ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'อียู' ขยายคำสั่งห้ามใช้ยาฆ่าแมลงที่เป็นอันตรายต่อผึ้ง


The European Union is backing a plan to extend a partial ban on insecticides that have been shown to be harmful to bees. (Photo: Adam Vanbergen))
The European Union is backing a plan to extend a partial ban on insecticides that have been shown to be harmful to bees. (Photo: Adam Vanbergen))

ในช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา บรรดาชาติสมาชิกสหภาพยุโรปได้สนับสนุนให้อียูขยายข้อห้ามใช้สารเคมีฆ่าเเมลงชนิด “นีโอนิโคตินอยด์ส” ทั้งหมดสามชนิดในการเกษตรกรรมภายนอกโดยเด็ดขาด หลังจากผลการศึกษาหลายชิ้นชี้ว่า สารเคมีเหล่านี้มีผลร้ายต่อประชากรผึ้ง

ทางอียูเชื่อว่า สารเคมีเหล่านี้หากนำไปใช้ จะทำให้ประชากรผึ้งลดจำนวนลงและอาจทำให้อาณาจักรผึ้งล่มสลาย

สารเคมีฆ่าเเมลง 3 ชนิดดังกล่าว ได้แก่ สารอิมิดาโคลพริด (imidacloprid) ที่พัฒนาโดยบริษัทไบเออร์ สารโคลไทอะนิดิน(clothianidin) ที่พัฒนาโดยบริษัททาเคดากับบริษัทไบเออร์ ตลอดจนสารไธอะมีโทแซม (thiamethoxam) ที่ผลิตโดยบริษัทซินเจนทา และสารเคมีฆ่าเเมลงเหล่านี้ถูกใช้ในการเกษตรกรรมอย่างแพร่หลายมานานกว่าสิบปีแล้ว

คณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรปประกาศในแถลงการณ์ว่า สารเคมีฆ่าเเมลงประเภทนีโอนิโคตินอยด์ส ที่ใช้ในการเกษตรกรรมทั้งสามชนิดนี้ ไม่สามารถนำไปใช้ในสภาพแวดล้อมภายนอกโดยเด็ดขาด เเต่สามารถใช้ได้ภายในการเกษตรกรรมภายในเรือนกระจกเท่านั้น เพราะอยู่ในสภาพที่ปิดมิดชิด ทำให้ผึ้งไม่มีโอกาสสัมผัสกับสารเคมีดังกล่าว

สหภาพยุโรปได้บังคับใช้ข้อห้ามใช้สารเคมีฆ่าเเมลงชนิดนีโอนิโคตินอยด์ส นี้มาตั้งเเต่ปี พ.ศ. 2557 หลังจากผลการศึกษาในห้องวิจัยชี้ว่า สารเคมีเหล่านี้เป็นอันตรายต่อผึ้งซึ่งช่วยในการผสมเกสรพืชอาหารของโลก

แม้ว่าบริษัทผู้ผลิตสารเคมีฆ่าเเมลงเหล่านี้จะกล่าวว่า การทดสอบภาคสนามหลายครั้งได้เเสดงผลว่ายาฆ่าเเมลงเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง แต่ผลการศึกษาภาคสนามชิ้นหนึ่งของทีมนักวิจัยอังกฤษแย้งว่า สารเคมีเหล่านี้เป็นอันตรายต่อความอยู่รอดของผึ้ง

ผลการศึกษานี้มีความหนักแน่นเพียงพอในการจูงใจให้รัฐบาลของประเทศสมาชิกอียู 15 ชาติจากทั้งหมด 27 ชาติ พร้อมกับคณะกรรมาธิการยุโรปสนับสนุนข้อห้ามใช้สารเคมีฆ่าเเมลงเหล่านี้ในการเกษตรกรรม

ทางสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 20 พฤษภาคมของทุกปีเป็น"วันผึ้งโลก" หรือ World Bee Day เพื่อส่งเสริมความตื่นตัวของประชากรเกี่ยวกับความสำคัญของผึ้งต่อโลก และปัญหาประชากรผึ้งที่ลดลง

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG