ลิ้งค์เชื่อมต่อ

แฝดคนละฝา? งานวิจัยชี้ 'แฝดแท้' ไม่ได้มีพันธุกรรมเหมือนกันเสมอไป


In this Saturday, June 18, 2005 file photo, identical twins Alf, left, and Sven Fehnhanhn, left background, 79, from Kassel, Germany, pose along with seven-month-old Luis Carl, right, und Albert Frank Millgramm, right background, during a twins' meeting i
In this Saturday, June 18, 2005 file photo, identical twins Alf, left, and Sven Fehnhanhn, left background, 79, from Kassel, Germany, pose along with seven-month-old Luis Carl, right, und Albert Frank Millgramm, right background, during a twins' meeting i
Twin Genetics Study
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:45 0:00


การศึกษาชิ้นใหม่ชี้ให้เห็นว่า “แฝดแท้” หรือฝาแฝดที่เกิดจากไข่ที่มีการปฏิสนธิใบเดียวกันนั้น ไม่ได้มีความเหมือนกันทางพันธุกรรม 100%

นักวิทยาศาสตร์ในประเทศไอซ์แลนด์ได้ตรวจสอบดีเอ็นเอจากแฝดแท้ 387 คู่ รวมถึงบิดามารดา บุตร และคู่สมรสของพวกเขา

Kari Stefansson นักพันธุศาสตร์และศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย University of Iceland ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท deCODE genetics และเป็นหัวหน้าการศึกษาวิจัยครั้งนี้กล่าวว่า “กระบวนการกลายพันธุ์ หรือ Mutations ในระยะเริ่มต้นที่เป็นสิ่งที่แยกแฝดแท้ออกจากกัน”

การกลายพันธุ์นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยใน DNA ที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเซลล์แบ่งตัวเพื่อที่จะคัดลอกตัวเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเหล่านี้อาจส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพของบุคคลหรือควบคุมความสามารถของบุคคลในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บได้

ทั้งนี้การกลายพันธุ์ที่เพิ่งค้นพบแสดงให้เห็นว่าแฝดแท้มีความแตกต่างกันทางพันธุกรรม ผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวนี้เผยแพร่อยู่ในวารสาร Nature Genetics

นักวิจัยพบว่าแฝดแท้มีความแตกต่างทางพันธุกรรมในระยะเริ่มต้นโดยเฉลี่ย 5.2 จุด แต่ราว 15 เปอร์เซนต์ของคู่แฝดแท้มีความแตกต่างกันมากกว่านั้น ซึ่งบางคู่อาจแตกต่างกันมากถึง 100 จุดเลยก็เป็นได้ ความแตกต่างเหล่านี้ล้วนแสดงถึงส่วนเล็กๆ ของสารพันธุกรรมของฝาแฝดแต่ละคน ซึ่งอาจมีผลต่อการที่แฝดคนหนึ่งสูงกว่า หรืออีกคนหนึ่งมีความความเสี่ยงต่อมะเร็งบางชนิดมากกว่าอีกคนหนึ่ง ทั้งนี้ในอดีตนักวิจัยหลายคนเชื่อว่าความแตกต่างทางกายภาพที่เห็นในแฝดแท้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลด้านสิ่งแวดล้อม เช่นโภชนาการหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต

Jan Dumanski นักพันธุศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Uppsala ประเทศสวีเดน ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษานี้ ยกย่องการค้นพบนี้ว่าเป็นการศึกษาที่มีความชัดเจนและมีความสำคัญต่อการวิจัยทางการแพทย์ และว่าการศึกษานี้ทำให้ทราบว่าจะต้องมีความระมัดระวังอย่างมากในการใช้ฝาแฝดเป็นต้นแบบ เพื่อตรวจสอบอิทธิพลของพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อม

บทความในวารสาร American Journal of Human Genetics เมื่อปี 2008 พบความแตกต่างทางพันธุกรรมบางอย่างระหว่างแฝดแท้ แต่การศึกษาใหม่นี้ก้าวไกลกว่าการศึกษาครั้งก่อนโดยการรวมเอา DNA ของบิดามารดา บุตร และคู่สมรสของแฝดแท้เอาไว้ด้วย

การศึกษาสมาชิกในครอบครัวของแฝดแท้นั้นช่วยให้นักวิจัยสามารถตรวจสอบได้ว่าเมื่อเกิดการกลายพันธุ์ขึ้นในเซลล์สองชนิดที่แตกต่างกัน สิ่งเหล่านั้นจะเกิดขึ้นกับแฝดเพียงคนเดียวและจะส่งต่อไปยังลูกของแฝดคนนั้น

Stefansson กล่าวว่าทีมงานของเขาพบฝาแฝดที่มีการกลายพันธุ์อยู่ในทุกเซลล์ของร่างกายของแฝดคนหนึ่ง แต่ไม่อยู่มีในแฝดอีกคนหนึ่งเลย และในบางครั้งแฝดคนที่สองอาจแสดงถึงการกลายพันธุ์ในบางเซลล์ แต่ก็ไม่ใช่ทุกเซลล์

นอกจากนี้นักวิจัยกล่าวว่าพวกเขายังพบการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่ตัวอ่อนที่กำลังพัฒนาจะแยกออกเป็นสองส่วนอีกด้วย

Nancy Segal นักจิตวิทยาผู้ศึกษาเกี่ยวกับฝาแฝดที่มหาวิทยาลับ California State University, Fullerton ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษานี้ กล่าวว่าการศึกษาวิจัยนี้เหมือนจะเป็นการชักชวนให้บรรดานักวิทยาศาสตร์ทบทวนถึงอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อฝาแฝดกันมากขึ้น และว่าฝาแฝดนั้นถึงแม้จะเหมือนกันมาก แต่ก็ไม่ได้เหมือนกันอย่างสมบูรณ์แบบ

XS
SM
MD
LG