ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อังกฤษ-อียู เร่งผลักดันข้อตกลงการค้าหลัง 'เบร็กซิต' วันสุดท้ายก่อนเส้นตาย


EU chief Brexit negotiator Michel Barnier speaks with France's Permanent Representative to the EU Philippe Leglise-Costa during a meeting of ambassadors of European Union governments in Brussels, Belgium Dec. 7, 2020.
EU chief Brexit negotiator Michel Barnier speaks with France's Permanent Representative to the EU Philippe Leglise-Costa during a meeting of ambassadors of European Union governments in Brussels, Belgium Dec. 7, 2020.

ผู้นำการเจรจาของอังกฤษและสหภาพยุโรปร่วมประชุมที่กรุงบรัสเซลล์ในวันอาทิตย์ เพื่อผลักดันรอบสุดท้ายให้เกิดข้อตกลงการค้าระหว่างทั้งสองฝ่ายหลังจากการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป หรือ เบร็กซิต (Brexit)

ผู้แทนทั้งสองฝ่ายมีเวลาจนถึงเที่ยงคืนวันอาทิตย์นี้ในการหาทางขจัดความแตกต่างเพื่อจัดทำข้อตกลงการค้าที่จะช่วยเลี่ยงกำแพงภาษีและอุปสรรคทางการค้าระหว่างทั้งสองฝ่าย โดยมีอนาคตของความสัมพันธ์ทางการค้าและความมั่นคงของทั้งสองฝ่ายเป็นเดิมพัน

ทั้งนี้ อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 31 มกราคมปีนี้ แต่ยังคงอยู่ภายใต้โครงสร้างเศรษฐกิจของอียูจนถึงสิ้นปีนี้ นั่นหมายความว่าหากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถจัดทำข้อตกลงการค้าฉบับใหม่ก่อนวันที่ 1 มกราคมปีหน้า ก็มีโอกาสเกิดความวุ่นวายในการซื้อขายสินค้าข้ามพรมแดนได้ เนื่องจากภาษีและอุปสรรคทางการค้าต่าง ๆ ที่จะมีผลบังคับใช้ทันที

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่อียูเกรงว่าการที่อังกฤษจะมีอิสระในการกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของตนเองซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนและนิติบุคคลในสหภาพยุโรป ทางรัฐบาลอังกฤษเองก็มองว่า การแยกตัวหรือ Blexit ครั้งนี้ คือการดึงอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนและการกำหนดทิศทางของประเทศได้อย่างอิสระกลับคืนมาจากการควบคุมของสหภาพยุโรปเช่นกัน

ขณะนี้มีเงื่อนไขสำคัญ 3 ประการที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้ หนึ่งคือสิทธิของชาวยุโรปในการทำประมงในเขตน่านน้ำของอังกฤษ สองคือกฎเกณฑ์กำกับการแข่งขันทางธุรกิจและความช่วยเหลือของรัฐบาลสำหรับบริษัทต่าง ๆ สามคือการจัดการข้อพิพาทระหว่างสหภาพยุโรปกับอังกฤษตามกระบวนการยุติธรรม

จากทั้งสามข้อที่ระบุมา ดูเหมือนข้อสองคือกฎเกณฑ์กำกับการแข่งขันทางธุรกิจและความช่วยเหลือของรัฐบาลสำหรับบริษัทต่าง ๆ จะเป็นส่วนที่ทั้งสองฝ่ายเห็นต่างกันมากที่สุด เนื่องจากอียูต้องการให้เกิดความมั่นใจว่าบริษัทอังกฤษจะไม่มีความได้เปรียบอย่างไม่เป็นธรรมเหนือคู่แข่งอื่น ๆ ในยุโรป โดยอียูยืนยันให้บริษัทอังกฤษอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดิมของอียู โดยเฉพาะในด้านสิทธิแรงงานและการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม แต่ทางผู้นำอังกฤษยืนยันว่าไม่สามารถรับเงื่อนไขนั้นได้

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า หากอังกฤษไม่สามารถจัดทำข้อตกลงการค้ากับอียูได้ มูลค่าผลผลิตมวลรวมของอังกฤษจะลดลงราว 6% ในปีหน้า และจะทำให้มีคนตกงานเพิ่มขึ้นราว 300,000 คน อ้างอิงจากสำนักตรวจสอบงบประมาณของอังกฤษที่จัดทำรายงานประเมินภาพรวมทางเศรษฐกิจให้แก่รัฐบาลกรุงลอนดอน

XS
SM
MD
LG