ลิ้งค์เชื่อมต่อ

โควิด-19 ส่งผลให้บางคนมีอายุสมองแก่ลง 10 ปี


A health professional gives an explanation about the human brain
A health professional gives an explanation about the human brain
Covid-19 May Cause Brain Damage
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:20 0:00


สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นักวิจัยเตือนว่าผู้ที่ฟื้นตัวจากโควิด-19 อาจได้รับผลกระทบทางสมองอย่างมีนัยสำคัญ โดยกรณีที่เลวร้ายที่สุดของการติดเชื้อคือการที่การรับรู้ช้าลงเทียบเท่ากับอายุสมองที่แก่ลง 10 ปี

การศึกษาที่นำโดย Adam Hampshire แพทย์จากวิทยาลัย Imperial College London ได้ศึกษาอาสาสมัครจำนวนมากกว่า 84,000 คนและพบว่าในบางกรณีที่มีอาการรุนแรงนั้น การติดเชื้อโคโรนาไวรัสส่งผลให้การรับรู้ถดถอยเป็นเวลานานหลายเดือน

นักวิจัยได้รายงานว่าจากการวิเคราะห์ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองที่ว่าโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการรับรู้แบบเรื้อรังภายหลังจากการติดเชื้อ คนที่หายป่วยรวมทั้งผู้ที่ไม่แสดงอาการแล้วแสดงให้เห็นถึงการรับรู้ที่ถดถอยอย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้ การทดสอบกระบวนการรับรู้จะเป็นการวัดว่าสมองทำงานได้ดีเพียงใด เช่นการจดจำคำศัพท์หรือการเล่นปริศนาต่อจุด การทดสอบดังกล่าวใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อประเมินประสิทธิภาพของสมองในการเป็นโรคต่างๆ เช่นโรคอัลไซเมอร์ และยังช่วยให้แพทย์ประเมินความบกพร่องของสมองแบบชั่วคราวได้อีกด้วย

คณะวิจัยของ Adam Hampshire ได้วิเคราะห์ผลการศึกษาที่มีชื่อว่า Great British Intelligence Test จากอาสาสมัครทั้ง 84,285 คน และผลการวิจัยซึ่งยังไม่ได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญคนอื่นนี้ ถูกเผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ MedRxiv

นักวิจัยกล่าวว่าภาวะการรับรู้ถดถอยนี้มีผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการของโควิด -19 โดยกรณีที่เลวร้ายที่สุดที่แสดงผลกระทบคือเทียบเท่ากับการที่สมรรถภาพสมองของคนวัย 20-70 ถดถอยลงไปโดยเฉลี่ย 10 ปี

อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการศึกษานี้กล่าวว่า ควรจะมีการตรวจสอบผลของการศึกษานี้ด้วยความระมัดระวัง

Joanna Wardlaw ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาเชิงประยุกต์ของมหาวิทยาลัย Edinburgh กล่าวว่า ลักษณะการทำงานของสมองของผู้เข้าร่วมการศึกษานั้นไม่ได้เป็นที่ทราบแน่ชัดมาก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และผลการศึกษานี้ก็ไม่ได้สะท้อนถึงการฟื้นตัวในระยะยาว ดังนั้นผลกระทบใดๆ ต่อประสาทรับรู้อาจจะเป็นเพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น

Derek Hill ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์การสร้างภาพทางการแพทย์ที่มหาวิทยาลัย University College London ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่าผลของการศึกษานี้ไม่สามารถเชื่อถือได้ทั้งหมดเนื่องจากไม่ได้มีการเปรียบเทียบคะแนนการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการติดเชื้อ อีกทั้งการศึกษานี้ยังเกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมากที่รายงานว่าตนเองติดเชื้อโควิด-19 ทั้งๆ ที่ไม่ได้รับการตรวจหาเชื้อ

เขากล่าวต่อไปว่า โดยรวมแล้วการศึกษานี้คืองานวิจัยที่น่าสนใจ แต่ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับผลของโควิด-19 ที่มีต่อสมอง

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่นักวิจัยพยายามทำความเข้าใจถึงผลกระทบระยะยาวของโควิดให้ดียิ่งขึ้น แต่สิ่งสำคัญก็คือต้องศึกษาขอบเขตของระบบรับรู้ที่ได้รับผลกระทบในช่วงเวลาหลายสัปดาห์ และหลายเดือนหลังการติดเชื้อ และศึกษาว่าโควิด-19 นั้นสร้างความเสียต่อการทำงานของสมองแบบถาวรในคนบางคนหรือไม่

XS
SM
MD
LG