลังตรวจภายในช่องท้องของคนไข้และขณะที่คนไข้หายใจเข้าออก ตับอ่อนก็จะเคลื่อนตัวตามไปด้วย

เจนบอกว่า ระหว่างการฉายรังสีบำบัดมะเร็งตับอ่อนที่ใช้เครื่องสแกน MRI เป็นตัวชี้นำ แพทย์สามารถใช้โปรแกรมวิเคราะห์ที่เขาคิดค้นขึ้นควบคู่ไปด้วยเพื่อช่วยระบุจุดที่ตั้งของตับอ่อนได้อย่างแม่นยำ เพื่อช่วยให้ฉายรังสีไปยังตับอ่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความผิดพลาดที่รังสีจะฉายไปโดนอวัยวะอื่นๆ หรือเซลล์ที่เเข็งเเรงลงได้

มะเร็งตับอ่อนเป็นมะเร็งที่ไม่พบบ่อยนัก แต่มักทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต มะเร็งชนิดโตช้าเเละเนื่องจากจุดที่ตั้งของตับอ่อนค่อนข้างลึกลับซับซ้อน จึงมักตรวจไปไม่พบก้อนมะเร็งในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจะไม่ปรากฏอาการจนกระทั่งมะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ เเล้ว

รีชีป เจน วางเเผนว่าจะใช้เงินรางวัล 25,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่เขาได้รับ พัฒนาอุปกรณ์ที่เขาคิดค้นขึ้นซึ่งยังเป็นต้นแบบอยู่ในขณะนี้ให้อุปกรณ์ตัวจริงที่นำไปใช้งานได้และเขาหวังว่าต่อไปในอนาคตจะสามารถร่วมมือกับโรงพยาบาลหรือบริษัทเอกชนเพื่อผลิตอุปกรณ์นี้ออกมาวางตลาด

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG