ลิ้งค์เชื่อมต่อ

จีนวางหมากเสนอไม่ให้มีอำนาจวีโต้สำหรับธนาคารเพื่อการพัฒนาที่กำลังตั้งขึ้นใหม่ AIIB


Asian Development Bank President Takehiko Nakao, second from left, talks with Chinese Premier Li Keqiang, second from right, during a meeting at the Great Hall of the People in Beijing Monday, March 23, 2015. Nakao was in the country to attend the China Development Forum. (AP Photo/Lintao Zhang, Pool)
Asian Development Bank President Takehiko Nakao, second from left, talks with Chinese Premier Li Keqiang, second from right, during a meeting at the Great Hall of the People in Beijing Monday, March 23, 2015. Nakao was in the country to attend the China Development Forum. (AP Photo/Lintao Zhang, Pool)

นักวิเคราะห์เชื่อว่าข้อเสนอนี้คือประเด็นสำคัญที่ทำให้ประเทศพันธมิตรในยุโรปของสหรัฐฯตกลงเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง AIIB

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:34 0:00
Direct link

ทางการจีนกล่าวในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า มีมากกว่า 35 ประเทศที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของ ธนาคารเพื่อการพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจของเอเชีย หรือ AIIB ภายในสิ้นเดือนนี้ ซึ่งรวมทั้งพันธมิตรสำคัญของสหรัฐในยุโรป เช่น อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี

ทำไมจีนจึงสามารถโน้มน้าวให้บรรดาประเทศพันธมิตรของสหรัฐเหล่านี้ เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ AIIB ได้ ทั้งๆ ที่สหรัฐได้พยายามใช้ความกดดันในทางตรงกันข้ามมาตลอดปีที่แล้ว

หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal อ้างคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่จีนและยุโรปที่เป็นผู้แทนเจรจาว่า ประเด็นสำคัญที่ทำให้ประเทศพันธมิตรในยุโรปของสหรัฐ ตกลงเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง AIIB คือข้อเสนอของจีนที่จะไม่ให้อำนาจวีโต้การตัดสินใจของธนาคารแก่ประเทศใดประเทศหนึ่ง แตกต่างจากแนวทางปฏิบัติของสถาบันการเงินระหว่างประเทศอื่นๆ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ซึ่งสหรัฐกุมอำนาจการตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆ บางเรื่อง แม้จะเป็นผู้ถือหุ้นไม่ถึง 20% ก็ตาม และทำให้หลายประเทศไม่พอใจ

แต่รายงานของ Wall Street Journal กล่าวต่อไปว่า ประเด็นที่ยังเจรจากันอยู่และจะบ่งชี้ได้ว่า จีนจะกุมอำนาจในการควบคุมธนาคารใหม่นี้ได้มากน้อยแค่ไหนโดยไม่มีอำนาจวีโต้ คือการบริหารงานของธนาคารและการจัดตั้งคณะกรรมการธนาคาร

สองประเด็นที่สหรัฐแสดงความคิดเห็นคัดค้านการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ AIIB คือเรื่องของความโปร่งใส และระบบการจัดการควบคุม หรือธรรมาภิบาล

นาย Jin Liqun ซึ่งรับตำแหน่งผู้บริหารชั่วคราวของธนาคาร ได้ติดต่อว่าจ้างเจ้าหน้าที่ธนาคารโลกที่ปลดเกษียณแล้วในกรุงวอชิงตันให้ช่วยวางระบบการจัดการ และสร้างความน่าเชื่อถือกับชาติตะวันตก

คาดกันว่า ในการประชุมอย่างเป็นทางการที่ Kazakhstan สิ้นเดือนนี้ จีนหวังจะได้ร่างข้อตกลง โดยมีกำหนดจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน และธนาคารจะเริ่มทำงานได้ภายในสิ้นปีนี้

แต่มีปัญหาใหญ่สองข้อที่ที่ประชุมสมาชิกผู้ก่อตั้งจะต้องทำความตกลงกันให้ได้ก่อน ปัญหาแรก คือการแบ่งหุ้นที่มีสิทธิ์ออกเสียง ทางเลือกหนึ่งคือ สมาชิกของธนาคารในเอเชีย 27 ประเทศควบคุมหุ้น 75% ที่เหลือ 25% ให้กับประเทศนอกเอเชีย ประเทศใดจะได้กี่เสียงขึ้นอยู่กับขนาดของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือ GDP ของประเทศนั้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งให้ความเห็นว่า ถ้าแบ่งหุ้นในลักษณะนี้ จีนน่าจะรวบรวมเสียงข้างมากได้อย่างไม่มีปัญหา

ปัญหาที่สองคือโครงสร้างของคณะกรรมการธนาคาร ในขณะที่ธนาคารโลกและ IMF มีกรรมการประจำที่เป็นตัวแทนของประเทศสมาชิก มีสิทธิ์ออกเสียงในโครงการใหม่ๆ รวมทั้งนโยบาย ซึ่งถือว่าเป็นการถ่วงดุลผู้บริหาร แต่จีนต้องการให้ผู้บริหาร ซึ่งคาดว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่จีน เป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจมากกว่า

ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาบางรายให้ความเห็นว่า โครงสร้างของธนาคารโลกและ IMF โบราณและชะลอการตัดสินใจ แต่บางคนบอกว่า เป็นที่เข้าใจได้ว่าทำไมสหรัฐและประเทศพัฒนาแล้วจึงไม่อยากจะให้ความไว้วางใจผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้บริหาร AIIB

อย่างไรก็ตาม จีนทำงานก้าวหน้าไปได้มากนับตั้งแต่ประธานาธิบดี Xi Jinping ประกาศการก่อตั้งธนาคารนี้เมื่อปลายปี ค.ศ. 2013

และแม้สหรัฐและประเทศอื่นๆ รวมทั้งอินเดียจะวิตกกังวลว่าในที่สุดแล้ว AIIB คือเครื่องมือทางด้านนโยบายการต่างประเทศของจีน และเป็นการท้าทายอิทธิพลของสหรัฐในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นักเศรษฐศาสตร์อย่างอาจารย์ Eswar Prasad ของมหาวิทยาลัย Cornell และอดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐที่ IMF ให้ความเห็นว่า จีนเล่นเกมระยะยาวอย่างได้ผล และไม่รีบร้อน เพราะรู้ว่าประเทศอื่นๆ จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วยในที่สุด

XS
SM
MD
LG