ลิ้งค์เชื่อมต่อ

กลุ่มรากหญ้าในลอนดอนใช้เทคฯ ต่อต้านเบรคซิต


James Tabor (R) and other Tech For U.K. volunteers discuss ideas for anti-Brexit digital products in London, March 14, 2019.
James Tabor (R) and other Tech For U.K. volunteers discuss ideas for anti-Brexit digital products in London, March 14, 2019.

กลุ่มนักเขียนซอฟแวร์อาสาสร้างเวปไซท์รณรงค์หยุดยั้งเบรคซิต

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:12 0:00

กลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้ทำงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของกรุงลอนดอน โดยอาสาเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มรณรงค์ระดับรากหญ้าที่ต้องการพัฒนาเวปไซท์หลายๆ เวปไซท์เพื่อหยุดยั้งเบรคซิต (Brexit) หรือการแยกตัวของอังกฤษจากอียู ซึ่งขณะนี้แผนแยกตัวนี้กำลังเจอกับความสับสนวุ่นวาย

ทีมอาสาสมัครเหล่านี้หวังว่าจะสามารถสร้างเเรงกดดันแก่นักการเมืองเพื่อให้โอกาสประชาชนอีกครั้งในการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับการเเยกตัว

ขณะที่กลุ่มอาสาสมัคร เทคฟอร์ยูเค (Tech For U.K.) ยังมีขนาดเล็ก เเต่การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของพวกเขาเเสดงถึงความกังวลของภาคธุรกิจเเละเจ้าของกิจการส่วนตัวที่จะได้รบผลกระทบจากภาษีนำเข้าสินค้าเเละการข้ามชายแดน

แอนเดรียส ซีเสอร์ นักลงทุนในบริษัท ที่เกิดในเยอรมนีเเต่อาศัยในกรุงลอนดอนมานานบอกว่าเขาไม่เคยสนใจการเมืองมาก่อน เเต่เข้าร่วมกลุ่มอาสาสมัคร เทคฟอร์ยูเค เพราะรู้สึกว่าเบรคซิต ทำให้อังกฤษไม่ต้อนร้บชาวต่างชาติเเละเผยให้เห็นความเสเเสร้งไม่จริงใจของบรรดาผู้นำทางการเมือง

เขาเป็นเจ้าของบริษัทออโต้เมท เวนเจอร์ส (Automat Ventures) ที่ลงทุนในบริษัทต่างๆ ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ เขามีบทบาทเป็นผู้เชื่อมโยงระหว่างกลุ่มเทคฟอร์ยูเค กับบรรดานักคอมพิวเตอร์

ตั้งเเต่เริ่มดำเนินการเมื่อปีที่แล้ว กลุ่มเทคฟอร์ยูเค ได้เปิดตัวเวปไซท์ที่ใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือเเล้วสิบกว่าเวปไซท์เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ส่งข้อความต่อต้านเบรคซิต ในรูปของโปสการ์ดหรือข้อความเสียงแก่นักการเมืองตัวเเทนของตนหรือส่งข้อความที่เน้นผลประโยชน์ของสภาพยุโรปต่ออังกฤษ

อาสาสมัครเหล่านี้เสียสละเวลาส่วนตัวเเละทางกลุ่มได้รับเงินสนับสนุนจำนวนจำกัดจากกลุ่มรณรงค์ต่อต้านเบรคซิตที่เรียกว่เบสฟอร์บรเตน (Best For Britain)

อังกฤษมีกำหนดแยกตัวจากอียูเมื่อวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม เเต่ต้องเลื่อนออกไปหลังจากรัฐสภาอังกฤษไม่เห็นชอบกับแผนแยกตัวของนายกรัฐมนตรี เทเรซา เมย์

เป้าหมายหนึ่งของกลุ่มเทคฟอร์ยูเค คือการระดมเเรงหนุนการทำประชามติต่อเบรคซิตครั้งที่สอง เเม้จะไม่ได้รับเสียงข้างมากจากรัฐสภา แต่การเดินขบวนในกรุงลอนดอนเมื่อเร็วๆ นี้เพื่อเรียกร้องเรื่องนี้เเสดงว่าเเรงหนุนเรื่องนี้กำลังเพิ่มขึ้น

ในขณะที่ผลลัพท์แก่เบรคซิตยังไม่รู้จะออกมารูปไหน กลุ่มเทคฟอร์ยูเคมีเป้าหมายที่จะชักจูงใจคนที่เห็นด้วยถึงผลประโยชน์ต่างๆ ของการเป็นสมาชิกสภาพยุโรปต่ออังกฤษเเละให้โอกาสคนที่ต่อต้านการแยกตัวในการเเสดงความคิดเห็นของตนเอง

กิยานา คาเทบี (Kiyana Katebi) ผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาทางไอทีแห่งหนึ่งกล่าวว่างานรณรงค์นี้มุ่งชักจูงให้คนเปลี่ยนใจ หน้าเวปไซท์เเรกของทางกลุ่มคือ MyEU.uk ให้ข้อมูลแก่คนทั่วไปเกี่ยวกับโครงการที่อียูสนับสนุนทางการเงินในชุมชนท้องถิ่นของพวกเขาตามรหัสไปรษณีย์ หน้าเวปไซท์นี้มีคนเข้าไปอ่านถึงราว 100,000 คนในช่วงสองวันเเรกหลังเปิดตัวเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว

และอีกเวปไซท์หนึ่งของกลุ่มคือ Finalsay.app ให้โอกาสผู้ใช้ส่งข้อความเสียงไปถึงตัวแทนในรัฐสภาของตน เพื่อเเสดงความคิดเห็นสุดท้ายว่าทำไมถึงไม่เห็นด้วยกับเบรคซิต ส่วนเวปไซ์ Hey MP! ผู้ใช้สามารถส่งโปสการ์ดโดยอัตโนมัติไปยังสมาชิกรัฐสภาในเขตของตนเพื่อเรียกร้องให้มีการลงประชามติอีกครั้ง

ไมค์ บุชเชอร์ (Mike Butcher) ผู้ร่วมก่อตั้งเทคฟอร์ยูเค กล่าวว่ามีคนเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครเเล้วราว 200-300 คน พวกเขาทำงานเพื่อทำโปรเจรต่างๆ ในตอนเย็นกับช่วงสุดสัปดาห์เเละยังร่วมมือกันทางไกลด้วย

มีผู้บริหารบริษัทเทคฯมากกว่า 1,100 คนในอังกฤษที่ลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกของกลุ่มเทคฟอร์ยูเค เมื่อปีที่แล้วถึงนายกรัฐมนตรี May โดยเตือนว่าเบรคซิต สี่ยงที่จะทำให้การจ้างคนระดับหัวกะทิทางเทคโนโลยียากมากขึ้นเเละจะชงักเงินทุนจากยุโรป

ในขณะที่กลุ่มเทคฟอร์ยูเค ยังเล็กอยู่ เเค่ก็เริ่มมีบทบาทต่อความรู้สึกของคนอังกฤษบ้างแล้ว แม้ว่าจะไม่มีตัวเลขมายืนยัน ไมค์ บุชเชอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเทคฟอร์ยูเคว่าเป้าหมายหลักคือการถามคนใจอังกฤษว่าพวกเขาต้องการให้เบรคซิตเกิดขึ้นจริงๆ หรือไม่เเละให้ข้อมูลว่าเบรคซิตจะส่งผลกระทบต่อพวกเขาอย่างไร

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG