ลิ้งค์เชื่อมต่อ

หญ้าชนิดหนึ่งที่ใช้เลี้ยงสัตว์ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก


หญ้าชนิดหนึ่งที่ใช้เลี้ยงสัตว์ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก
หญ้าชนิดหนึ่งที่ใช้เลี้ยงสัตว์ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก

การศึกษาที่สถาบันวิจัยการเกษตรระหว่างประเทศในโคลอมเบียเมื่อไม่นานมานี้ แสดงว่า หญ้าบรัคเคียเรีย (Brachiaria) ที่ใช้เลี้ยงสัตว์อาจช่วยลดก๊าซเรือนกระจกที่มาจากปศุสัตว์และการทำเกษตรกรรม และลดการใช้ปุ๋ยลงได้ หญ้าบรัคเคียเรียเป็นหญ้าที่ขึ้นในเขตร้อน ใช้เลี้ยงปศุสัตว์ นักวิทยาศาสตร์ในโคลอมเบียกับเพื่อนร่วมงานจากญี่ปุ่น พบว่า นอกจากจะย่อยง่ายแล้ว ยังมีสารอาหารสูงสำหรับปศุสัตว์ แล้วยังช่วยเพิ่มคุณภาพดิน ซึ่งทำให้ลดการใช้ปุ๋ยที่ต้องซื้อหามาใส่น้อยลง ขณะเดียวกันก็ช่วยลดการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจากปศุสัตว์ด้วย นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาเพื่อถอดระหัสพันธุกรรมของหญ้า Brachiaria เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวโพด ข้าวสาลี และข้าวจ้าว นอกจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่าระหัสพันธุกรรมของหญ้า Brachiaria จะเป็นประโยชน์ในการผสมพันธุ์พืชให้ได้พันธุ์ที่ต้านทานโรค ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ นักวิทยาศาสตร์ในโคลอมเบียยังหวังที่จะแพร่การใช้หญ้า Brachiaria ไปยังเขตร้อนอื่นๆ ในแอฟริกา และเอเชียด้วย

ปศุสัตว์และการทำเกษตรกรรม ถูกกล่าวโทษว่าเป็นแหล่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกแหล่งใหญ่ แต่ปศุสัตว์ที่เลี้ยงด้วยหญ้าพันธุ์หนึ่งที่เรียกว่า บรัคเคียเรีย (Brachiaria) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษากันอยู่ อาจช่วยลดการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่เห็นกันว่าเป็นสาเหตุของสภาพโลกร้อนลงได้อย่างมาก

Raimundo Cruz ผู้ทำงานอุตสาหกรรมเลี้ยงปศุสัตว์ที่เมืองคาลี (Calli) เมืองใหญ่อันดับสามของโคลอมเบีย แนะนำให้ใช้หญ้าบรัคเคียเรียเลี้ยงปศุสัตว์ เขาบอกว่า หญ้าชนิดนี้มีโปรตีนสูง ย่อยงาย ทำให้วัวตัวโต และมีน้ำหนักตัวเพิ่มง่าย และก่อให้เกิดก๊าซเม็ธเธนน้อย แล้วยังทำให้ไม่ต้องใช้ปุ๋ยมากด้วย

Raimundo Cruz บอกว่า คุณภาพดินที่นั่นไม่ค่อยดี ปลูกหญ้าเลี้ยงปศุสัตว์ไม่ได้มาก แต่ด้วยการปลูกหญ้าบรัคเคียเรียสลับกันกับสัปปะรดทุกๆ 6 – 8 ปี ทำให้ผืนดินนั้นมีปุ๋ยหรืออาหารพืชเพิ่มขึ้นมา สามารถปลูกหญ้าเลี้ยงปศุสัตว์ได้งอกงามดี

หญ้าบรัคเคียเรียเป็นหญ้าที่ขึ้นในเขตร้อน ใช้เลี้ยงปศุสัตว์ นักวิทยาศาสตร์ในโคลอมเบียกับเพื่อนร่วมงานจากญี่ปุ่น พบว่า นอกจากจะย่อยง่ายแล้ว หญ้าบรัคเคียเรียยังมีสารอาหารสูงสำหรับปศุสัตว์ด้วย แล้วยังช่วยเพิ่มคุณภาพดิน ซึ่งทำให้ลดการใช้ปุ๋ยที่ต้องซื้อหามาใส่น้อยลง ขณะเดียวกันก็ช่วยลดการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจากปศุสัตว์ด้วย

Idupulapati Rao ผู้เชี่ยวชาญด้านสารอาหารของพืชที่ศูนย์เกษตรกรรมเขตร้อน ที่เมืองคาลี โคลอมเบีย กล่าวว่า หญ้าชนิดนี้มีระบบรากที่ปล่อยสารประกอบที่เรียกว่า บรัคเคียแลคโทน (Brachialactone) ออกมา สารนี้ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงของไนโตรเจนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาหารพืชให้เป็นปุ๋ย

นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาเพื่อถอดระหัสพันธุกรรมของหญ้า Brachiaria หากทราบว่า gene หรือเชื้อพันธุ์ตัวไหนของหญ้านี้เกี่ยวข้องกับการผลิตสารประกอบ Brachialactone แล้ว ก็จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าวโพด ข้าวสาลี และข้าวจ้าวได้ นอกจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่า ระหัสพันธุกรรมของหญ้า Brachiaria จะเป็นประโยชน์อย่างอื่นด้วย เช่น ใช้ในการผสมพันธุ์พืชให้ได้พันธุ์ที่ต้านทานโรค ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ น้ำท่วม แห้งแล้ง หรือดินที่มีสภาพกรดมาก เป็นต้น

นอกจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ในโคลอมเบียยังหวังที่จะแพร่การใช้หญ้า Brachiaria ไปยังเขตร้อนอื่นๆ ในแอฟริกา และเอเชียด้วย

XS
SM
MD
LG