ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติส่งผลกระทบความมั่นคงโลกตลอดมา แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าบรรยากาศโลกที่ร้อนขึ้นทำให้ปัญหาเหล่านี้รุนแรงมากขึ้น


การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติส่งผลกระทบความมั่นคงโลกตลอดมา แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าบรรยากาศโลกที่ร้อนขึ้นทำให้ปัญหาเหล่านี้รุนแรงมากขึ้น
การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติส่งผลกระทบความมั่นคงโลกตลอดมา แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าบรรยากาศโลกที่ร้อนขึ้นทำให้ปัญหาเหล่านี้รุนแรงมากขึ้น

ปัญหาเรื่องทรัพยากรธรรมชาติกลายมาเป็นปัญหาสำคัญทางด้านการรักษาความมั่นคงโลก และการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศโลกก็กำลังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านการรักษาความมั่นคงด้วย นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า วิธีหนึ่งที่อาจช่วยบรรเทาปัญหาทางด้านความมั่นคงที่สืบเนื่องมาจากการแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้ คือการประสานงานระหว่างประเทศผู้บริโภคกับประเทศผู้ผลิต และระหว่างอุตสาหกรรมกับประชาสังคม ว่าจะบริหารทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ได้อย่างไร

ประวัติศาสตร์โลกเต็มไปด้วยการทำสงครามแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน น้ำ หรือแร่ธาตุ

นาย Neil Melvin ผู้อำนวยการโครงการเรื่องการต่อสู้และการบริหารความขัดแย้ง ของสถาบันวิจัยสันติภาพสต๊อคโฮล์ม หรือ เรียกย่อๆว่า SIPRI บอกว่า ทรัพยากรธรรมชาติมีหลายบทบาท และว่าบทบาทหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือทำให้เกิดการต่อสู้แย่งชิงอย่างเช่นการต่อสู้แย่งชิงเหมืองแร่ในภาคตะวันออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งคองโก เพื่อควบคุมการผลิต Coltan หรือแร่ Columbite และ Tantalite

สาร Tantalum ที่สะกัดออกมาจาก Coltan เป็นสารสำคัญที่ใช้ในการผลิตตัวเก็บประจุ หรือ Capacitor ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิค เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่น DVD วิดีโอเกม และคอมพิวเตอร์ และนักวิจัยผู้นี้ให้ความเห็นว่า ความต้องการแร่ธาตุที่ว่านี้โดยประเทศที่ร่ำรวย ช่วยกระตุ้นให้การต่อสู้เข้มข้นยิ่งขึ้น

ในขณะเดียวกัน อีกบทบาทหนึ่งของทรัพยากรธรรมชาติ คือ เป็นแหล่งรายได้สำหรับทั้งสองฝ่ายที่กำลังต่อสู้กันอยู่ เช่น การผลิตยาเสพติดในแอฟกานิสถาน ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของพวกกบฎ ทำให้ยุติความขัดแย้งได้ยากมาก

รายงานการวิเคราะห์ที่นักวิจัยผู้นี้เพิ่งเผยแพร่ออกมา ระบุประเด็นต่างๆที่กำลังผลักดันให้ปัญหาเรื่องทรัพยากรธรรมชาติกลายมาเป็นปัญหาสำคัญทางด้านการรักษาความมั่นคงโลก ที่นำหน้าเป็นอันดับหนึ่งคือ การมีทรัพยากรจำกัด อย่างในกรณีของทูนิเชีย ที่ปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหาร เป็นชนวนที่นำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาล

อันดับที่สอง คือ ความต้องการทรัพยากรที่โลกมีอยู่อย่างจำกัดโดยระบบเศรษฐกิจที่กำลังเจริญเติบโต อย่างจีน และอินเดีย ทำให้ความขาดแคลนและความตึงเครียดสืบเนื่องมาจากความขาดแคลนนี้ เพิ่มขึ้นมาก

อันดับที่สาม คือการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก ที่ทำให้ปัญหาที่ว่านี้เลวร้ายลงไปอีก

Nick Cook นักวิเคราะห์ และ CEO ของบริษัท Dynamixx ซึ่งให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านการรักษาความมั่นคงแก่บริษัทธุรกิจ ให้ความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงบรรยากาศโลกกำลังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านการรักษาความมั่นคง โดยจะเห็นได้ว่าในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากโลกร้อน มีการอพยพออกจากบริเวณเหล่านั้นไปสู่ประเทศอื่นๆ ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งได้ และก็ยังมีปัญหาอื่นๆอีกด้วย

เขายกตัวอย่างว่า ในบริเวณที่มีการแย่งชิงทรัพยากร เช่น น้ำ และที่ดินเพาะปลูก ความขัดแย้งมีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อบรรยากาศโลกร้อนขึ้น

นักวิเคราะห์ผู้นี้ให้ความเห็นว่า วิธีหนึ่งที่อาจช่วยบรรเทาปัญหาทางด้านความมั่นคงที่สืบเนื่องมาจากการแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้ คือการประสานงานระหว่างประเทศผู้บริโภคกับประเทศผู้ผลิต และระหว่างอุตสาหกรรมกับประชาสังคม ว่าจะบริหารทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ได้อย่างไร โดยเปรียบเทียบกับกระบวนการ Kimberley Process ซึ่งสะกัดกั้นการค้า “Blood diamonds” หรือ การขุดหาและการค้าเพชรที่ก่อให้เกิดสงครามระหว่าง Sierra Leone กับ Liberia ได้

ส่วนนาย Dan Plesch ผู้เชี่ยวชาญทางด้านความมั่นคงอีกคนหนึ่งของ SOAS หรือ School of Oriental and African Studies ในกรุงลอนดอน ให้ความเห็นส่งท้ายว่า ถ้าจะแก้ปัญหาให้ได้ ก็ต้องแก้กันที่รากเหง้าของปัญหา

ผู้เชี่ยวชาญคนนี้แนะนำว่า จะแก้ด้วยการใช้กำลังก็ได้ หรือไม่ก็ต้องยอมรับว่า จะแก้ปัญหาเรื่องโลกร้อนได้ด้วยการเริ่มหันไปหาพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้เท่านั้น

XS
SM
MD
LG