ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยกำลังนำวิธีการรักษามะเร็งด้วยความร้อน ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณกลับมาใช้ใหม่โดยมีนาโนเทคโนโลยีช่วย


นักวิจัยกำลังนำวิธีการรักษามะเร็งด้วยความร้อน ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณกลับมาใช้ใหม่โดยมีนาโนเทคโนโลยีช่วย
นักวิจัยกำลังนำวิธีการรักษามะเร็งด้วยความร้อน ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณกลับมาใช้ใหม่โดยมีนาโนเทคโนโลยีช่วย

นักวิทยาศาสตร์กำลังนำวิธีบำบัดรักษามะเร็งซึ่งใชกันมาตั้งแต่สมัยโบราณกลับมาใช้อีก วิธีการนั้นคือการบำบัดด้วยความร้อนแต่จะอาศัยนาโนเทคโลโลยีช่วยด้วย

ตามปกติ การรักษามะเร็งจะใช้ยาแรงๆหรือการฉายรังสี แต่วิธี hyperthermia หรีอเทคนิคที่ทำให้เนื้องอกร้อนขึ้นโดยการทำให้ความร้อนในร่างกายสูงผิดปรกติสามารถนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการรักษามะเร็งได้

นักวิจัย เจฟฟรีย์ โรเสน แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเบย์เลอร์ รัฐเท็กซัส ผู้เพิ่งนำผลงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องวัศดุใหม่บางชนิดที่อยู่ในวิสัยที่สามารถจะเกื้อกูลให้นำวิธีการทำให้ความร้อนในร่างกายสูงผิดปรกติมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งลงพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฉบับหนึ่งไปแล้วนั้นกล่าวว่า เขาเชื่อว่า การทำให้ความร้อนในร่างกายสูงผิดปรกตินี้เป็นเทคโนโลยีเก่าแก่ที่มีการจารึกลงเอกสารมาตั้งแต่สมัยที่อีจิปต์รุ่งเรือง เป็นวิธีการรักษามะเร็งเต้านมวิธีแรกเท่าที่ทราบ เขาคิดว่า ถ้าเราทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น ความร้อนจะทำให้เกิดอาการช็อกในเซลล์ และว่าเรื่องนั้นเสี่ยงต่อการที่เซลล์ถูกทำลายเสียหายจากวิธีเคมีบำบัดและการฉายรังสีมากขึ้น

การใช้ความร้อนบำบัดรักษามะเร็ง ทำให้เกิดปัญหาอย่างหนึ่ง คือความร้อนสามารถทำลายเนื่อเยื่อที่แข็งแรงที่อยู่รอบๆได้ นักวิจัยเจฟฟรีย์ โรเสน กล่าวว่า เราสามารถฉีดอนุภาคนาโน อย่างเช่นอนุภาคทองคำซึ่งมีขนาดเล็กจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นเข้าไปในร่างกาย เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าความร้อนจะแผ่เข้าไปถูกที่ที่ต้องการ และว่า แสงเลเซอร์อินฟราเร็ดสามารถทำให้อนุภาคทองคำร้อนขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว เขากล่าวว่า อนุภาคนาโนอย่างเช่นอนุภาคนาโนทองคำสามารถสะสมอยู่ในหลอดเลือดที่รั่วของเนื้องอกด้วยและเราสามารถใช้แสงเลเซอร์ทำให้บริเวณตรงนั้นร้อนขึ้นและไม่กระทบกระเทือนเนื้อเยื่อที่แข็งแรงเป็นปกติ

ในการวิจัยดังกล่าว มีการทำให้เนื้องอกร้อนขึ้นถึง 42 องศา เป็นเวลา 20 นาที เป้าหมายที่แท้จริงก็คือเซลล์พื้นฐานของมะเร็งเต้านม ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะดื้อยาและต้านทานการรักษาด้วยการฉายรังสี นักวิจัยเจฟฟรีย์ โรเสนกล่าวว่า การทดลองกับหนูในห้องแล็บชวนให้คิดว่า การรักษาด้วยความร้อนเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยเสริมการฉายรังสีหรือวิธีเคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยเป็นมะเร็งหลายชนิดรวมทั้งมะเร็งเต้านม แต่เขาเตือนว่า ไม่ควรคิดว่า การบำบัดด้วยความร้อนคือวิธีการที่ล้ำเลิศมห้ศจรรย์ในการต่อสู้กับมะเร็งเพราะเราจะต้องมุ่งเป้าไปที่เซลล์ที่ถูกต้องและต้องใช้ให้ถูกที่

งานวิจัยของนักวิจัยเจฟฟรีย์ โรเสนแห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเบเล่อร์นี้ลงพิมพ์อยูในวารสาร “Science Translational Medicine “

XS
SM
MD
LG