ลิ้งค์เชื่อมต่อ

แฟชั่นอัจฉริยะออกแบบเพื่อผู้พิการและผู้สูงวัย


แฟชั่นอัจฉริยะออกแบบเพื่อผู้พิการและผู้สูงวัย
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:00 0:00

แฟชั่นอัจฉริยะออกแบบเพื่อผู้พิการและผู้สูงวัย

นักเรียนการออกแบบในนิวยอร์คพัฒนาเสื้อผ้าอัจฉริยะแก่ผู้พิการ

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:06 0:00

เสื้อผ้าส่วนใหญ่ผลิตเพื่อผู้บริโภคทั่วไปได้สวมใส่โดยไม่ได้คำนึงถึงผู้บริโภคที่สูงวัยหรือผู้พิการ การสวมใส่เสื้อผ้าเป็นเรื่องง่ายดายสำหรับคนทั่วไป เเต่กลายเป็นกิจวัติประจำวันที่กลุ่มคนพิเศษต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก อย่าง Kieran Kern ที่พิการจากโรคสมองพิการซี.พี.

เธอกล่าวว่าเธอคิดว่าคนทั่วไปฉุกคิดว่าการติดกระดุมที่แสนง่ายจะเป็นเรื่องยากสำหรับคนกลุ่มพิเศษ

งานนิทรรศการที่ The New School ในมหานครนิวยอร์คจัดเเสดงทางออกหลาย อย่างเเก่ปัญหานี้ ในงาน มีการแสดงผลงานของนักเรียนวิชาการออกแบบที่ทำงานกับผู้ป่วยสูงวัยในศูนย์ฟื้นฟูและหน่วยงานไม่หวังผลกำไร Open Style Lab

นักเรียนได้ออกแบบกางเกงพิเศษเพื่อผู้ป่วยที่เป็นโรคปวดตามข้อกระดูกหรือผู้ป่วยที่ขาเป็นอัมพาต

ศาสตราจารย์ เกรส จูน แห่งโรงเรียนแห่งการออกแบบเพียร์สันส์กล่าวว่ากางเกงพิเศษตัวนี้ หากผู้สวมนั่งลง แผ่นนำไฟฟ้าสองแผ่นจะติดกัน ทำให้ตัวเซ็นเซ่อร์กับแผงวงจรกระเเสไฟฟ้าเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเเละเริ่มทำงานส่งสัญญาณได้

ตัวเซ็นเซ่อร์ที่ผังเอาไว้ในเนื้อผ้าสามารถส่งสัญญาณข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งช่วยบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับอาการที่ดีขึ้นของผู้ป่วย

บอเลอร์ เอมกัลอิน (Bolor Amgalan) นักศึกษาการออกแบบอีกคนหนึ่งนำผลงานกระดุมเเม่เหล็กที่ทำขึ้นโดยเฉพาะเเก่ลูกค้าสูงวัยคนหนึ่งที่มีปัญหาความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายจำกัด

เอมกัลอินกล่าวว่าฝังตัวเเม่เหล็กเอาไว้ในวัสดุหุ้มที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติเพื่อไม่ให้เเม่เหล็กไปติดกับล้อเข็นของคนไข้

และการออกแบบเสื้อผ้าเพื่อกลุ่มคนพิเศษอีกชิ้นหนึ่งของเธอเสนอทางออกด้านการสื่อสาร

เอมกัลอินบอกว่าเธอใช้ไหมที่เป็นตัวส่งสัญญาณไฟฟ้าในส่วนปลายเเขนเสื้อ โดยหากผู้สวมนำปลายเเขนเสื้อทั้งสองข้างมาสัมผัสกันก็จะปล่อยสีต่างๆ หรือเเสงออกมาในระดับต่างๆ กันเพื่อคนไข้เเสดงออกถึงความรู้สึกต่างๆ

ผลงานการออกแบบเสื้อผ้าที่จัดเเสดงในงานนิทรรศกาลนี้ล้วนเป็นเสื้อผ้าแห่งอนาคตที่ออกเเบบให้เหมาะกับความจำเป็นของผู้สวมใส่เป็นการเฉพาะ

เคียเเรน เคริน กล่าวว่าหากทางร้านมีเครื่องพิมพ์สามมิติ พนักงานอาจจะสามารถวัดความเเข็งเเรงของกล้ามเนื้อเเขนของลูกค้าได้ เเล้วผลิตกระดุมเเม่เหล็กที่เหมาะสมให้ลูกค้าได้ทันที โดยที่ลูกค้าไม่ต้องนำเสื้อผ้าชิ้นนั้นไปดัดเเปลงเอง

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG