สภามนุษยชนอาเซียนหรือ APHR ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดจั้งขึ้นอย่างไม่เป็นทางการโดยผู้แทนของประเทศสมาชิกอาเซียน เรียกร้องให้ไทยอนุญาตให้ผู้แทนของสหประชาชาติและสภากาชาดสากล เข้าไปตรวจสอบศูนย์กักกันผู้อพยพชาวโรฮิงจาใน อ.สะเดา จ.สงขลา หลังจากมีผู้อพยพอย่างน้อย 86 คนหลบหนีจากศูนย์ดังกล่าวในวันอังคาร
ปัจจุบันคาดว่ามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงจาอาศัยอยู่ตามศุนย์กักกันผู้อพยพทั่วประเทศไทยราว 2,000 คน โดยผู้แทนของ APHR ระบุว่าสภาพในศูนย์กักกันเหล่านั้นย่ำแย่และแออัดยัดเยียด บางแห่งไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะอาศัยอยู่ได้ นอกจากนี้สตรีชาวโรฮิงจาหลายคนยังถูกละเมิดทางเพศ
คุณ Eva Kusuma จาก APHR บอกด้วยว่าเวลานี้ปัญหาผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงจากลายเป็นปัญหาใหญ่ของอาเซียน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไข และไม่นานนี้องค์กรสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch ได้เรียกร้องให้ทางการไทยยอมรับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงจาในฐานะแรงงานต่างด้าว พร้อมจัดหาความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่ผู้ลี้ภัยเหล่านั้น
ปัจจุบันคาดว่ามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงจาอาศัยอยู่ตามศุนย์กักกันผู้อพยพทั่วประเทศไทยราว 2,000 คน โดยผู้แทนของ APHR ระบุว่าสภาพในศูนย์กักกันเหล่านั้นย่ำแย่และแออัดยัดเยียด บางแห่งไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะอาศัยอยู่ได้ นอกจากนี้สตรีชาวโรฮิงจาหลายคนยังถูกละเมิดทางเพศ
คุณ Eva Kusuma จาก APHR บอกด้วยว่าเวลานี้ปัญหาผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงจากลายเป็นปัญหาใหญ่ของอาเซียน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไข และไม่นานนี้องค์กรสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch ได้เรียกร้องให้ทางการไทยยอมรับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงจาในฐานะแรงงานต่างด้าว พร้อมจัดหาความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่ผู้ลี้ภัยเหล่านั้น