ลิ้งค์เชื่อมต่อ

แพทย์สามารถพิสูจน์ได้ว่าการที่ผู้ป่วยบันทึกอาการขี้ลืมตั้งแต่ระยะเริ่มแรกสามารถบอกสัญญาณโรค Alzheimer ได้แต่เนิ่นๆ


แพทย์สามารถพิสูจน์ได้ว่าการที่ผู้ป่วยบันทึกอาการขี้ลืมตั้งแต่ระยะเริ่มแรกสามารถบอกสัญญาณโรค Alzheimer ได้แต่เนิ่นๆ ซึ่งการทดลองพบว่าการตรวจสอบความจำของตนเองที่เริ่มเสื่อมเป็นหลักฐานที่ชี้ถึงโรค Alzheimer ได้ 6 ปีให้หลัง

แพทย์หญิง Rebecca Amariglio จาก Brigham and Women’s Hospital ที่นคร Boston กล่าวว่ากลุ่มเสี่ยงของโรคนี้มีโปรตีนที่เรียกว่า beta amyloid ในสมองซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกี่ยวโยงกับโรค Alzheimer

ปัจจุบันนี้การวิจัยทางการแพทย์มุ่งความพยายามไปที่การหาคำตอบว่าความจำเสื่อมที่นำไปสู่โรค Alzheimer เริ่มต้นขึ้นเมื่อใด เพราะหลายครั้งกว่าจะตรวจพบผู้ป่วยได้สูญเสียความสามารถด้านความทรงจำไปมากแล้ว

ดังนั้นวิธีบันทึกอาการหลงลืมของตนเองโดยผู้ป่วยซึ่งสามารถบ่งบอกถึงอาการที่เรียกว่า subjective cognitive decline จึงเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการวินิจฉัยต่อไปว่าผู้ป่วยเป็นโรค Alzheimer หรือไม่

นายแพทย์ Ronald Peterson กล่าวว่า แม้อาการหลงลืมอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆเช่น ความเครียด อาการซึมเศร้าและผลข้างเคียงของการรับประทานยาบางชนิด ผู้ที่สงสัยว่าตนเองอาจเป็น Alzheimer ควรให้แพทย์ตรวจแต่เนิ่นๆ

โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ
XS
SM
MD
LG