ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยออสเตรเลียพัฒนาเทคโนโลยีก้าวหน้าในการเก็บกักก๊าซเรือนกระจก


นักวิจัยออสเตรเลียพัฒนาเทคโนโลยีก้าวหน้าในการเก็บกักก๊าซเรือนกระจก
นักวิจัยออสเตรเลียพัฒนาเทคโนโลยีก้าวหน้าในการเก็บกักก๊าซเรือนกระจก

นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ในออสเตรเลีย สร้างผลึกที่เป็นรูพรุนขนาดเล็กจิ๋วระดับโมเลกุลขึ้นมา โดยออกแบบให้ดูดซับก๊าซเรือนกระจก อย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเม็ธเธนไว้ได้เป็นปริมาณมาก ผลึกที่นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อให้ว่า “molecular sponges” หรือ“ฟองน้ำโมเลกุล” นี้ แม้จะมีขนาดเล็กจิ๋ว แต่สามารถดูดซับไอเสียที่โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหินปล่อยออกมาไว้ได้มากถึง 90 %

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ออสเตรเลียมีความเสี่ยงสูงต่ออันตรายในกรณีที่ระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้นและอุณหภูมิสูงขึ้น นอกจากนั้น ออสเตรเลียยังเป็นประเทศหนึ่งในบรรดาประเทศที่มีอัตราการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกต่อหัวสูงที่สุดในโลกด้วย เป็นที่เห็นกันในแวดวงวิทยาศาสตร์ว่า ก๊าซเรือนกระจกเป็นสาเหตุของการที่สภาพภูมิอากาศของออสเตรเลียเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

และเพื่อที่จะแก้ปัญหานี้ นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ สร้างผลึกที่เป็นรูพรุนขนาดเล็กจิ๋วระดับโมเลกุลขึ้นมา โดยออกแบบให้ดูดซับก๊าซเรือนกระจก อย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเม็ธเธน ผลึกที่นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อให้ว่า “molecular sponges” หรือ“ฟองน้ำโมเลกุล” นี้ แม้จะมีขนาดเล็กจิ๋ว แต่สามารถดูดซับไอเสียที่โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหินปล่อยออกมาไว้ได้มากถึง 90 % โรงไฟฟ้าในออสเตรเลียส่วนใหญ่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง

Dr. Deanna D’Alessandro นักเคมีโมเลกุลที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์อธิบายว่า สารวัตถุเล็กจิ๋วที่เป็นรูพรุนเหมือนฟองน้ำนี้ มีความสามารถในการดูดซับก๊าซเป็นปริมาณมาก ซึ่งในกรณีนี้ก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เรียกกันย่อๆ ว่า CO2 Dr. Deanna D’Alessandro เปรียบเทียบว่า วัตถุนี้เพียง 1 ช้อนชา จะมีความสามารถในการดูดซับก๊าซเสียได้พอๆ กับฟองน้ำที่มีขนาดเท่ากับสนามรักบี้หรือสนามฟุตบอลเลยทีเดียว

ตามรายงานนั้น มีการทำงานเพื่อพัฒนาสารวัตถุคล้ายๆ กันนี้ที่อื่นด้วย รวมทั้งในเยอรมันนี

นักอนุรักษ์สภาพแวดล้อมกล่าวว่า งานวิจัยแบบนี้ อาจช่วยให้ออสเตรเลียมีโอกาสได้ทำความสะอาดกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่ทำให้สิ่งแวดล้อมสกปรกเป็นพิษ

Kellie Caught หัวหน้างานด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ของกลุ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม World Wide Life Fun ออสเตรเลีย เชื่อว่า งานวิจัยลักษณะนี้ จะทำให้ออสเตรเลียมีเวลาที่จะสำรวจหาเชื้อเพลิงแปรรูปหมุนเวียนยั่งยืนมาเป็นทางเลือกใช้แทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในระยะยาว

Kellie Caught กล่าวว่า เทคโนโลยีต่างๆ ที่สามารถดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาเก็บกักไว้ได้นี้ จะเป็นประโยชน์ในแง่นำไปใช้กับโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ และกระบวนการทางอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ทำให้เกิดมลพิษ แต่เทคโนโลยีเหล่านี้ ไม่สามารถเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เต็ม 100 % ซึ่งก็หมายความว่า ยังจะต้องศึกษาวิจัยค้นคว้ากันต่อไปเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่กำจัดไอเสียได้หมดสิ้นหรือไม่มีการปล่อยไอเสียเลย

นอกจากนี้ คณะนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยซิดนีย์เชื่อด้วยว่า “molecular sponges” หรือ“ฟองน้ำโมเลกุล” อาจช่วยในการขับเคลื่อนของรถยนต์พลังไฮโดรเจนยุคใหม่ด้วย ตามแนวคิดนี้ จะใช้สารวัตถุดังกล่าวในการอัดก๊าซปริมาณมากกักเก็บไว้ในที่เก็บขนาดเล็กกระทัดรัด สำหรับเป็นเชื้อเพลิงให้รถแล่นไปได้เป็นระยะทางไกลๆ หลายร้อยกิโลเมตร

นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ และเกษตรกรหลายคนในออสเตรเลีย ยังคลางแคลงใจเกี่ยวกับผลกระทบของมลภาวะที่มนุษย์ก่อให้เกิดขึ้น มีต่อสภาพภูมิอากาศ และเห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในอุณหภูมิและระดับน้ำทะเลนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงตามวัฏจักรธรรมชาติ

XS
SM
MD
LG