ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การมีอายุขัยยาวนานของคนเราปัจจุบันเริ่มต้นจากวิวัฒนาการของการเป็นคุณย่าคุณยายของมนุษย์วานรในอดีต


ศาสตราจารย์เคริ์สเต็น ฮอร์คส ผู้เชี่ยวชาญด้านมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยยูท่ากล่าวว่ามนุษย์เรามีความเป็นเอกลักษ์เฉพาะตัวเมื่อเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลลิงชนิดอื่นๆตรงที่ความมีอายุขัยที่ยาวนานกว่า

ศาสตราจารย์ฮอร์คส กล่าวว่า หากเปรียบเทียบอายุขัยของคนกับมนุษย์วานรแล้วจะเห็นว่าคนเรามีอายุขัยยาวนานกว่ามาก คนเราเข้าสู่วัยผู้ใหญ้ช้ากว่าและมีห้วงเวลาของวัยผู้ใหญ่ที่ยาวนานกว่า มนุษย์ผู้หญิงยังมีสุขภาพแข็งแรง สามารถทำงานได้ตามปกติแม้ว่าจะผ่านปีแห่งการมีบุตร ในขณะที่สัตว์ตระกูลลิงหรือไพรเมตชนิดอื่นๆไม่โชคดีเท่ากับคนเรา

ศาสตราจารย์ฮอร์คส กล่าวว่า ลิงวานรเพศหญิง หากมีชีวิตอยู่รอดจนถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ มักจะเสียชีวิตในช่วงวัยของการมีลูก จะแก่ตัวอย่างรวดเร็วมาก อ่ิอนแอ ไม่สามารถทำอะไรได้มากเพราะแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลกในสมัยโบราณน่าจะกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร ป่าไม้พุ่มและทุ่งหญ้าซาวันนาห์จึงเกิดขึ้นทดแทนป่าไม้ในทวีปอาฟริกา เมื่อสภาพป่าเปลี่ยนแปลงไป อาหารที่ลูกมนุษย์วานรหากินได้เองเริ่มลดจำนวนลงไป ตัวแม่มีทางเลือกสองทาง คือ อพยพเข้าไปอยู่ในป่าที่พื้นที่ลดลงเรื่อยๆ หรือ จะยังอาศัยในแหล่งที่อยู่เดิมที่ป่าเริ่มกลายสภาพเป็นป่าพุ่มและหาอาหารป้อนลูกเองเพราะลูกยังหากินเองไม่ได้ในสภาพป่าพุ่ม นี่ทำให้มนุษย์วานรในวัยคุณยายเข้ามามีบทบาทในการช่วยดูแลหลาน ป้อนอาหารให้หลานๆ ทำให้ลูกสาวสามารถออกไปหากินได้และช่วยให้หลานๆหย่านมเร็วขึ้น นักมานุษยวิทยาอเมริกันชี้ว่าบทบาทการดูแลหลานของมนุษย์วานรสร้างวิวัฒนาการหลายๆอย่างตามมา

ศาสตราจารย์ฮอร์ค นักมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลับยูท่ากล่าวอีกว่า การเปลี่ยนแปลงหลาย อย่างที่ว่ารวมทั้งการเริ่มมีอายุขัยที่ยาวนานขึ้น การแก่ตัวที่เกิดขึ้นช้าลงกว่าเดิม คนเราใช้เวลาพัฒนาวุฒิภาวะทางร่างกายนานกว่าสัตว์ตระกูลลิงอื่นๆ เด็กๆต้องพึ่งพาพ่อแม่นานกว่าแต่หย่านมเร็วกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการเข้ามามีบทบาทในการเลี้ยงดูหลานอาจไปช่วยกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของยีนด้วย ทำให้มนุษย์วานรสูงอายุมีชีวิตยืนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้ค่อยๆส่งต่อกันมาเป็นรุ่นๆ จากการคำนวนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ นักวิจัยพบว่าลิงชิมแปนซีที่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่เมื่ออายุ 13 ปี จะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีก 15 ถึง 16 ปี แต่มนุษย์เราในประเทศพัฒนาแล้วที่ย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 19 ปี จะมีชีวิตอยู่ต่ออีก 60 ปีหรือนานกว่านั้น การเริ่มมีอายุขัยที่ยาวนานขึ้นของมนุษย์ใช้เวลานานระหว่าง 24,000 - 60,000 ปี ในทางวิทยาศาสตร์แล้วถือว่าเร็วมาก

ศาสตราจารย์ฮอร์คสกล่าวว่าบทบาทและหน้าที่ของคุณยายทำให้คนเราพึ่งพากันมากขึ้นทางสังคมและยังช่วยสร้างความผูกพันกันให้แนบแน่นมากขึ้นด้วย
XS
SM
MD
LG