ลิ้งค์เชื่อมต่อ

บริษัทฮ่องกงตั้งเป้าผลิตหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์หลายพันตัวในปี 2021


The humanoid robot Sophia, developed by Hong Kong based company Hanson Robotics, appears on stage in front of students and other professionals during a meeting session organised about artificial intelligence in Kolkata on February 18, 2020.
The humanoid robot Sophia, developed by Hong Kong based company Hanson Robotics, appears on stage in front of students and other professionals during a meeting session organised about artificial intelligence in Kolkata on February 18, 2020.
Increasing Demand for Robotics
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:50 0:00


บริษัทผลิตหุ่นยนต์ในฮ่องกงเผยว่า มีแผนจะผลิตหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หรือหุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์จำนวนมากในปี ค.ศ. 2021

บริษัท Hanson Robotics กล่าวว่า หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์สี่แบบที่แตกต่างกันจะเริ่มออกจากโรงงานในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ หนึ่งในสี่ของหุ่นยนต์ดังกล่าวมีชื่อว่า "โซเฟีย" ซึ่งได้รับความสนใจจากทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในเรื่องการมองและพูดที่เหมือนมนุษย์

David Hanson ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของบริษัทนี้กล่าวกับรอยเตอร์ว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ความต้องการหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือและมีส่วนร่วมกับมนุษย์มีเพิ่มมากขึ้น โลกในยุคโควิด-19 กำลังต้องการระบบอัตโนมัติมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อช่วยให้ผู้คนปลอดภัย และว่า ในอดีตหุ่นยนต์ของทางบริษัทหลายตัวถูกสร้างขึ้นด้วยมือ แต่ตอนนี้ Hanson Robotics กำลังเริ่มขยายวิธีการผลิตแล้ว

Hanson กล่าวว่า ปัจจุบันโซเฟียมี 24 แบบซึ่งจะใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างแบบจำลองประเภทอื่น ๆ และแม้ว่าจะไม่ได้ระบุตัวเลขที่แน่นอน แต่ Hanson กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้าที่จะขายหุ่นยนต์หลายพันตัว ภายในสิ้นปี 2021 นี้

บริษัท Hanson Robotics เผยอีกว่าได้วางแผนโฆษณาว่าหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ว่าเป็นผู้ช่วยที่มีประโยชน์ในด้านการดูแลสุขภาพ ตัวอย่างเช่น สามารถวัดอุณหภูมิเพื่อระบุชี้อาการเจ็บป่วย หรือออกกำลังกายร่วมกับผู้สูงอายุ เป็นต้น

ทั้งนี้ “หุ่นยนต์ทางสังคม” ดังกล่าวขับเคลื่อนโดยวิธีการเรียนรู้ของเครื่องและปัญญาประดิษฐ์ (AI) พวกมันจะใช้กล้องและเซ็นเซอร์เพื่อจดจำใบหน้าและกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ หุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเครื่องมือที่ช่วยให้หุ่นยนต์เหล่านั้นพัฒนารูปแบบไหวพริบทางสังคมและอารมณ์เมื่อเวลาผ่านไป

ในระหว่างการสาธิตที่ห้องทดลองของบริษัท หุ่นยนต์โซเฟียแบบหนึ่งได้ระบุชี้กิจกรรมบางอย่างที่อาจช่วยเหลือมนุษย์ได้ ทั้งนี้หุ่นยนต์ทางสังคมสามารถช่วยดูแลสุขภาพคนป่วย หรือผู้สูงอายุ และนำไปใช้ในทางการแพทย์ได้อีกด้วย

Hanson กล่าวว่า เขาเชื่อว่าการแก้ปัญหาโรคระบาดด้วยหุ่นยนต์นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การดูแลสุขภาพเท่านั้น และว่าหุ่นยนต์ของบริษัทนั้นมีลักษณะเหมือนมนุษย์มาก พวกมันอาจช่วยให้บริการแก่สาธารณะชน เช่นในร้านค้าปลีก หรือในอุตสาหกรรมสายการบิน เป็นต้น

Hanson กล่าวอีกว่าหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์จะมีประโยชน์มากในช่วงเวลานี้ที่ผู้คนโดดเดี่ยวและกักกันตัวเองออกจากสังคมไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการช่วยสื่อสาร ให้การบำบัด และการช่วยเหลือต่าง ๆ ทางสังคมแม้ในสถานการณ์ที่ยากลำบากก็ตาม

Johan Hoorn ศาสตราจารย์ด้านหุ่นยนต์ทางสังคมที่มหาวิทยาลัย Polytechnic University ของฮ่องกง กล่าวว่า แม้ว่าเทคโนโลยี AI จะยังคงอยู่ระหว่างการพัฒนา แต่การเกิดโรคระบาดใหญ่อาจเป็นตัวเร่งความสัมพันธ์ระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ก็เป็นได้

นอกจากนี้ หุ่นยนต์จากผู้พัฒนารายใหญ่อื่น ๆ ในอุตสาหกรรมนี้ต่างก็กำลังช่วยต่อสู้กับโรคระบาดด้วยเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น Pepper หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ของ SoftBank Robotics ถูกนำไปใช้ในยุโรปเพื่อระบุชี้ตัวบุคคลที่ไม่ได้สวมหน้ากาก ส่วนในประเทศจีน บริษัทหุ่นยนต์ CloudMinds ได้ช่วยจัดตั้งโรงพยาบาลสนามที่ใช้หุ่นยนต์สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ในเมืองหวู่ฮั่น

ทั้งนี้ อัตราการใช้หุ่นยนต์นั้นได้เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดโรคระบาดแล้ว โดยองค์กรหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ หรือ International Federation of Robotics กล่าวในรายงานเมื่อปีที่แล้วว่า ยอดขายหุ่นยนต์บริการระดับมืออาชีพทั่วโลกเพิ่มขึ้น 32 เปอร์เซ็นต์ในระหว่างปี 2018 ถึง 2019

XS
SM
MD
LG