ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิเคราะห์จีนตอบโต้รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐว่าจีนมิได้ต้องการบุกรุกประเทศเพื่อนบ้านในทะเลจีนใต้ดังที่สหรัฐตั้งสมมติฐานไว้


นักวิเคราะห์จีนตอบโต้รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐว่าจีนมิได้ต้องการบุกรุกประเทศเพื่อนบ้านในทะเลจีนใต้ดังที่สหรัฐตั้งสมมติฐานไว้
นักวิเคราะห์จีนตอบโต้รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐว่าจีนมิได้ต้องการบุกรุกประเทศเพื่อนบ้านในทะเลจีนใต้ดังที่สหรัฐตั้งสมมติฐานไว้

นักวิเคราะห์ด้านนโยบายต่างประเทศของจีนออกมาตอบโต้ต่อคำกล่าวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ Hillary Clinton ที่บอกว่าจะสนับสนุนฟิลิปปินส์ในข้อพิพาทกับจีนเรื่องทะเลจีนใต้

นาย Qu Xing ผอ.สถาบันต่างประเทศศึกษาซึ่งให้คำปรึกษาด้านนโยบายต่างประเทศแก่รัฐบาลจีน กล่าวตอบโต้คำแถลงของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ Hillary Clinton ที่บอกไว้ว่าสหรัฐยึดมั่นตามสนธิวัญญาป้องกันตนเองระหว่างสหรัฐกับฟิลิปปินส์ฉบับปี พ.ศ. 2494 นาย Qu ชี้ว่าคำแถลงของรัฐมนตรี Hillary ดูเหมือนมีสมมติฐานชัดเจนว่าจีนกำลังจะบุกโจมตีฟิลิปปินส์ซึ่งเขาบอกว่าเป็นสมมติฐานที่เลื่อนลอยไร้เหตุผลรับรอง นักวิเคราะห์ผู้นี้กล่าวว่าจีนยึดมั่นต่อแนวทางแก้ไขข้อพิพาทเรื่องทะเลจีนใต้อย่างสันติ แต่ต้องดำเนินการภายใต้การเจรจาแบบทวิภาคีเป็นรายประเทศ

หมู่เกาะ Spratly ในทะเลจีนใต้คือประเด็นสำคัญในความขัดแย้ง เชื่อกันว่าบริเวณดังกล่าวมีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซ่อนอยู่ จีน บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนามและไต้หวันต่างอ้างกรรมสิทธิ์ครอบครองบางส่วนหรือทั้งหมดของหมู่เกาะ Spratly นอกจากนี้หมู่เกาะ Spratly ตั้งอยู่ใกล้เส้นทางเดินเรือสำคัญ ทางรัฐบาลสหรัฐจึงกังวลว่าต่อไปเรือจากสหรัฐอาจไม่สามารถเดินทางผ่านน่านน้ำแถบนั้นได้อย่างเสรี

ด้านอดีตฑูตจีนประจำอังกฤษ Ma Zhengang ชี้ว่าเขาไม่เห็นว่าประเด็นเรื่องการเดินเรืออย่างเสรีผ่านทะเลจีนใต้จะเป็นปัญหาแต่อย่างใด แต่เชื่อว่าสหรัฐพยายามผูกเรื่องนี้เข้ากับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเพื่อกลับเข้ามามีส่วนร่วมในเอเซีย โดยบรรดาประเทศที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อพิพาทต่างหวังว่าสหรัฐจะยื่นมือเข้ามายุ่งเกี่ยวเพราะจะทำให้มีอำนาจต่อรองกับจีนมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับเรื่องหมู่เกาะ Spratly

ในขณะเดียวกันนักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าท่าทีของจีนในการรับมือข้อพิพาทหมู่เกาะ Spratly อาจเป็นการสื่อความหมายโดยนัยถึงการรับมือข้อพิพาทด้านพรมแดนในส่วนอื่นๆ รวมถึงพรมแดนติดกับอินเดีย คุณ Amer Latif แห่ง Center for Strategic and International Studies ในกรุงวอชิงตันกล่าวว่ารัฐบาลอินเดียกำลังจับตามองความคืบหน้าในทะเลจีนใต้อย่างใกล้ชิด เพราะเชื่อว่าการกระทำของจีนในเรื่องนี้อาจบ่งชี้ถึงนโยบายต่อไปของจีนในการแก้ไขปัญหาพรมแดนด้านที่ติดกับอินเดีย ซึ่งหากจีนมีท่าทีตอบสนองเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศเพื่อนบ้านในทะเลจีนใต้ นั่นอาจเป็นสัญญาณที่ไม่ดีสำหรับอินเดียเช่นกัน

จีนและอินเดียต่อสู่ทำสงครามบริเวณแนวพรมแดนเมื่อปี พ.ศ. 2505 ขณะนี้ทั้งสองประเทศกำลังพยายามเจรจาแก้ไขข้อขัดแย้งดังกล่าว แต่ดูเหมือนการจัดการปัญหาอย่างสันติจะไม่เกิดขึ้นเร็วนักเมื่อมีรายงานว่าทั้งสองประเทศเพิ่มกำลังทหารตามแนวพรมแดนในประเทศตน

XS
SM
MD
LG