ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นายกฯ เยอรมนี เยือนปักกิ่ง-หวังเชื่อมสัมพันธ์และโน้มน้าวความร่วมมือจีน


FILE -- German Chancellor Olaf Scholz attends his first annual summer news conference in Berlin, Germany, Aug. 11, 2022.
FILE -- German Chancellor Olaf Scholz attends his first annual summer news conference in Berlin, Germany, Aug. 11, 2022.

นายกรัฐมนตรีโอลาฟ โชลซ์ แห่งเยอรมนี มีกำหนดเดินทางเยือนจีนเป็นครั้งแรกในสัปดาห์นี้ ในช่วงที่รัฐบาลกรุงเบอร์ลินและสหภาพยุโรปกำลังเร่งวางยุทธศาสตร์รับมือกับกรุงปักกิ่งอยู่

รายงานข่าวระบุว่า สิ่งที่นายกฯ โชลซ์ ตั้งใจจะทำในช่วงเยือนจีนนั้นจะถูกจับตาตรวจสอบอย่างใกล้ชิด เพราะผู้นำเยอรมนีคนปัจจุบันนั้นมีทิศทางการทำงานที่แตกต่างจากอดีตนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ที่ให้ความสำคัญเรื่องการค้ามากกว่า แต่ในครั้งนี้ กลับจะนำทีมผู้แทนภาคธุรกิจไปด้วย แม้หลังเพิ่งมีประเด็นร้อนเกี่ยวกับการที่บริษัทขนส่งสินค้าแห่งหนึ่งของจีนมีแผนจะลงทุนในการสร้างอาคารคลังสินค้าในเยอรมนี

ในการเยือนกรุงปักกิ่งครั้งแรกในฐานผู้นำประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป นายกฯ โชลซ์ มีกำหนดจะเข้าพบประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่เพิ่งได้รับการรับรองให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนและผู้นำประเทศต่อเป็นสมัยที่ 3 เมื่อเร็ว ๆ นี้

COMBO-GERMANY-CHINA-POLITICS-DIPLOMACY-ECONOMY
COMBO-GERMANY-CHINA-POLITICS-DIPLOMACY-ECONOMY

เจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลเยอรมันรายหนึ่งให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวโดยไม่ขอเปิดเผยตัวตนว่า แผนการเยือนจีนครั้งนี้ ถือเป็น “การเดินทางเชิงสำรวจ” เพื่อดูว่า “จุดยืนของจีนคืออะไร และจีนกำลังมุ่งหน้าไปทางไหน รวมทั้ง มีความร่วมมือด้านใดบ้างที่จีนในยุคปัจจุบันนี้จะสนใจภายใต้สถานการณ์โลกเวลาน็”

และแม้จะมีสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองที่ยกระดับขึ้นอยู่ต่อเนื่อง ความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างเยอรมนีและจีนกลับรุ่งเรืองสวนทางกัน โดยในปี ค.ศ. 2021 จีนคือคู่ค้าที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของเยอรมนีเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน และยังเป็นแหล่งนำเข้าที่ใหญ่ที่สุด รวมทั้งเป็นจุดหมายส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากสหรัฐฯ สำหรับเยอรมนีด้วย

Germany China
Germany China

อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่า นายกฯ โชลซ์ พยายามที่จะดำเนินนโยบายแบบกลาง ๆ เมื่อเป็นกรณีเกี่ยวกับจีน และอีกประเด็นที่นายกฯ เยอรมนีคนปัจจุบันแตกต่างจากอดีตผู้นำ 2 คนก่อนหน้าก็คือ การเลือกที่จะเยือนญี่ปุ่นเป็นจุดหมายแรกในเอเชีย แต่สนับสนุนให้บริษัทต่าง ๆ กระจายความเสี่ยง โดยไม่พยายามชักจูงให้ภาคธุรกิจไม่ยุ่งเกี่ยวกับจีน

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา จ้าว ลี่เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวว่า กรุงปักกิ่งเชื่อว่า การเดินทางเยือนของนายกฯ โชลซ์ “จะอัดฉีดแรงกระตุ้นใหม่ ๆ” ให้กับการพัฒนา “ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เต็มรูปแบบ” ระหว่างทั้งสองประเทศ และ “จะมีส่วนช่วยสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และการเจริญเติบโตให้กับโลก” ด้วย

แต่สำหรับผู้คนในเยอรมนีแล้ว ความเห็นเกี่ยวกับการเดินทางของนายกฯ โชลซ์ ไปยังจีนนั้นค่อนข้างหลากหลาย

กุนทรัม โวลฟ์ ผู้อำนวยการหน่วยงานคลังสมอง German Council on Foreign Relations กล่าวว่า ผู้นำกรุงเบอร์ลินควรเตือนจีนเรื่องการให้การสนับสนุนรัสเซียในการทำสงครามในยูเครน แต่ควรชี้แจงให้ชัดเจนกับบรรดาผู้นำจีนว่า เยอรมนียึดมั่นต่อเอกภาพระหว่างอียูและปักกิ่ง พร้อม ๆ กับอธิบายให้กับบรรดาผู้จัดการธุรกิจเยอรมันเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ทั้งหมดที่ตนอาจเผชิญ

ส่วนบรรดากลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนนั้นต้องการให้นายกฯ โชลซ์ ยกเลิกแผนการเดินทางเสีย ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลแย้งว่า การทำเช่นนั้นจะไม่ได้ประโยชน์อะไร ถ้าหากรัฐบาลไม่พยายามลองพูดจาหารือกับจีนก่อน

  • ที่มา: วีโอเอ
XS
SM
MD
LG