การวิจัยเรื่องนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเก้าปีที่แล้ว ด้วยการทดลองกับผลองุ่น ในตอนนั้น อดัม เฮลเลอร์ วิศวกรเคมี และเพื่อนร่วมงานที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส ในเมืองออสติน ได้ฝังเซลไฟฟ้าปฐมภูมิ เข้าไปในผลองุ่นลูกหนึ่งเพื่อทดสอบว่าจะเซลไฟฟ้านั้นจะสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของผลองุ่นได้หรือไม่ ผลปรากฏว่าเซลไฟฟ้าสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าได้ 2.4 ไมโครวัตต์
คุณเฮลเล่อร์ หัวหน้าทีมนักวิจัยยังเป็นต้นคิดในการใช้เซลไฟฟ้าพลังงานชีวภาพในทางการแพทย์ด้วย แต่อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ออกแแบไว้ไม่ได้รับการพัฒนา
ขณะนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้นำไอเดียนี้กลับมาพัฒนาใหม่ พวกเขากำลังพัฒนาตัวเซลไฟฟ้าที่ใช้พลังงานชีวภาพที่สามารถดึงพลังงานจากกลูโคสและออกซิเจนที่ไหลเวียนในเลือดของมนุษย์แล้วนำพลังงานไฟฟ้าระดับต่ำที่ได้ไปเดินเครื่องอุปกรณ์ทางการแพทย์ในร่างกายผู้ป่วยเอง อาทิ เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจและเครื่องช่วยควบคุมการปัสสาวะ
คุณ Evgeny Katz และทีมวิจัยที่มหาวิทยาลัย Clarkson ใน Pottstown นิวยอร์ค กำลังพัฒนาเทคโนโลยีไซบอร์กขึ้นมาใหม่ พวกเขาได้ผังเซลไฟฟ้าในหอยทากสีน้ำตาลตัวเล็กจิ๋วที่พบทั่วไปในสวน เพื่อดึงพลังงานจากหอยทากไปใช้กับอุปกรณ์ขนาดจิ๋วต่างๆและใช้งานกับอุปกรณ์ทางการทหาร อาทิ ตัวรีโมทเซ็นเซ่อร์ที่ใช้เฝ้าตรวจจับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือ ถ่ายทอดภาพคนที่เดินเข้าออกในบริเวณ
คุณคาทซ์ นักวิจัยกล่าวว่า พลังงานจากหอยทากนำไปได้ใช้กับกล้องวิดิทัศน์และอุปกรณ์ไร้สายที่สื่อสารข้อมูลได้
ทั้งพืชและสัตว์ใช้กลูโคสและออกซิเจนเพื่อผลิตพลังงาน เซลไฟฟ้าพลังงานชีวภาพนี้สามารถดึงเอาพลังงานธรรมชาติจากพืชและสัตว์ได้ด้วยตัวอิเลคโทรดสองตัว ที่บางกว่าเส้นผมคนเรา และ อยู่ห่างกันไม่กี่มิลลิเมตร
คุณคาสซ์ กล่าวว่า หากสามารถแปลงพลังงานเหล่านี้ได้เร็วและได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ แต่ความท้าทายตอนนี้ คือ ต้องคิดค้นวิธีเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากตัวหอยทากเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ
นักวิจัยยังได้ทดลองฝังเซลไฟฟ้าพลังงานชีวภาพในแมลงเต่าทองและแมลงสาปด้วย การทดลองนี้นำโดยคุณเดนเนี่ยล สเกอร์สันแห่งมหาวิทยาลัย Case Western Reserve ในรัฐโอไฮโอ้ นักวิจัยได้สร้างอุปกรณ์ขึ้นมาบังคับการเคลื่อนไหวร่างกายของแมลงสาปโดยใช้ระบบประสาทของตัวแมลงเอง แมลงสาปที่ได้รับการผังเซลไฟฟ้าจะนำไปเป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับที่สามารถจับวัดสารเคมีที่เป็นพิษต่างๆเช่นแก๊สพิษเป็นต้น
คุณเดนเนี่ยล สเกอร์สัน กล่าวว่า วันหนึ่งข้างหน้าอาจจะสามารถใช้วิธีนี้กับต้นกล้าไม้ต่างๆได้เพื่อตรวจวัดสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เขาบอกว่า ในอนาคตอาจจะสามารถดึงพลังงานไฟฟ้าจากต้นไม้เพื่อนำไปใช้กับอุกรณ์ทุกประเภทในการสอดแนมสิ่งที่อาจทำอันตรายต่อคนและสังคมได้
ตอนนี้ทีมงานของเขากำลังทดลองผังเซลไฟฟ้าพลังงานชีวภาพในเห็ดชิตาเกะด้วย