ลิ้งค์เชื่อมต่อ

จีนระงับการขุดสินแร่หายาก เพื่อกระตุ้นให้ราคาสูงขึ้น ผู้ที่ต้องใช้สินแร่ประเภทนี้ กำลังพยายามหาแหล่งแร่ใหม่ หรือใช้วัสดุอื่นๆแทนที่


จีนระงับการขุดสินแร่หายาก เพื่อกระตุ้นให้ราคาสูงขึ้น ผู้ที่ต้องใช้สินแร่ประเภทนี้ กำลังพยายามหาแหล่งแร่ใหม่ หรือใช้วัสดุอื่นๆแทนที่
จีนระงับการขุดสินแร่หายาก เพื่อกระตุ้นให้ราคาสูงขึ้น ผู้ที่ต้องใช้สินแร่ประเภทนี้ กำลังพยายามหาแหล่งแร่ใหม่ หรือใช้วัสดุอื่นๆแทนที่

จีนประกาศระงับการขุดสินแร่หายาก เพื่อจะกระตุ้นให้ราคาสินแร่ 17 ชนิดที่สำคัญต่อการผลิตสินค้าและอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มสูงขึ้น นักวิเคราะห์คิดว่า จีนจะใช้อิทธิพลผูกขาดสำหรับสินแร่หายากในลักษณะนี้ต่อไปได้อีกไม่นาน เพราะเวลานี้ ประเทศอื่นๆที่ต้องใช้สินแร่ประเภทนี้ กำลังพยายามหาแหล่ง Supply ใหม่ หรือหาทางผลิตโดยใช้สินแร่หรือวัสดุอื่นๆแทนที่

เมื่อเร็วๆนี้ จีนประกาศระงับการขุดสินแร่หายาก เพื่อจะกระตุ้นให้ราคาสินแร่ 17 ชนิดที่สำคัญต่อการผลิตสินค้าและอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มสูงขึ้น นักวิเคราะห์คิดว่า จีนจะใช้อิทธิพลผูกขาดสำหรับสินแร่หายากในลักษณะนี้ต่อไปได้อีกไม่นาน เพราะเวลานี้ ประเทศอื่นๆที่ต้องใช้สินแร่ประเภทนี้ กำลังพยายามหาแหล่ง Supply ใหม่ หรือหาทางผลิตโดยใช้สินแร่หรือวัสดุอื่นๆแทนที่

อดีตผู้นำจีน นายเติ้ง เสี่ยว ผิง ประกาศไว้เมื่อปี ค.ศ. 1992 ว่า “ตะวันออกกลางมีน้ำมัน จีนมีสินแร่หายาก”

เวลานี้ 95% ของอุปทานหรือ Supply ของสินแร่หายากที่โลกใช้มาจากประเทศจีน 60% ในจะนวนนี้ ผู้ผลิต คือ Baotou Group รัฐวิสาหกิจของจีน

เมื่อเร็วๆนี้ ผู้บริหาร Baotou Group กล่าวว่า ได้สั่งระงับการผลิตสินแร่หายากเพื่อให้ตลาดมีความสมดุลระหว่างอุปสงค์กับอุปทาน ความเคลื่อนไวดังล่าวมีขึ้น หลังจากที่ราคาสินแร่หายากลดลงราวๆ 20% ในช่วงสองสามเดือนมานี้

นาย Andrew Bloodworth ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ ของสำนักงานการสำรวจทางธรณีวิทยาของอังกฤษ หรือ British Geological Survey กล่าวว่า แม้จะมีสินแร่หายากนอกประเทศจีน แต่ที่จีนมีอำนาจผูกขาดก็เพราะต้นทุนการผลิตและการแยกแร่ในประเทศจีนต่ำ

ผู้เชี่ยวชาญของอังกฤษคนนี้ บอกว่า ต้นทุนการผลิตของจีนถูกกว่าคนอื่น ซึ่งเป็นมานานแล้ว และเมื่อราคาสินแร่ตกลง เหมืองในที่อื่นๆ ทำต่อไปไม่ไหว เพราะฉะนั้นสถานการณ์ในตอนนี้ คือ จีนมีอำนาจผูกขาดในด้านอุปทาน ในขณะที่อุปสงค์กำลังเพิ่มขึ้น

การระงับการผลิตของจีนเพื่อผลักดันให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ ปักกิ่งเคยทำอย่างนี้มาแล้ว เมื่อปี ค.ศ. 2008 และไม่ลังเลที่จะใช้อำนาจเกือบจะผูกขาดในเรื่องนี้ เป็นเครื่องมือทางนโยบายต่างประเทศ เมื่อจีนระงับการขนส่งสินแร่หายากให้ญี่ปุ่นในเดือนตุลาคม ปี 2010 เมื่อมีปัญหาขัดแย้งเกี่ยวกับเขตแดนกับโตเกียว

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้พิจารณาประเด็นนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ สหรัฐใช้สินแร่หายากในการผลิตเทคโนโลยีสำคัญๆ เช่น เรด้าร์ และ Smart bomb

ไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้น กระทรวงพลังงานของสหรัฐเผยแพร่เอกสารเรื่องยุทธวิธีสำหรับวัสดุสำคัญ หรือ Critical Materials Strategy ซึ่งเรียกร้องให้แสวงหาแหล่ง Supply ของสินแร่หายากเพิ่มขึ้น รวมทั้งระบุภัยคุกคามที่จะเกิดต่อสหรัฐ ถ้าไม่มีอุปทานสินแร่หายากให้ผู้ผลิตเทคโนโลยี

อย่างไรก็ตาม เวลานี้ ผู้ผลิตรายใหญ่ๆ เช่น บริษัท Toyota และ General Motors กำลังพัฒนากระบวนการผลิตที่จะลดการใช้สินแร่หายากในการออกแบบและผลิตรถยนต์ลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

นาย Matthew Fusarelli หัวหน้าฝ่ายวิจัยของ AME บอกว่า โดยทั่วไป มีวัสดุอื่นๆที่ใช้แทนที่สินแร่หายากได้ และว่า ในที่สุดแล้ว ผู้ผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิคส์ จะสามารถเปลี่ยนกระบวนการผลิต เพื่อลดการใช้สินแร่หายาก หรือไม่ใช้เลยก็ได้

นาย Andrew Bloodworth แห่ง British Geological Survey บอกว่า มีแหล่ง supply อีกสักสองสามราย ก็จะลดการพึ่งพาอาศัยจีนลงได้มาก

นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษผู้นี้บอกว่า ปริมาณสินแร่หายากที่ใช้นั้นน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับโลหะในอุตสาหกรรม ในปีที่แล้ว มีการขุดทองแดงระหว่าง 17 – 18 ล้านตัน ในขณะที่ ขุดสินแร่หายากมาใช้เพียง 130,000 – 140,000 ตันเท่านั้น

สหรัฐ ซึ่งเคยมีสินแร่หายากพอใช้เองในประเทศกำลังวางแผนจะเปิดเหมืองใหม่ รัสเซียและออสเตรเลียก็กำลังวางแผนอย่างเดียวกัน

XS
SM
MD
LG