ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เหตุการณ์ที่โรงไฟฟ้า Chernobyl 25 ปีก่อนช่วยให้เกิดการตื่นตัวและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์


A close view of reactor number 4 of Chernobyl nuclear power plant in this May 10, 2007 picture, with the Chernobyl Monument, left, erected in 2006. Two decades after an explosion and fire at the nearby Chernobyl nuclear power plant sent clouds of radioact
A close view of reactor number 4 of Chernobyl nuclear power plant in this May 10, 2007 picture, with the Chernobyl Monument, left, erected in 2006. Two decades after an explosion and fire at the nearby Chernobyl nuclear power plant sent clouds of radioact

อุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Chernobyl นอกจากส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชนหลายแสนคนแล้ว ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของประเทศตะวันตก ทั้งในด้านการแพทย์ เภสัชศาสตร์และการเตรียมตัวรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ

คุณ Alla Shapiro ผู้เคยทำงานที่สถาบันโลหิตวิทยาและการถ่ายเลือดในกรุง Kyiv เมื่อช่วงที่เกิดเหตุการณ์ที่โรงไฟฟ้า Chernobyl เล่าว่าหลังจากทราบข่าวการระเบิด เธอและแพทย์คนอื่นๆถูกส่งไปยังพื้นที่ประสบภัย เพื่อเก็บตัวอย่างเลือดของประชาชนในบริเวณนั้น

เธอบอกว่า ประชาชนในหมู่บ้านรอบๆโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Chernobyl ไม่มีการป้องกันภัยจากกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล ไม่มีใครให้สารโปแตสเซียมไอโอไดด์แก่เด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้คนยังคงใช้ชีวิต ใช้สิ่งของต่างๆ เก็บของป่าและเผาใบไม้ต่างๆตามปกติ ควันไฟผสมกับสารพิษจึงล่องลอยปะปนนอากาศก่อนที่ชาวบ้านจะสูดดมเข้าไปเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

ปัจจุบัน คุณ Shapiro ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ให้กับสำนักงานต่อต้านการก่อการร้ายและความร่วมมือฉุกเฉิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์วิจัยของสำนักงานอาหารและยาสหรัฐหรือ FDA ภารกิจของคุณ Shapiro คือการเตรียมพร้อมให้แก่ประชาชนในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ลักษณะเดียวกัน ซึ่งรวมถึงสารกัมมันตรังสีและการโจมตีด้วยอาวุธเคมี อาวุธชีวภาพหรืออาวุธนิวเคลียร์จากผู้ก่อการร้าย

คุณ Alla Shapiro กล่าวว่าสิ่งสำคัญคือการเตรียมพร้อมขั้นสูงสุด ซึ่งรวมถึงการฝึกฝนเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และแจ้งข่าวต่อประชาชนให้เร็วที่สุด โดยในช่วงเริ่มต้นเมื่อมีสัญญาณว่าเกิดสารพิษรั่วไหล ประชาชนควรหลบลงหลุมหลบภัยหรือที่ปลอดภัยต่างๆแล้วจึงค่อยๆอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ ส่วนในกรณีที่เกิดสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลออกมาแล้วนั้น ประชาชนควรได้รับสารโปแตสเซียมไอโอไดด์อย่างทั่วถึง

คุณ Shapiro ระบุว่าบทเรียนอีกอย่างที่มีค่าทางการแพทย์ซึ่งเรียนรู้จากเหตุการณ์อุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Chernobyl คือรอยไหม้ตามร่างกายที่เกิดจากกัมมันตภาพรังสีสามารถบ่งบอกได้ถึงอาการและผลที่จะเกิดกับผู้ป่วย กล่าวคือหากเป็นรอยไหม้ร้ายแรง ผู้ป่วยมีโอกาสสูงที่จะเสียชีวิต แม้ผู้ป่วยผู้นั้นจะผ่านการปลูกถ่ายไขกระดูกมาแล้ว

ปัจจุบัน FDA กำลังพัฒนายาป้องกันหรือลดผลกระทบของการได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย โดยคุณ Shapiro ได้อาศัยประสบการณ์จากภัยพิบัติเมื่อ 25 ปีก่อนมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนายาดังกล่าวรวมกับบริษัทยาและสถาบันวิจัยอื่นๆ ด้วย

เธอสรุปส่งท้ายว่า แม้ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นหลายครั้งจะถือเป็นโศกนาฎกรรมต่อมวลมนุษย์ แต่เหตุการณ์เหล่านั้นก็สอนบทเรียนบางอย่างอยู่เสมอ อยู่ที่ใครจะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารและบทเรียนเหล่านั้นได้มากแค่ไหน

XS
SM
MD
LG