ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ตรวจสอบข่าว: จริงหรือไม่? จีนทำให้โลกเข้าใจผิดว่า ทำไมการปลดอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือจึงล้มเหลว


A view shows a missile fired by the North Korean military at an undisclosed location in this image released by North Korea's Central News Agency (KCNA) on March 20, 2023. (KCNA via REUTERS)
A view shows a missile fired by the North Korean military at an undisclosed location in this image released by North Korea's Central News Agency (KCNA) on March 20, 2023. (KCNA via REUTERS)
หวัง เหวินปิน

หวัง เหวินปิน

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน

“ปมของประเด็นที่ว่า สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีมาถึงจุดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้อย่างไรนั้นชัดเจนอยู่แล้ว เหตุผลหลักก็คือ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องปฏิเสธที่จะตอบรับมาตรการปลดอาวุธนิวเคลียร์ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีดำเนินการ...”

ทำให้สังคมเข้าใจผิด

เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศจีนให้ความเห็นเกี่ยวกับการยกระดับของความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี หลังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี หรือ เกาหลีเหนือ ทดสอบยิงขีปนาวุธวิถีโค้ง 3 ลูก ขณะที่ สหรัฐฯ และเกาหลีใต้เดินหน้าโครงการร่วมซ้อมรบกันอยู่

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 22 กันยายนของปีที่แล้ว เกาหลีเหนือผ่านกฎหมายที่มีเนื้อหาประกาศตัวเป็นรัฐที่ครอบครองนิวเคลียร์ และ คิม จอง อึน ผู้นำสูงสุด กล่าวว่า สถานภาพดังกล่าว “ไม่สามารถย้อนกลับได้อีก” โดยปีที่แล้ว เกาหลีเหนือทดสอบยิง ขีปนาวุธออกมาถึงกว่า 70 ลูก ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าปีก่อน ๆ ตามข้อมูลจากสื่อยอนฮัพ

stalemates:

“เหตุผลหลักก็คือ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องปฏิเสธที่จะตอบรับมาตรการปลดอาวุธนิวเคลียร์ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีดำเนินการ และยังเดินหน้ายกระดับแรงกดดันและการกีดขวางเกาหลีเหนือ”

นี่เป็นคำกล่าวที่ทำให้สังคมเข้าใจผิด

สหรัฐฯ และประชาคมโลกได้ทำการเจรจากับกรุงเปียงยางมาเป็นเวลาหลายทศวรรษเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย “การปลดอาวุธนิวเคลียร์” ของเกาหลีเหนือ และความพยายามด้านการทูตต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดวิกฤตทับซ้อนกันหลายอย่าง รวมทั้ง ภาวะชะงักงัน และความคืบหน้าชั่วคราว

คำกล่าวอ้างว่า กรุงเปียงยางได้ดำเนิน “มาตรการปลดอาวุธนิวเคลียร์” ที่โฆษกหวังพูดออกมานั้นน่าจะหมายถึง กรณีข้อตกลง Agreed Framework ที่เกาหลีเหนือและสหรัฐฯ ร่วมทำกันไว้และมีเงื่อนไขว่า เกาหลีเหนือจะระงับโครงการพัฒนาอาวุธพลูโตเนียมไว้ชั่วคราวเพื่อแลกเปลี่ยนกับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม เกาหลีเหนือละเมิดเงื่อนไขที่ทำไว้และข้อตกลงดังกล่าวล้มพับลงในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2003 หลังกรุงเปียงยางประกาศถอนตัวออกจากสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายนิวเคลียร์และเริ่มกลับมาพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อีกครั้ง

ความเป็นมาของสถานการณ์ทั้งหมดนี้ เริ่มต้นตั้งแต่

ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 เกาหลีเหนือสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับโครงการอาวุธนิวเคลียร์ในเมืองยองบยอน แม้ว่า กรุงเปียงยางจะเข้าร่วมสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายนิวเคลียร์ในปี ค.ศ. 1985 ก็ตาม

ต่อมาในปี ค.ศ. 1993 มีหลักฐานชัดเจนว่า เกาหลีเหนือตระบัดสัตย์ที่ให้ไว้กับสนธิสัญญาดังกล่าว ขณะเดียวกัน ก็ปฏิเสธคำร้องขอจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ภายใต้องค์การสหประชาชาติที่ส่งมาหลายครั้งเพื่อเข้าตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษด้วย

ทั้งหมดนี้นำมาซึ่งวิกฤต จากการที่เกาหลีเหนือประกาศความตั้งใจถอนตัวออกจากสนธิสัญญาที่ว่า และหน่วยงาน IAEA ประกาศว่า จะไม่สามารถรับรองต่อไปได้อีกว่า เกาหลีเหนือใช้วัสดุนิวเคลียร์เพื่อจุดประสงค์ด้านสันติภาพจริงหรือไม่

และหลังจากมีการเจรจากันหลายรอบระหว่างกรุงวอชิงตันและกรุงเปียงยาง รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน ได้สรุปความของการทำข้อตกลง Agreed Framework กับเกาหลีเหนือในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1994

This photo taken in May 1992 shows an external view of the Yongbyon-1 nuclear power plant in North Korea. (HO / IAEA / AFP)
This photo taken in May 1992 shows an external view of the Yongbyon-1 nuclear power plant in North Korea. (HO / IAEA / AFP)

ภายใต้ข้อตกลงนี้ เกาหลีเหนือยินยอมที่จะระงับเครื่องปฏิกรณ์ผลิตพลูโตเนียมและกิจกรรมที่โรงงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในเมืองยองบยอน และ IAEA จะเป็นผู้ตรวจสอบว่า เกาหลีเหนือปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวหรือไม่ ขณะที่ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการดำเนินที่ว่า สหรัฐฯ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จะให้งบสนับสนุนและการสร้างเครื่องปฏิกรณ์แบบน้ำเดือดต้านการแพร่ขยาย (proliferation-resistant light-water reactor : LWR) จำนวน 2 เครื่องให้กับเกาหลีเหนือ

นอกจากนั้น เกาหลีเหนือจะรื้อโรงงานนิวเคลียร์ทั้งหมดในเมืองยองบยอน ทันทีที่โครงการสร้าง LWR เสร็จสมบูรณ์ และในช่วงหลังเครื่อง LWR เครื่องแรกเสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังมีการก่อสร้างเครื่องที่ 2 อยู่ สหรัฐฯ จะจัดส่งน้ำมันความหนาแน่นสูงจำนวน 500,000 ตันต่อปีให้กับเกาหลีเหนือ เพื่อชดเชย “พลังงานที่หดหายไปเนื่องจากการระงับ” เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ยองบยอน

ทั้งหมดที่ว่ามานี้เกิดขึ้นจริง แม้ว่า เครื่องปฏิกรณ์ที่ยองบยอน “ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าและน่าจะถูกออกแบบมาเพียงเพื่อผลิตพลูโตเนียม ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของอาวุธนิวเคลียร์” ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ The Washington Post

ข้อตกลง Agreed Framework ระบุว่า สหรัฐฯ และเกาหลีเหนือต้องทำงานร่วมกัน “เพื่อสันติภาพและความมั่นคง สำหรับคาบสมุทรเกาหลีที่ปราศจากนิวเคลียร์” และ “เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบการปกครองไม่แพร่ขยายนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ” ตราบเท่าที่เกาหลีเหนือยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายนิวเคลียร์อยู่

หลังลงนามใน Agreed Framework แล้ว เกาหลีเหนือสั่งปิดโรงงานในยองบยอน ซึ่ง IAEA ตรวจสอบและรับรองในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1994 และเมื่อการก่อสร้างเครื่อง LWR ของเกาหลีเหนือเริ่มต้นขึ้น สหรัฐฯ ก็นำส่งน้ำมันเชื้อเพลิงความหนาแน่นสูงให้ตามสัญญาทุกปี

อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างเครื่อง LWR นั้นล่าช้ากว่ากำหนด ขณะที่ การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงความหนาแน่นสูงก็ประสบเหตุล่าช้า โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะสมาชิกสภาคองเกรสสังกัดพรรครีพับลิกันต่อต้านข้อตกลงที่ว่า เพราะมองว่าเป็น “การเอาใจ” ด้วยการให้รางวัลกับเกาหลีเหนือ แม้จะมีพฤติกรรมที่แย่

และเมื่อเกาหลีเหนือทำการยั่วยุมากขึ้น แรงต้านข้อตกลงในสภาคองเกรสก็ยิ่งรุนแรงเพิ่มขึ้น

พฤติกรรมที่ว่านั้นมีตัวอย่างเช่น ตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 จนถึงช่วงปี 2000 เกาหลีเหนือเร่งส่งออกเทคโนโลยีขีปนาวุธวิถีโค้งของตนไปยังหลายประเทศ โดยมีลูกค้ารายใหญ่ อาทิ อิหร่าน ซีเรีย อียิปต์ ลิเบีย และปากีสถาน โดยการกระทำดังกล่าวกลับยิ่งยกระดับความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ขยายอาวุธในโลก

ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1996 สหรัฐฯ ส่งเรือลาดตระเวณและเครื่องบินรบไปยังญี่ปุ่น หลังตรวจพบว่า เกาหลีเหนือกำลังเตรียมทดสอบยิงขีปนาวุธพิสัยกลาง ‘โนดง’

ในวันที่ 31 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1998 เกาหลีเหนือทดสอบยิงขีปนาวุธ แทโพดง-1 ซึ่งมีความสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ ข้ามประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศคู่สัญญาโครงการสร้างเครื่อง LWR และ 2 เดือนต่อมา รายงานข่าวกรองของสหรัฐฯ ระบุว่า เกาหลีเหนือกำลังสร้างโรงงานทดสอบใหม่ 2 แห่งเพื่อโครงการขีปนาวุธ แทโพดง-1

การทดสอบขีปนาวุธในปี ค.ศ. 1998 ทำให้โครงการสร้างเครื่อง LWR ล่าช้าออกไป ทั้งยังทำให้รัฐบาลปธน.คลินตันต้อง ทำการทบทวนนโยบายสหรัฐฯ ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเกาหลีเหนือทันที

สถานีโทรทัศน์ PBS (Public Broadcasting Service) รายงานว่า โดนัลด์ เกรกก์ อดีตทูตสหรัฐฯ ประจำเกาหลีใต้ ให้ความเห็นเกี่ยวกับการยั่วยุจากเกาหลีเหนือที่เกิดขึ้นหลังการทำข้อตกลงกับสหรัฐฯ ไว้ว่า:

“กิจกรรมที่ดูมุ่งร้ายนั้นทำให้สมาชิกพรรครีพับลิกัน (และ)ประชาชนในเกาหลีใต้โกรธเป็นไฟ ทำให้เกิดการล่าช้าต่อการขนส่งน้ำมัน และเป็นส่วนที่ทำให้มีความล่าช้าอย่างมากต่อการสร้างเครื่องปฏิกรณ์แบบน้ำเดือด ซึ่งเกาหลีเหนือไม่เคยยอมรับเลย”

ถึงกระนั้น ข้อตกลงนั้นมีผลบังคับใช้ได้จนถึงปี ค.ศ. 2002 เมื่อสหรัฐฯ อ้างข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองและกล่าวหาเกาหลีเหนือว่า ทำการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมเพื่อใช้กับอาวุธนิวเคลียร์อย่างลับ ๆ และกรุงเปียงยางก็ออกมายืนยันในเดือนตุลาคมของปีเดียวกันนี้ว่า ตนได้ทำการดังว่าจริงและอ้างว่า ตนมีสิทธิ์จะทำเช่นนั้น

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงตอบโต้กรณีดังกล่าว ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2002 โดยระบุว่า “โครงการอาวุธนิวเคลียร์ลับของเกาหลีเหนือ คือ การละเมิดพันธกรณีต่าง ๆ ของเกาหลีเหนือภายใต้ Agreed Framework และสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายนิวเคลียร์ ข้อตกลงมาตรการปกป้อง IAEA ที่ตนทำไว้ และแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการปลดอาวุธนิวเคลียร์ของคาบสมุทรเกาหลี”

รัฐบาลยุคอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ตอบโต้เกาหลีเหนือด้วยการระงับการนำส่งน้ำมันเชื้อเพลิงความหนาแน่นสูง โดยการขนส่งเที่ยวสุดท้ายก็คือ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2002

จากนั้น กรุงเปียงยางขับทีมตรวจสอบของ IAEA ออกนอกประเทศในเดือนธันวาคม และถอนตัวออกจากสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายนิวเคลียร์ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2003 รวมทั้ง สั่งเปิดเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และโรงงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ถูกปิดไปก่อนหน้าภายใต้ข้อตกลง Agreed Framework อีกครั้ง

และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตนิวเคลียร์เกาหลีเหนือครั้งที่ 2 ก่อนจะเริ่มการเจรจาทั้งแบบทวิภาคีและพหุภาคีรอบใหม่ที่ใช้เวลานานกว่าทศวรรษ ที่มีจุดประสงค์เพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ซึ่งก็ไม่ได้มีความคืบหน้าใด ๆ จวบจนทุกวันนี้

  • ที่มา: ฝ่าย Polygraph วีโอเอ
XS
SM
MD
LG