ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ในแต่ละปีเด็กหญิงราวๆสามล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา ยังอาจถูกขลิบหรือตัดส่วนนอกของอวัยะเพศตามขนบธรรมเนียมสังคมในประเทศหรือชนเผ่าของตน


ในแต่ละปีเด็กหญิงราวๆสามล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา ยังอาจถูกขลิบหรือตัดส่วนนอกของอวัยะเพศตามขนบธรรมเนียมสังคมในประเทศหรือชนเผ่าของตน
ในแต่ละปีเด็กหญิงราวๆสามล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา ยังอาจถูกขลิบหรือตัดส่วนนอกของอวัยะเพศตามขนบธรรมเนียมสังคมในประเทศหรือชนเผ่าของตน

คาดว่ามีเด็กผู้หญิงและผู้หญิงระหว่าง 100 ถึง 140 ล้านคนทั่วโลก ที่ถูกขลิบหรือตัดส่วนนอกของอวัยวะเพศไปแล้ว กรรมวิธีที่ว่านี้จะกระทำกับเด็กหญิงในช่วงอายุตั้งแต่ทารกไปจนถึง 15 ปี ซึ่งกลุ่มที่ต่อต้านกรรมวิธีนี้ กล่าวว่า ไม่ได้ให้ประโยชน์ทางสุขภาพอนามัยแต่อย่างใด แต่อาจทำให้เกิดการเสียเลือด และมีปัญหาทางร่างกายและจิตใจตลอดชีวิตได้

คุณ Berhane-Ros-Work ผู้อำนวยการองค์กร Inter-African Committee on Traditional Practices Affecting the Health of Women and Children บอกว่า กรรมวิธีนี้เป็นการทรมาน และเป็นกลไกของสังคมที่ผู้ชายเป็นหัวหน้า สำหรับกดขี่ผู้หญิง และผู้หญิงก็ยอมเพราะต้องการให้เป็นที่ยอมรับของสังคม

แต่องค์กรว่าด้วยการอพยพระหว่างประเทศ บอกว่า ปัญหากำลังขยายตัวออกไป พร้อมๆกับการอพยพของผู้คนออกจากแอฟริกาและตะวันออกกลางไปตามชุมชนต่างๆทั่วโลก

แพทย์หญิง Elise Johansen เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า เวลานี้ มีบริการการแพทย์ในบางประเทศในแอฟริกาและในชาติตะวันตกสำหรับกรรมวิธีนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งเพื่อจะให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ในขณะที่คงกรรมวิธีตามประเพณีนิยมไว้

เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลกผู้นี้กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นที่น่าวิตกกังวลมากกว่าที่คาด เพราะแม้กระทั่งสมาคมกุมารแพทย์ในอเมริกาก็ยังมีคำแนะแนวออกมาว่า ควรจะมีการเสนอบริการการแพทย์ในเรื่องนี้ให้กับชุมชนต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่องค์การอนามัยโลก องค์กรอื่นๆของสหประชาชาติ สมาคมวิชาชีพ และ NGO ต่างๆ คัดค้านอย่างหนักและรวดเร็ว จนกระทั่งสมาคมกุมารแพทย์ของอเมริกาต้องถอนคำแนะแนวที่ว่านั้น

พญ. Elise Johansen ขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ไม่มีหลักฐานใดเลยที่จะนำมายืนยันได้ว่า การนำบริการการแพทย์ไปเสริมกรรมวิธีที่ว่านี้ เพื่อลดอันตรายต่อเด็กผู้หญิงตามความต้องการทางวัฒนธรรมนั้น ให้ประโยชน์แต่อย่างใด

XS
SM
MD
LG