ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์พบสิ่งมีชีวิตในทะเลตั้งรกรากบนขยะพลาสติกในมหาสมุทร


Ocean Voyages Institute in Sausalito, California works to clean up trash in the ocean. Here, tons of garbage – much of it plastic -- from the Great Pacific Garbage Patch is being lifted onto a cargo sailing ship. The debris is recycled or turned into fu
Ocean Voyages Institute in Sausalito, California works to clean up trash in the ocean. Here, tons of garbage – much of it plastic -- from the Great Pacific Garbage Patch is being lifted onto a cargo sailing ship. The debris is recycled or turned into fu
Coastal Marine Life Thriving on Plastic Trash
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:33 0:00

ประเด็นขยะพลาสติกที่เข้าไปสู่ระบบนิเวศทางน้ำ ไม่ได้มีเรื่องของปริมาณที่สร้างมลพิษและทำลายสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว เพราะนักวิจัยกลุ่มหนึ่งพบว่า ขยะดังกล่าวกลายมาเป็นปัจจัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของสัตว์น้ำบางกลุ่มอย่างไม่มีใครคาดคิดมาก่อนด้วย

ปัญหามลพิษพลาสติกในมหาสมุทรโลกที่รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องกำลังส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลตามชายฝั่ง เพราะส่งผลให้สิ่งมีชีวิตมากมายหลายประเภทย้ายถิ่นฐานไปเติบโตในพื้นที่มหาสมุทรแล้ว

ประเด็นดังกล่าวทำให้กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ด้านทะเลและสิ่งแวดล้อมของทั้งสหรัฐฯ และแคนาดารู้สึกประหลาดใจที่พบว่า สัตว์ทะเลบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดีบนขยะพลาสติกที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะที่ ตัวเพรียงและปูที่อาศัยอยู่ในท้องสมุทร กลับมาตั้งรกรากร่วมกับเพรียงและดอกไม้ทะเลที่ใช้ชีวิตอยู่ตามชายฝั่งด้วย

ลินด์ซีย์ ฮาแรม (Linsey Haram) นักวิจัยจากสถาบัน Smithsonian Environmental Research Center ที่เมือง เอ็ดจ์วอเตอร์ รัฐแมรีแลนด์ ซึ่งเป็นหัวหน้าการเขียนรายงานวิจัยครั้งล่าสุดในวารสาร Nature Communications กล่าวว่า ก่อนการเริ่มการศึกษา นักวิจัยคาดว่า จะได้พบสัตว์ทะเลในมหาสมุทรที่สามารถปรับตัวได้บนขยะพลาสติก แต่กลับต้องรู้สึกประหลาดใจอย่างยิ่งที่พบว่า สัตว์ทะเลที่มีชีวิตอยู่ตามชายฝั่งกลับมาอาศัยอยู่บนพลาสติกเหล่านั้นด้วย

อย่างไรก็ตาม ฮาแรม ยอมรับว่า ในเวลานี้ ยังไม่ทราบแน่ว่า สิ่งมีชีวิตตามชายฝั่งทะเลบางชนิดเคลื่อนย้ายตัวออกไปใช้ชีวิตในมหาสมุทรได้อย่างไร

เธอกล่าวกับ วีโอเอ ว่า มีความเป็นไปได้ว่า สิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจใช้ชีวิตอยู่บนขยะพลาสติกอยู่ก่อนแล้ว และอาจถูกพัดพาให้ออกทะเลไปพร้อมๆ กับเศษขยะที่ลอยอยู่

Map showing the Great Pacific Garbage Patch, in the Pacific Ocean between California and Hawaii. The world’s largest ocean garbage patch is over 1.5 million square kilometers. (Courtesy of National Oceanic and Atmospheric Administration)
Map showing the Great Pacific Garbage Patch, in the Pacific Ocean between California and Hawaii. The world’s largest ocean garbage patch is over 1.5 million square kilometers. (Courtesy of National Oceanic and Atmospheric Administration)

การศึกษาวิจัยนี้มุ่งศึกษาที่บริเวณแพขยะใหญ่แปซิฟิก หรือ Great Pacific Garbage Patch ซึ่งอยู่ระหว่างฮาวายกับรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยแพขยะขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่มากกว่า 1.5 ล้านตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยขยะพลาสติกทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กจำนวนมาก เช่น ขวดน้ำ แปรงสีฟัน และอุปกรณ์ตกปลาที่ถูกทิ้ง ซึ่งถูกดึงเข้าสู่มหาสมุทรด้วยกระแสน้ำวน

รายงานการศึกษาระบุว่า ขยะพลาสติกทั้งหลายนั้นสามารถคงอยู่ในวังน้ำวนนั้นได้นานหลายปีเลยทีเดียว

เอมี่ วี อูห์ริน (Amy V. Uhrin) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของโครงการ Marine Debris Program แห่ง National Oceanic and Atmospheric Administration ในกรุงวอชิงตันอธิบายว่า ขยะเหล่านั้นเข้ามาอยู่ในใจกลางของน้ำวนซึ่งน้ำค่อนข้างนิ่ง และว่า ขยะส่วนใหญ่ล้วนมาจากมหาสมุทรแปซิฟิกและชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาเหนือ

อูห์ริน บอกกับ วีโอเอ ว่า ขนาดของแพขยะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยขึ้นอยู่กับกระแสลมและกระแสน้ำในมหาสมุทร

Some coastal marine species are thriving and reproducing on plastics in the Great Pacific Garbage Patch, including abandoned fishing nets. (Courtesy of Ocean Voyages Institute)
Some coastal marine species are thriving and reproducing on plastics in the Great Pacific Garbage Patch, including abandoned fishing nets. (Courtesy of Ocean Voyages Institute)

รายงานข่าวระบุว่า สถาบัน Ocean Voyages Institute ในเมืองซอซาลิโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมุ่งทำงานเกี่ยวกับการกำจัดขยะในมหาสมุทร เป็นผู้จัดเตรียมตัวอย่างพลาสติกให้งานรวิจัยครั้งนี้

แมรี คราวลี (Mary Crowley) ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการสถาบันนี้กล่าวว่า ทางสถาบันมีเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่มีเครนยกขยะได้เป็นจำนวนมากขึ้นจากแพขยะขึ้นไปบนดาดฟ้าของเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาขยะที่เป็นอันตรายอย่างมาก เช่น อวนจับปลาพลาสติกที่มักจะคร่าชีวิตวาฬ โลมา และเต่า

และ ผลการศึกษาจากตัวอย่างขยะพลาสติกเหล่านี้ได้ช่วยให้ข้อมูลบางอย่างแก่นักวิจัย

ลินด์ซีย์ ฮาแรม นักวิจัยจากสถาบัน Smithsonian Environmental Research Center กล่าวว่า สิ่งที่น่าประหลาดใจมากที่สุดก็คือ สัตว์ทะเลชายฝั่งไม่เพียงแต่เติบโตบนขยะพลาสติกเท่านั้น แต่ยังขยายพันธุ์ได้ด้วย

Coastal marine life are getting a ride on plastic containers like these that make their way to the ocean. The coastal species are living alongside oceanic species on the plastics. These were pulled out of the Great Pacific Garbage Patch. (Courtesy of Ocea
Coastal marine life are getting a ride on plastic containers like these that make their way to the ocean. The coastal species are living alongside oceanic species on the plastics. These were pulled out of the Great Pacific Garbage Patch. (Courtesy of Ocea

อย่างไรก็ตาม ยังมีคำถามมากมายที่ยังต้องมีการค้นหาคำตอบต่อไปอยู่

เกรก รูอิส (Greg Ruiz) นักนิเวศวิทยาทางทะเลที่ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมของ Smithsonian และเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในรายงานนี้ ตั้งคำถามที่ว่า สัตว์ทะเลชายฝั่งเหล่านั้นสามารถเอาตัวรอดได้อย่างไรบนขยะพลาสติกกลางมหาสมุทร?

รูอิส สงสัยว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น อาจเป็นกรณีที่สายพันธุ์เหล่านั้นสร้างระบบนิเวศของตัวเองบนขยะพลาสติกที่ช่วยให้จุลินทรีย์และสาหร่ายเติบโตและทำหน้าที่เป็นห่วงโซ่อาหาร ขณะที่ มูลจากปลาและนกในน้ำก็อาจเป็นอาหารให้ได้ด้วยเช่นกัน

ฮาแรม นักวิจัยจากสถาบัน Smithsonian กล่าวเสริมว่า นักวิจัยยังต้องการที่จะทราบด้วยว่า สัตว์ทะเลสายพันธุ์ชายฝั่งและสายพันธุ์ที่อยู่ในน้ำมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร เนื่องจากพวกมันต้องแย่งชิงพื้นที่ที่มีอยู่เพียงจำกัด และพวกมันอาจจะเป็นแหล่งอาหารซึ่งกันและกันด้วย

นอกจากนี้ นักวิจัยยังศึกษาด้วยว่า สัตว์ทะเลชายฝั่งอื่นๆ ใช้ชีวิตอยู่บนขยะพลาสติกในวังน้ำวนหลักทั้ง 5 แห่งทั่วโลกด้วยหรือไม่?

เกรก รูอิส กล่าวทิ้งท้ายว่า นักวิจัยกังวลด้วยว่า สิ่งมีชีวิตตามชายฝั่งจากภูมิภาคต่างๆ อาจก่อตัวเป็นอาณานิคมและแพร่เชื้อโรคไปสู่สัตว์ทะเลอื่นๆ รวมทั้งปลาด้วย

XS
SM
MD
LG