รมต.ต่างประเทศสหรัฐ Hillary Clinton กำลังอยู่ระหว่างการเดินทางเยือนเอเชีย 6 ประเทศ โดยในวันจันทร์ที่อินโดนีเซีย รมต. Clinton ได้หารือกับ รมต.ต่างประเทศอินโดนีเซียเรื่องการบรรเทาความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ ซึ่งสหรัฐต้องการให้พันธมิตรอย่างอินโดนีเซียและสิงคโปร์ เพิ่มบทบาทในการเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้งดังกล่าว
รมต.Clinton กล่าวที่อินโดนีเซียภายหลังการหารือกับรมต.ต่างประเทศอินโดนีเซีย นาย Marty Natalegawa เน้นย้ำจุดยืนของสหรัฐว่า สหรัฐต้องการให้ประเทศที่กล่างอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ ร่วมมือแก้ไขข้อพิพาทอย่างสันติโดยปราศจากการคุกคามข่มขู่ ปราศจากความรุนแรงและการใช้กำลังทางทหาร พร้อมระบุถึงผลประโยชน์ของสหรัฐเกี่ยวกับเสรีภาพในการเดินเรือและการพาณิชย์ ตลอดจนการรักษาเสถียรภาพความมั่นคงในทะเลจีนใต้
จีน เวียดนาม มาเลเซีย ไต้หวัน บรูไน และฟิลิปปินส์ ต่างกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ โดยที่ผ่านมาอินโดนีเซียในฐานะสมาชิกสมาคมอาเซียนรับบทบาทในการเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง และผลักดันให้เกิดกรอบปฏิบัติว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมของอาเซียน เช่นเดียวกับบทบาทของสิงคโปร์ในการเชื่อมความสัมพันธ์ของประเทศที่อยู่ในความขัดแย้ง พร้อมไปกับการกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐ
คุณ Justin Logan แห่งสถาบัน Cato ในกรุงวอชิงตัน เห็นด้วยว่าสิงคโปร์กำลังขยับเข้าใกล้กับสหรัฐมากขึ้น แต่อาจไม่ใช่ความสัมพันธ์ในลักษณะดั้งเดิม คุณ Logan ชี้ว่าสหรัฐต้องการมีพันธมิตรที่กระตือรือร้นในเอเชีย ในขณะที่ดูเหมือนสิงคโปร์จะสงวนท่าทีและกระทำการอย่างระมัดระวัง นั่นหมายความว่าแม้ความสัมพันธ์สหรัฐ-สิงคโปร์จะดีขึ้นจริง แต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปในลักษณะร้อนแรงวูบวาบเหมือนในอดีต แต่จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า
นักวิเคราะห์จากสถาบัน Cato ผู้นี้ยังบอกด้วยว่า สิงคโปร์เองนั้นรู้ดีว่าตนควรมีจุดยืนอย่างไรในเรื่องทะเลจีนใต้ และรู้ดีว่าทุกฝ่ายต้องการนั่งลงจับเข่าคุยกับตน สิงคโปร์จึงกำลังเล่นเกมการฑูตในลักษณะเป็นมิตรกับทุกฝ่ายอยู่ในขณะนี้
ทางด้าน รมต.ต่างประเทศอินโดนีเซีย นาย Marty Natalegawa ได้เน้นย้ำถึงบทบาทคนกลางของอินโดนีเซียเช่นกัน พร้อมยืนยันว่าความพยายามสร้างเอกภาพในอาเซียนนั้นมิได้มีเป้าหมายเพื่อกดดันจีนแต่อย่างใด
ต่อจากอินโดนีเซีย รมต. Clinton จะเดินทางไปยังบรูไนและจีน ซึ่งคาดว่าจะมีการหยิบยกเรื่องข้อพิพาทในทะเลจีนใต้มาหารือด้วย รวมทั้งที่การประชุมความร่วมมือกลุ่มเอเปกที่รัสเซียในช่วงปลายสัปดาห์นี้
รมต.Clinton กล่าวที่อินโดนีเซียภายหลังการหารือกับรมต.ต่างประเทศอินโดนีเซีย นาย Marty Natalegawa เน้นย้ำจุดยืนของสหรัฐว่า สหรัฐต้องการให้ประเทศที่กล่างอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ ร่วมมือแก้ไขข้อพิพาทอย่างสันติโดยปราศจากการคุกคามข่มขู่ ปราศจากความรุนแรงและการใช้กำลังทางทหาร พร้อมระบุถึงผลประโยชน์ของสหรัฐเกี่ยวกับเสรีภาพในการเดินเรือและการพาณิชย์ ตลอดจนการรักษาเสถียรภาพความมั่นคงในทะเลจีนใต้
จีน เวียดนาม มาเลเซีย ไต้หวัน บรูไน และฟิลิปปินส์ ต่างกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ โดยที่ผ่านมาอินโดนีเซียในฐานะสมาชิกสมาคมอาเซียนรับบทบาทในการเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง และผลักดันให้เกิดกรอบปฏิบัติว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมของอาเซียน เช่นเดียวกับบทบาทของสิงคโปร์ในการเชื่อมความสัมพันธ์ของประเทศที่อยู่ในความขัดแย้ง พร้อมไปกับการกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐ
คุณ Justin Logan แห่งสถาบัน Cato ในกรุงวอชิงตัน เห็นด้วยว่าสิงคโปร์กำลังขยับเข้าใกล้กับสหรัฐมากขึ้น แต่อาจไม่ใช่ความสัมพันธ์ในลักษณะดั้งเดิม คุณ Logan ชี้ว่าสหรัฐต้องการมีพันธมิตรที่กระตือรือร้นในเอเชีย ในขณะที่ดูเหมือนสิงคโปร์จะสงวนท่าทีและกระทำการอย่างระมัดระวัง นั่นหมายความว่าแม้ความสัมพันธ์สหรัฐ-สิงคโปร์จะดีขึ้นจริง แต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปในลักษณะร้อนแรงวูบวาบเหมือนในอดีต แต่จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า
นักวิเคราะห์จากสถาบัน Cato ผู้นี้ยังบอกด้วยว่า สิงคโปร์เองนั้นรู้ดีว่าตนควรมีจุดยืนอย่างไรในเรื่องทะเลจีนใต้ และรู้ดีว่าทุกฝ่ายต้องการนั่งลงจับเข่าคุยกับตน สิงคโปร์จึงกำลังเล่นเกมการฑูตในลักษณะเป็นมิตรกับทุกฝ่ายอยู่ในขณะนี้
ทางด้าน รมต.ต่างประเทศอินโดนีเซีย นาย Marty Natalegawa ได้เน้นย้ำถึงบทบาทคนกลางของอินโดนีเซียเช่นกัน พร้อมยืนยันว่าความพยายามสร้างเอกภาพในอาเซียนนั้นมิได้มีเป้าหมายเพื่อกดดันจีนแต่อย่างใด
ต่อจากอินโดนีเซีย รมต. Clinton จะเดินทางไปยังบรูไนและจีน ซึ่งคาดว่าจะมีการหยิบยกเรื่องข้อพิพาทในทะเลจีนใต้มาหารือด้วย รวมทั้งที่การประชุมความร่วมมือกลุ่มเอเปกที่รัสเซียในช่วงปลายสัปดาห์นี้